ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ฉบับง๊ายง่าย)
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร
ภาษีที่ต้องจ่ายไปในทันทีเมื่อเรามีรายได้ แต่นิติบุคคลผู้จ่ายเงินจะเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีให้กรมสรรพากร แทนผู้มีเงินได้
หลักจำจ่ายๆ
นิติบุคคลเมื่อจ่ายค่าบริการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
***บุคคลธรรมดาจ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
นิติบุคคลจะทำหักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องรู้เรื่อง 2 เรื่อง
- ผู้รับเงินคือใคร – กระทบต่อชนิดแบบที่ยื่น
- ประเภทเงินได้ที่จ่าย – กระทบต่ออัตราภาษีที่จะต้องหัก
ผู้รับเงิน
- พนักงานประจำ (แบบภ.ง.ด.1)
- บุคคลธรรมดา (แบบภ.ง.ด.3)
- นิติบุคคล (แบบภ.ง.ด.53)
- นิติบุคคลต่างประเทศ (แบบภ.ง.ด.54)
ประเภทเงินได้
- เงินเดือน (ตามอัตราก้าวหน้า)
- ค่าบริการ (3%)
- ค่าเช่า (5%)
- ค่าขนส่ง (1%)
- ค่าโฆษณา (2%)
- ต่างประเทศ (15%)
ตัวอย่าง : วันที่ 19 ส.ค. 60 บริษัทจ่ายค่าบริการทำบัญชี ให้กับบริษัทบัญชีจำนวน 2,000 บาท
ผู้รับเงิน | ——-> | นิติบุคคล (แบบภ.ง.ด.53) |
ประเภทเงินได้ | ——-> | ค่าบริการ (3%) |
บริษัทจะต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ของค่าบริการ 2,000 บาท เป็นเงิน 60 บาท และนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วยแบบภ.ง.ด.53
ผู้จ้าง –> จ่ายค่าจ้าง 2,000 บาท –> 1,940 บาท + หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย (ผู้รับจ้าง)
–> 60 บาท + แบบนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย *สรรพากรบันทึกข้อมูลผู้มีเงินได้จะมายื่นแบบภาษี
อ้างอิง : https://www.iliketax.com/ภาษีหัก-ณ-ที่จ่าย-อธิบาย/