How To การลงรายจ่าย vs ภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่ารับรองจากการซื้อของขวัญปีใหม่

How To การลงรายจ่าย vs ภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่ารับรองจากการซื้อของขวัญปีใหม่

รายจ่ายค่าของขวัญที่ซื้อมาแจกหรือให้เป็นของขวัญกับลูกค้าในเทศกาลปีใหม่สามารถลงเป็นค่ารับรองได้ เพราะถือเป็นค่ารับรองอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป โดยเป็นค่ารับรองประเภทค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการ

ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. บุคคลซึ่งได้รับของขวัญปีใหม่นั้น ต้องไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัทฯ
2.ค่าใช้จ่ายจากการซื้อของขวัญปีใหม่นั้นจะต้องมีกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติ
3. ต้องมีใบรับ หรือหลักฐานของผู้รับเงินสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่ารับรอง หรือเป็นค่าบริการ
4. ค่าของขวัญที่ให้นั้นต้อง ไม่เกิน 2,000 บาท

กรณีค่าของขวัญที่จ่ายไม่เกิน 2,000 บาทต่อครั้ง สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง แต่! ถ้าค่าของขวัญต่อครั้งเกิน 2,000 บาท ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามทันที  หมายถึงไม่สามารถลงรายจ่ายได้ทั้งก้อน

ตัวอย่าง  ซื้อกระเช้าของขวัญปีใหม่ให้ลูกค้า 2,500 บาท ค่าใช้จ่ายนี้ไม่สามารถลงเป็นรายจ่ายประเภทค่ารับรองได้ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามทั้งจำนวน

ดังนั้น ความเข้าใจที่ว่า ถ้าซื้อเกิน 2,000 บาท ยังคงสามารถลงเป็นค่ารับรองได้ในจำนวน 2,000 บาท จึงเป็นความเข้าใจที่ผิด

• ค่ารับรองสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามจริง แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 0.3 ของจำนวนเงิน
ยอดรายได้

• จำนวนเงินยอดรายได้ หมายถึง ยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใดในรอบระยะเวลาบัญชีหรือของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท*
• ทั้งนี้ รายจ่ายดังกล่าวไม่รวมถึงรายได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมกำไรสุทธิ เช่น เงินปันผล เป็นต้น

ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าของขวัญที่ซื้อมาแจก หรือให้เป็นของขวัญกับลูกค้าในเทศกาลปีใหม่นั้นไม่ต้องนำมา
รวมคำนวณเป็นฐานเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย
ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. เฉพาะสินค้าที่เป็นปฏิทิน สมุดบันทึกประจำวัน (Diary) หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ของขวัญ
หรือของชำร่วย

2. สินค้า หรือของขวัญดังกล่าว ต้องมีชื่อผู้ประกอบ ชื่อการค้า หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการปรากฏอยู่
3. กรณีให้เป็นของขวัญ ของชำร่วย ต้องเป็นสิ่งที่ให้แก่กันตามประเพณีทางธุรกิจทั่วไป
4. ต้องมีราคาหรือมูลค่าไม่เกินสมควร

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : How To การลงรายจ่าย vs ภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่ารับรองจากการซื้อของขวัญปี

อ้างอิง :

https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=3227:howto-expenditure-tax-confirmation-fee-gift-newyear&catid=29&Itemid=180&lang=th

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart