ออกจากงานยื่นภาษียังไง

ออกจากงานยื่นภาษียังไง

 

1) ออกจากงานแล้วไปทำงานที่ใหม่

กรณีนี้ให้เอารายได้ทั้งสองที่มาบวกกันแล้วยื่นภาษีรวมในเงินได้ประเภทที่หนึ่งหรือเงินเดือนได้เลย เงินเดือนที่เก่าที่จ่ายในปีนี้ บวกกับเงินเดือนที่ใหม่ที่จ่ายให้ พอรวมกันแล้วก็ได้ยอดทั้งปี ส่วนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกหักไปทั้งสองที่ก็เอามารวมกัน ดังนั้นสำคัญคืออย่าลืมขอหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของแต่ละที่มาด้วย

2) ออกจากงานไปตกงานเลยไม่ได้ทำงาน อันนี้ก็ยืนแค่ที่เก่าคล้ายกับกรณีแรก แต่ไม่มีที่ใหม่ให้มาบวกเพราะตอนนี้ไม่มีงานทำ ถ้ายังไม่มีหลักฐานตอนออกจากที่เก่า ก็ตามไปขอหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เก่ามาแล้วก็ยื่นให้เรียบร้อย

3) ออกจากงานแล้วไปทำงานอย่างอื่น กรณีนี้ออกจากงานแล้วไปทำอาชีพอื่น ก็ไปดูว่าเราทำอาชีพอะไร และมันเป็นรายได้ประเภทไหน เช่น ออกจากงานประจำมาทำเป็นฟรีแลนซ์ มันก็จะมีรายได้ 2 ประเภท ตัวแรก คือ ช่วงก่อนออกจากงานก็ยังเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 ส่วนอีกตัว คือฟรีแลนซ์ก็เป็นเงินได้ประเภทที่ 2 ส่วนถ้าใครออกจากงานไปขายของออนไลน์ ก็เป็นประเภทที่ 8 แล้วก็ไปดูรายละเอียดการคำนวณภาษี

เช็คต่อด้วยว่าได้เงินอะไรตอนออกจากงาน

  1. เงินชดเชย บำเหน็จ (หรือลักษณะเดียวกับบำเหน็จ) และเงินอื่นๆที่นายจ้างจ่ายให้เรากลุ่มนีให้เช็คก่อนว่า เงินชดเชยแรงงานเนี่ยมันได้รับสิทธิยกเว้นภาษีตามกฎหมายหรือไม่ถ้าได้ก็เอาเฉพาะส่วนที่ไม่ได้รับยกเว้นมาเสียภาษี

ถามว่าจะรู้ได้ยังไงว่าต้องเสียภาษีกี่บาท

คำตอบคือ ดูใบหักภาษี ณ ที่จ่าย มันมีบอกหมดว่าเรามีเงินได้กี่บาทแล้วถูกหักภาษีไว้กี่บาท

  1. เงินกองทุนต่างๆ สำรองเลี้ยงชีพ กบข. เงินกลุ่มนี้จะได้แยกต่างหากออกมา (ถ้าเราเลือกเอาออกจากกองทุน) ซึ่งกลุ่มที่จะมาคิดภาษีนั้น คือ ส่วนที่นายจ้างสมทบ + ผลประโยชน์จากการลงทุน

 

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ออกจากงานยื่นภาษียังไง

อ้างอิง : https://taxbugnoms.co/taxation-of-termination-and-severance-payment/

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart