ประกันสังคมมาตรา 33 กับ 39 ต่างกันอย่างไร
ประกันสังคมมาตรา 33
เป็นพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไปเป็นลูกจ้าง โดยอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี
โดยอัตราเงินสมทบที่ต้องจ่ายจะแบ่งเป็นส่วนของลูกจ้าง 5% และนายจ้าง 5% ซึ่งคิดจากค่าจ้าง 1,650 – 15,000 บาท (ยึดตามยอดที่จ่ายจริง หากต่ำกว่า 1,650 บาท ให้คิดที่ 1,650 บาท แต่หากเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท ก็จะคิดที่ 15,000 บาทเท่านั้น) แต่เนื่องจากสถานการณ์ COVID19 อัตราสมทบของเดือนก.ย.-พ.ย. 63 จะลดลงเหลือฝ่ายละ 2% เท่านั้น
ประกันสังคมมาตรา 39
คือ บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน และต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ เงินสมทบที่จะต้องนำส่งคือเดือนละ 432 บาท (คิดจากฐานเงินเดือน 4,800 บาท*9%) แต่เนื่องจากสถานการณ์ COVID19 อัตราสมทบของเดือนก.ย.-พ.ย. 63 จะลดลงเหลือเดือนละ 96 บาท เท่านั้น
ในส่วนของสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันทั้งสองแบบนี้จะได้รับเรียกว่าเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็น
- กรณีเจ็บป่วย
- คลอดบุตร
- สงเคราะห์บุตร
- ทุพพลภาพ
- เสียชีวิต
- ชราภาพ
ยกเว้นแต่กรณีที่ 7.ว่างงาน ที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับ
แต่เงินที่จะได้รับในส่วนของมาตรา 33 และ 39 สำหรับกรณีที่ต้องใช้ฐานเงินเดือนมาคำนวณ เช่น กรณีเสียชีวิต หรือชราภาพ หากเป็นมาตรา 33 จะดูที่ฐานเงินเดือนที่จ่ายจริงคือขั้นต่ำที่ 1,650 บาทและสูงสุดที่ 15,000 บาท ในขณะที่มาตรา 39 จะมีฐานเงินเดือนเดียวที่ 4,800 บาท
เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ประกันสังคมมาตรา 33 กับ 39 ต่างกันอย่างไร
อ้างอิง : https://www.facebook.com/actaxweknow