ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ 2564 มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ 2564 มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
ประเภทรถที่สามารถยื่นชำระภาษีผ่าน e-Service ได้
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน อายุไม่เกิน 7 ปี
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน อายุไม่เกิน 7 ปี
- รถบรรทุกส่วนบุคคล อายุไม่เกิน 7 ปี
- รถจักรยานยนต์ อายุไม่เกิน 5 ปี
เงื่อนไข พ.ร.บ. ประกอบการยื่นภาษี
การต่อภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านทางออนไลน์ สามารถซื้อ พ.ร.บ. ได้จากในระบบ e-Service หรือซื้อจากตัวแทนประกันภายนอก
- ซื้อ พ.ร.บ. ผ่านระบบ e-Service มีผู้ให้บริการ 2 ราย คือ บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด และ บริษัท วิริยะ ประกันภัย จำกัด
- ซื้อ พ.ร.บ. เอง จำเป็นต้องกรอกข้อมูลประกันภัย เลขที่กรมธรรม์ และวันสิ้นสุดอายุความคุ้มครอง (วันสิ้นอายุต้องไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่ยื่นชำระภาษี จนถึงวันหมดความคุ้มครอง)
กรมการขนส่งได้ทำการยกเลิกการให้บริการซื้อกรมธรรม์ พ.ร.บ.สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ (รย.12) ผ่านระบบ e-Service ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นมา ผู้ยื่นจำเป็นต้องซื้อ พ.ร.บ.จากภายนอกและนำมากรอกในระบบให้ถูกต้องเท่านั้น
อัตราค่าบริการ
- ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ รายการละ 32 บาท
- ค่าธรรมเนียมธนาคาร (กรณีชำระผ่านเคาน์เตอร์บริการ หรือหักบัญชีเงินฝาก) รายการละ 20 บาท
- ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) 2% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของยอดเงินทั้งหมด
ขั้นตอนการชำระภาษีรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ออนไลน์ผ่าน e-Service
- เข้าไปยังเว็บไซต์https://eservice.dlt.go.th
- ลงทะเบียนขอรับรหัสผ่าน และ Log-in เข้าสู่ระบบ
- เลือกเมนู “ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี”
- กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถและยื่นชำระภาษี
- กรอกรายละเอียดหลักฐานการเอาประกันตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หรือซื้อจากระบบ
- เลือกช่องทางชำระเงิน (หักบัญชีเงินฝาก/ตัดบัตรเครดิต/บัตรเดบิต/ชำระผ่านตู้ ATM/เคาน์เตอร์/โมบายแบงค์กิ้ง)
- ตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลข กรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”
- เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และสมุดกรมธรรม์ พ.ร.บ. (ถ้ามี) จะถูกจัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่จัดส่งเอกสาร
ขั้นตอนทั้งหมดตั้งแต่ชำระเงินภาษีสำเร็จจนถึงวันที่ได้รับเอกสารทางไปรษณีย์ไม่เกิน 5 วันทำการ โดยเจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนไปปรับบันทึกรายการชำระภาษีได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขาทั่วประเทศ
อ้างอิง : https://www.sanook.com/auto/78595/