การบริหาร OT ที่ดี
OT คือ
การทำงานล่วงเวลานานกว่าเวลาที่ทำงานปกติ การทำ OT ยังหมายถึงค่าจ้างล่วงเวลา เช่นการทำงานเพิ่มในวันหยุด หรือการทำงานล่วงเวลาทำงานปกติ โดยอัตราค่าจ้าง ล่วงเวลาอยู่ระหว่างหนึ่งถึงสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
การบริหาร OT ที่ดี
คำนวณปริมาณงานต่อพนักงาน
การที่คนวางแผนงานต้องรู้ว่างานที่มีอยู่นั้นใช้เวลากี่ชั่วโมงในการทำงาน และพนักงานที่มีอยู่นั้นเพียงพอสำหรับการทำงานหรือเปล่า ข้อมูลนี้สามารถดูได้จากเวลาที่พนักงานปัจจุบันใช้ในการทำงาน เช่น พนักงานขายใช้เวลาตอบลูกค้าใหม่ได้เฉลี่ย 20 นาทีต่อคน เพราะฉะนั้นในหนึ่งชั่วโมงจะสามารถรับลูกค้าได้แค่ 3 คน
จัดตารางเวลาทำงาน
สิ่งแรกที่องค์กรควรจะดูเลยก็คือการจัดตารางเวลางาน บางครั้งอาจจะมีกระบวนการทำงานบางอย่างที่ทำให้กินเวลาพนักงานอย่างเปล่าประโยชน์ เช่นการประชุมที่ลากยาวไป การประชุมที่ไม่จำเป็น หากองค์กรให้คน 5 คนเข้าประชุมรวมกันเป็นเวลา 30 นาที องค์กรก็จะเสียเวลาทำงานไปร่วม 150 นาทีเลย
การวางแผนล่วงหน้า
หนึ่งในสาเหตุที่พนักงานต้องทำงานนอกเวลาก็เพราะองค์กรไม่สามารถวางแผนงานล่วงหน้าได้ อาจจะเป็นเหตุฉุกเฉิน หรือลูกค้าเร่งงานเป็นต้น ในกรณีนี้องค์กรควรจะพิจารณากระบวนการวางแผนล่วงหน้าอีกทีหนึ่ง หรือไม่ก็หาแผนสำรองเพื่อหาคนมาเติมเต็มหน้าที่ฉุกเฉินนี้อย่างเต็มใจ เช่นการจ้างฟรีแลนซ์ จ้างพนักงานชั่วคราว หรือการจ่าย OT ให้กับพนักงานที่อยากได้รายได้เพิ่ม
การดูแลพนักงานที่ทำงานนอกเวลา
สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะบริหาร OT ดีแค่ไหน เรื่องไม่คาดฝันในการทำธุรกิจก็เกิดขึ้นได้เสมอ แปลว่าองค์กรส่วนมากก็ยังต้องมีการทำ OT อยู่ดี (บริหารให้ลดลงได้ แต่ก็คงไม่ทำให้หมดไป) ในกรณีนี้องค์กรก็ต้องหาวิธีดูแลพนักงานที่ทำงานล่วงเวลา เพื่อป้องกันพนักงานลาออก เช่น การพาพนักงานไปเลี้ยงข้าว ซื้อของขวัญให้
เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : การบริหาร OT ที่ดี
อ้างอิง : https://thaiwinner.com/overtime-management/