ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ขอFBL)

บริการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (รับขอ FBL - Foreign Business License)

คุณกำลังเปิดธุรกิจใหม่ แต่

ต้องปวดหัวกับแบบฟอร์มเอกสารทางราชการ

ใช้เวลามากเกินไปใน

การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (รับทำFBL) ไม่ถูกต้อง ทำให้…

1. ธุรกิจต้องหยุดชะงัก ธุรกิจไม่เดินหน้าได้ ขาดโอกาสคว้าผลกำไร!!

2. ต้นทุนเสียโอกาสที่มองไม่เห็น กับเวลาที่สูญเสียไป ในการสร้างผลกำไรวันนี้!!

3. ขาดที่ปรึกษา ที่มีความเชี่ยวชาญ ช่วยวางแผน ไม่ทันคู่แข่ง โดยแซงหน้า!!

4. ทำผิดกฏหมาย เสียค่าปรับอาญา ทำให้ขาดทุนโดยไม่จำเป็น!! 


บริการของ AccProTax

บริการของเจ้าอื่นในท้องตลาด
  • ให้คำปรึกษาในการจดขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (รับขอFBL – Foreign Business License) ฟรี!!
  • มีคิดค่าบริการในการตรวจสอบการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ขอFBL – Foreign Business License) เพิ่มเต็ม
  • ตรวจสอบโครงการ/ลักษณะธุรกิจที่จะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (จดFBL) อย่างละเอียด
  • มีการตรวจสอบโครงการ/ลักษณะธุรกิจที่จะขอรับใบอนุญาตประกอบการธุรกิจของคนต่างด้าว (จดFBL) ที่ไม่ละเอียด
  • ฟรี!! คอร์สเรียน “การวางแผนภาษีที่ถูกต้องและปลอดภัยที่สุด” อาจารย์สอนวางแผนภาษี มีคุณวุฒิการันตรีเป็น “ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต” จากทางการ (8 ชั่วโมง)
  • ใช้ระยะเวลานานในการยื่นคำขอ, ไม่มีแนะนำคอร์สเรียน ให้ความรู้ แนะนำผู้ประกอบการ แต่อย่างใด
  • ดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านการจดทะเบียนธุรกิจ
  • ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ เช่น การวางแผนภาษี และบัญชีช่วยให้คำปรึกษา
  • มีความเสี่ยง จะให้คำแนะนำเรื่องการแก้ไขก่อนยื่นจด
  • อาจยื่นจดทะเบียนให้ โดยโอกาสในการจดทะเบียนผ่านมีน้อย

 

รับจดขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (รับขอFBL)
สุดคุ้ม ราคาถูก

จดทะเบียนขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจคนต่างด้าว
ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ฟรี! คู่มือภาษี  และ ฟรี! คอร์สเรียน “วางแผนภาษีที่ถูกต้องและปลอดภัยที่สุด”

สอนโดน “ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต” (CPA)

สำหรับ VIP จดขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ขอFBL) สุดคุ้ม

ที่นี้ทีเดียว ที่จัดเต็มของแถมกว่า 50 รายการ

มูลค่ารวม ฿12,000 บาท (ฟรี! โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ)
แถม “ภายใน 15 กันยายน 2567” เท่านั้น

ปรึกษาเรา แอคโปรแท็ค (AccProTax)

ดูแลแแทนคุณ เพื่อ
ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ขอFBL)
อย่างถูกต้อง

ก่อนธุจกิจคุณจะพลาดโอกาสสร้างผลกำไร สูญเสียโอกาส

โทรติดต่อเรา วันนี้!!

ปรึกษาฟรี! โทร 064-374-6472
หรือ กดปุ่มโทรออก

รับโปรโมชั่นพิเศษ
แอค LINE ID : @accprotax

การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ขอ FBL)

การขอสิทธิให้ชาวต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท หรือถือหุ้น 100% นั้น จะต้องยื่นขออนุญาตตามพระราชบัญญัติการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 โดยเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย มีการตั้งขึ้นเพื่อสงวนสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจบางประเภทให้ “สำหรับคนไทย” เท่านั้น เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนไทย โดยรัฐบาลไทยได้ออกพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวปี พ.ศ. 2542 ซึ่งจะจำกัดประเภทกิจกรรมธุรกิจที่บริษัทต่างชาติสามารถประกอบได้

ความหมายของ “คนต่างด้าว”

1. บุคคลธรรมดาที่ไม่ถือสัญชาติไทย

  • บุคคลธรรมดาทุกเพศ ทุกวัย หรือเป็นผู้บกพร่องในความสามารถหรือเป็นคนวิกลจริตอย่างใดก็ตามถือเป็นบุคคลธรรมดาทั้งสิ้น แต่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย

2. นิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย

  • กลุ่มบุคคล หรือองค์กร เป็นต้น ที่ร่วมกันดำเนินกิจการ แล้วก่อตั้งเป็นนิติบุคคลตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย

3. นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย แต่มีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ลงทุนครึ่งหนึ่งหรือมากกว่านั้น ถือโดยผู้ถือหุ้นตามบุคคลธรรมดาที่ไม่ถือสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
  • บุคคลธรรมดาที่ไม่ถือสัญชาติไทย ให้ความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนหรือเป็นผู้จัดการถือหุ้น

4. นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย

  • โดยมีทุนครึ่งหนึ่งหรือเป็นส่วนใหญ่ของการลงทุนโดยถือหุ้นโดยบุคคลธรรมดาที่ไม่ถือสัญชาติไทย นิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย หรือ นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยในกรณีที่ 3

 

รูปแบบธุรกิจที่ต้องยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

บริษัทที่จัดตั้งใหม่ โดยมีผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ

สำนักงานตัวแทน (Representative Office)

สาขาของบริษัทต่างชาติ (Branch Office)

บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI หรือ Board of Investment)

ธุรกิจบางประเภทที่จะสงวนไว้สำหรับคนไทย

ธุรกิจบางประเภทที่จะสงวนไว้สำหรับคนไทย ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ได้แก่

บัญชีที่หนึ่ง ​: ธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจ ด้วยเหตุผลพิเศษ

บัญชีที่สอง : ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ หรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยการอนุโลมของคณะรัฐมนตรี

บัญชีที่สาม : ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ธุรกิจที่คนต่างด้าวห้ามทำ และต้องขออนุญาต


ธุรกิจต้องห้าม


ธุรกิจต้องขอใบอนุญาต

1. สถานีวิทยุ โทรทัศน์ 1. ธุรกิจเกี่ยวข้องต่อความปลอดภัย หรือความมั่นคงของประเทศ ที่มีผลต่อวัฒนธรรม จารีต ประเพณี เป็นต้น
2. หนังสือพิมพ์ 2. ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันการประกอบธุรกิจกับคนต่างด้าว เช่น การสีข้าว, การทำประมง, การผลิตไม้อัด, การผลิตปูนขาว, การบริการบัญชี และกฎหมาย, สถาปัตยกรรม, วิศวกรรม

3. ทำไร่ ทำนา ทำสวน

เป็นต้น
4. ค้าขายที่ดิน
5. เลี้ยงสัตว์

ปรึกษาเรา แอคโปรแท็ค (AccProTax)

ดูแลแแทนคุณ เพื่อ
ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว อย่างถูกต้อง

ก่อนธุจกิจคุณจะพลาดโอกาสสร้างผลกำไร สูญเสียโอกาส

โทรติดต่อเรา วันนี้!!

ปรึกษาฟรี! โทร 064-374-6472
หรือ กดปุ่มโทรออก

รับโปรโมชั่นพิเศษ
แอค LINE ID : @accprotax

สำหรับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยมีผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติ

มี 2 รูปแบบ ได้แก่

1. ถือหุ้นโดยต่างชาติไม่เกิน 49% หมายถึง ผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทยจำนวนหุ้นไม่เกิน 49% บริษัทที่จัดตั้งจะถือเป็นบริษัทสัญชาติไทย สามารถประกอบกิจการได้ทุกอย่างตามกฎหมายกำหนด

2. ถือหุ้นโดยต่างชาติตั้งแต่ 50% ขึ้นไป หมายถึง ผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย สัดส่วนจำนวนหุ้นตั้งแต่ 50% ขั้นไป ในกรณีนี้จะถือว่าเป็นนิติบุคคลต่างด้าว ต้องขอใบประกอบธุรกิจต่างด้าวและด้วยความที่ถูกจัดเป็นบริษัทต่างด้าวแล้ว


คนต่างชาติสามารถถือหุ้นในบริษัท 100% ได้หรือไม่?

คนต่างชาติสามารถถือหุ้นในบริษัทที่จดจัดตั้งในไทย 100% ได้อย่างถูกกฎหมาย แต่มีบางธุรกิจที่สามารถให้ชาวต่างชาติถือหุ้นได้ 100% อย่างเช่น โรงงานผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออก โดยต่างชาติต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท

ส่วนธุรกิจที่ไม่ใช่โรงงานผลิต แต่ได้สิทธิจากการส่งเสริมการลงทุน BOI หรือว่ามาด้วยใบอนุญาตต่างๆ ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100% โดยจะต้องแจ้งต่ออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ ใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน หรือขอ Foreign Business License (ขอ FBL) ผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากองต่างด้าว

การจัดตั้งบริษัทก่อนขอจดทะเบียนขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

การยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว สามารถยื่นขอได้ทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล หากเลือกยื่นขอในรูปแบบบริษัท ระหว่างที่เตรียมเอกสารต่างๆ ผู้ประกอบการต้องทำการจัดตั้งบริษัท โดยสามารถดำเนินการจองชื่อบริษัทก่อนได้ จากนั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ตรวจสอบและจองชื่อบริษัท ซึ่งการจองชื่อนิติบุคคลจะเป็นผู้ถือหุ้น หุ้นส่วนผู้จัดการในกรณีห้างหุ้นส่วน หรือกรรมการในกรณีบริษัทเป็นผู้ยื่นขอจองชื่อก็ได้ แต่บุคคลนั้นต้องเป็นผู้ลงนามในใบอนุมัติจองชื่อ

และชื่อที่จะจัดตั้งต้องไม่ซ้ำ หรือใกล้เคียงกับบริษัทที่เคยจดทะเบียนไปแล้ว โดยสามารถจองได้ 3 ชื่อ ผ่านการจองได้ 2 ทางคือ จองผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตหรือสำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือจองผ่านอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

หลังจากจองชื่อได้แล้ว จะต้องยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ภายใน 30 วัน หากยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิช้ากว่านั้นต้องทำการจองชื่อใหม่ ซึ่งสามารถใช้ชื่อเดิมในการจองได้ ถ้าหากยังไม่มีบริษัทอื่นๆ นำไปใช้ก่อน

2. ผู้ก่อการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จัดทำคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ และเอกสารประกอบเพื่อนำไปจดทะเบียน

3. เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้ก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่คิดจะจัดตั้งขึ้นนั้นจองซื้อหุ้นจนครบ

4. ดำเนินการประชุมจัดตั้งบริษัท ส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองหุ้นทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม

5. เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทและแต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป

6. กรรมการบริษัทจัดการเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้น ชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น

7. เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัท และนำเอกสารประกอบไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน หลังจากการประชุมตั้งบริษัท ได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือทางออนไลน์

ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน BOI หรือว่ามาด้วยใบอนุญาตต่างๆ ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100%

 1. เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร

เช่น กิจการปลูกไม้เศรษฐกิจ, กิจการปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยเคมี, กิจการด้านการเกษตรกรรมต่าง ๆ

2. แร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นพื้นฐาน

เช่น กิจการเหมืองแร่ ตัดและผลิตโลหะ, กิจการผลิตแก้วและเซรามิคส์

3. อุตสาหกรรมเบา

ช่น กิจการสิ่งทอ, กิจการผลิตกระเป๋าหรือรองเท้า, กิจการผลิตของเล่น

4. ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง

เช่น กิจการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และเครื่องจักร

5. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

เช่น กิจการซอฟท์แวร์และการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

6. เคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ

เช่น กิจการผลิตบรรจุภัณฑ์จากกระดาษ, กิจการผลิตยา, กิจการผลิตพอลิเมอร์

7. การบริการและสาธารณูปโภค

เช่น กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากขยะ หรือเชื้อเพลิงจากขยะ, กิจการนิคมและการพัฒนา, กิจการ Cloud service

8. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

เช่น กิจการพัฒนาไบโอเทคโนโลยี, กิจการพัฒนานาโนเทคโนโลยี, กิจการพัฒนาดิจิทัลเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการผู้เช่าโรงงาน เช่าโกดัง หรือมีสถานประกอบการเป็นของตัวเองก็สามารถยื่นคำขอเข้ารับการส่งเสริมจาก BOI ได้หากกิจการของเราตรงตามเงื่อนไขที่ทาง BOI กำหนด การขอรับการสนับสนุนจาก BOI จะช่วยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย

รับจดขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (รับขอFBL)
สุดคุ้ม ราคาถูก

จดทะเบียนขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจคนต่างด้าว
ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ฟรี! คู่มือภาษี  และ ฟรี! คอร์สเรียน “วางแผนภาษีที่ถูกต้องและปลอดภัยที่สุด”

สอนโดน “ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต” (CPA)

สำหรับ VIP จดขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ขอFBL) สุดคุ้ม

ที่นี้ทีเดียว ที่จัดเต็มของแถมกว่า 50 รายการ

มูลค่ารวม ฿12,000 บาท (ฟรี! โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ)

แถม “ภายใน 15 กันยายน 2567” เท่านั้น

ปรึกษาฟรี! โทร 064-374-6472
หรือ กดปุ่มโทรออก


รับโปรโมชั่นพิเศษ
แอค LINE ID : @accprotax

ขั้นตอนการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวกำหนดกระบวนการสำหรับคณะกรรมการธุรกิจต่างประเทศว่า คณะกรรมการจะต้องจัดการเอกสารให้ครบนับจากวันส่งใบสมัครภายใน 60 วัน อย่างไรก็ตามขั้นตอนการสมัครโดยทั่วไปมี 2 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1

จัดเตรียมใบสมัครและเอกสารประกอบที่ต้องใช้ยื่นไปยังกระทรวงพาณิชย์ ในขั้นตอนนี้หากเอกสารที่ยื่นไม่ครบหรือไม่ตรงตามที่กำหนด นายทะเบียนผู้รับผิดชอบอาจขอตรวจเอกสารเพิ่มเติม

ขั้นตอนที่ 2

ยื่นขอใบอนุญาตในเวลาที่เหมาะสม พร้อมทั้งตอบคำถาม ให้ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมแก่เจ้าหน้าที่ กรณีมีการร้องขอเพิ่มเติม คณะกรรมการธุรกิจต่างประเทศเป็นผู้ทบทวนเอกสาร และพิจารณาการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ขั้นตอนที่ 3

ผู้รับผิดชอบจะให้การอนุมัติยืนยันการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภายในระยะเวลา 60 วัน โดยพิจารณาตามปัจจัยที่พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวบัญญัติไว้

ขั้นตอนที่ 4

ในกรณีที่ใบสมัครถูกปฏิเสธกระทรวงพาณิชย์จะแจ้งให้ผู้สมัครทราบภายใน 15 วันเป็นลายลักษณ์อักษร และระบุเหตุผลในการปฏิเสธอย่างชัดเจน โดยสามารถยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยภายใน 30 วันนับจากวันที่ผู้สมัครได้รับหนังสือปฏิเสธ

การขอจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ (รับขอ FBL) จะแตกต่างจากการจดบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยทั้งหมด การขออนุญาตประกอบธุรกิจสำหรับบริษัทต่างด้าว ที่ต้องพิจารณาในหลายๆ จุด รวมถึงการเตรียมเอกสารสำหรับการขอจดทะเบียนบริษัท จะมีการดำเนินการค่อนข้างละเอียด

ปรึกษาฟรี! โทร 064-374-6472
หรือ กดปุ่มโทรออก


รับโปรโมชั่นพิเศษ
แอค LINE ID : @accprotax


ส่วนหนึ่งของผลงานดูแลลูกค้าที่มอบความไว้วางใจให้แอคโปรแท็ค (AccProTax) ดูแล จนลูกค้าประทับใจในบริการ และยกนิ้วให้



ติดต่อเรา

0643746472, 0962895253
accprotax@gmail.com
Line : @accprotax

www.accprotax.com

ทำไมถึงต้องจ้างสำนักงานบัญชี ?

✓ การจ้างพนักงานบัญชี มีค่าใช้จ่ายสูง โดยปกติพนักงานบัญชีที่จบปริญญาตรี อัตราเงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 บาท
✓ ลดความกังวลในเรื่องภาษี ว่าจะทำถูกต้องหรือไม่
✓ ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบัญชี การบันทึกบัญชี

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart