ฟรีแลนซ์โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการเสียภาษี
ฟรีแลนซ์หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่า การที่รับงานจากนิติบุคคลเมื่อนิติบุคคลจ่ายเงินค่าบริการพร้อมกันหักภาษี ณ ที่จ่าย คือการสิ้นสุดภาระทางภาษีของฟรีแลนซ์ ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่เลย
อาชีพฟรีแลนซ์ เมื่อรับงานบริการจากพวกลูกค้าที่เป็นบริษัท หจก. มักจะโดนหัก ณ ที่จ่าย
ตัวอย่าง : ฟรีแลนซ์รับงานออกแบบ 10,000 บาท บริษัทผู้จ้างเมื่อจ่ายเงินจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% จำนวน 300 บาท และจ่ายค่าบริการฟรีแลนซ์เพียง 9,700 บาท พร้อมกับใบรับรองการหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
*สำหรับเงิน 300 บาท ทางผู้ว่าจ้างจะนำส่งให้กับกรมสรรพากร แทนผู้รับจ้าง
ผู้จ้าง –> จ่ายค่าจ้าง 10,000 บาท —–> 300 บาท + แบบนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย *สรรพากรบันทึกข้อมูลผู้มีเงินได้ลงระบบสิ้นปีคาดหวังว่าผู้มีเงินได้จะมายื่นแบบภาษี —–> 9,700 บาท + หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย (ผู้จ้าง)
สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือสรรพากรมีข้อมูลรายได้ของฟรีแลนซ์การข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย และรอที่จะให้ฟรีแลนซ์มายื่นภาษี ถ้าไม่ยื่นก็จะมีการออกจดหมายเรียกตัว
ภาษีที่ฟรีแลนซ์โดนหัก ณ ที่จ่ายเป็นแค่การ จ่ายภาษีล่วงหน้า เท่านั้น สิ้นปียังคงมีหน้าที่จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ น้อยกว่า ภาษีที่จ่ายไปล่วงหน้า สามารถขอภาษีที่จ่ายเกินไปคืนได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ มากกว่า ภาษีที่จ่ายไปล่วงหน้า ให้จ่ายส่วนต่างเพิ่มให้กับสรรพากร
**สรรพากรมีข้อมูลเงินได้ของฟรีแลนซ์จากข้อมูลการหัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้ว่าจ้างส่งให้กับกรมสรรพากร ดังนั้นถ้าฟรีแลนซ์ไม่ยื่นภาษีตอนสิ้นปีถือว่าคิดสั้น**
อ้างอิง : https://www.iliketax.com/ฟรีแลนซ์โดนหักภาษี-ณ-ที่/