ข้อดี ข้อเสียของ OT
ข้อดีข้อเสียของ OT
การทำงานล่วงเวลานั้นสำคัญจริงๆหรอ จำเป็นหรือไม่สำหรับองค์กร เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ องค์กรจะต้องถามตัวเองกลับว่า จำนวนงานที่มีและจำนวนพนักงานที่สามารถทำงานได้มีเพียงพอหรือเปล่า และหากไม่เพียงพอการจ้างพนักงานเพิ่มแทนที่จะจ่าย OT จะคุ้มกว่าหรือไม่
ข้อดี
บริหารปริมาณงานได้ง่าย – การให้พนักงานทำ OT แปลว่าไม่ว่างานจะเยอะหรือน้อยแค่ไหนบริษัทก็สามารถบริหารปริมาณงานได้ง่าย ในช่วงที่มีงานเยอะบริษัทก็สามารถจ้างพนักงานทำงานนอกเวลาได้ แต่ในช่วงที่มีงานน้อยบริษัทก็ไม่ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
พนักงานได้รับ ‘ค่าจ้าง’ มากขึ้น – ค่าจ้างหรือเงินก็เป็นแรงจูงใจให้ทำให้หลายคนอยากทำงานมากขึ้น พนักงานบางคนก็เลือกที่จะทำงานเยอะเป็นพิเศษเพื่อที่จะได้มีรายได้มากขึ้นเป็นบางครั้งบางคราว
ทำให้งานไม่ขาดตอน – งานบางประเภทไม่สามารถทำยังขาดตอนได้ เช่นงานบริการที่ต้องมีคนเฝ้าหน้าร้านตลอดเวลา หรืองานการผลิตที่หากเริ่มผลิตเมื่อไหร่ก็จะเสียโอกาสในการทำกำไร ในกรณีนี้หากมีปัญหาฉุกเฉินที่ทำให้พนักงานกะต่อไปไม่สามารถเข้าได้ การทำงานล่วงเวลาก็จะทำให้บริษัทไม่เกิดปัญหางานขาดตอน
ข้อเสีย
ค่าใช้จ่ายที่แพงกว่า – หากคิดค่าแรงงานตามกฎหมายแล้ว การจ้างพนักงานทำงานล่วงเวลานั้นถือว่าแพงกว่าการจ้างพนักงานประจำให้ทำงานในเวลาเพราะฉะนั้นการจ้างให้ทำงานนอกเวลาจึงเหมาะกับงานในระยะสั้นหรืองานฉุกเฉินเท่านั้น หากในระยะยาวบริษัทสามารถบริหารตารางเวลางานได้ การจ้างพนักงานประจำจะถูกกว่ามาก
พนักงานทำงานได้น้อยลง – มนุษย์ไม่เหมือนเครื่องจักร หาให้ทำงานติดกันเป็นเวลานานๆโดยไม่ได้พักผ่อนประสิทธิภาพการทำงานก็จะน้อยลง หากรวมกับการที่องค์กรต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อให้ทำงานล่วงเวลาแล้ว การจ่ายเงินเยอะเพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพน้อยก็ถือว่าไม่ค่อยคุ้มเท่าไหร่
พนักงานเหนื่อย – แน่นอนว่าการให้พนักงานทำงานล่วงเวลาบ่อยๆก็จะทำให้พนักงานรู้สึกเหนื่อยหรือท้อแท้ เพราะคงไม่มีใครอยากทำงานตลอดเวลา ทุกวัน ทุกคนต้องการเวลาพักผ่อนทั้งนั้น ในส่วนนี้หากใช้ให้พนักงานทำงานนอกเวลาราชการไปพนักงานก็จะเกิดอาการเหนื่อยและล้า ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และอาจจะทำให้พนักงานลาออก
พนักงานจงใจทำงานช้า – อาจจะมีกรณีที่พนักงานจงใจทำงานช้า เพื่อที่จะค่าแรง
เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ข้อดี ข้อเสียของ OT
อ้างอิง : https://thaiwinner.com/overtime-management/