คุณเจอปัญหาด้านภาษีกับการให้ “สวัสดิการ” กับพนักงานไหม?
คำว่า สวัสดิการ คือ การบริการที่บริษัทจัดให้มีเพื่อให้พนักงานได้รับความสะดวกสบายในการทำงานหรือได้รับประโยชน์นอกเหนือจากเงินเดือน เป็นขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน ตามประมวลรัษฎากร สวัสดิการ จึงถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรที่ว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ ด้วย แต่รู้หรือไม่ว่าการให้สวัสดิการบางตัวไม่ต้องนำมาเสียภาษีและพนักงานหรือฝ่ายบุคคลสามารถที่จะนำไปใช้ในการวางแผนภาษีได้ เช่น
•ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ ได้จ่ายไปโดยสุจริต ตามความจำเป็นเฉพาะ
•ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง (ตามกรมบัญชีกลาง)
•เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรสเฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินสิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น
•ค่าเครื่องแบบพนักงาน
•เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาลให้กับ (ก) ลูกจ้าง สามี ภริยาบุพการีหรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย
(ข)ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราวทั้งนี้ เงินจำนวนดังกล่าวได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นและเงินได้อื่น ๆ อีกมากมายที่นายจ้างให้กับลูกจ้าง
เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : คุณเจอปัญหาด้านภาษีกับการให้ “สวัสดิการ” กับพนักงานไหม?
อ้างอิง :
https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2820:question-tax-benefits-staff&catid=29&Itemid=180&lang=th