Bit coin เสียภาษีอย่างไร
เทรด Bit coin ต้องเสียภาษีหรือเปล่า?
ภาษีกำไร ณ ที่จ่าย 15% จากเทรด Cryptocurrency
ก่อนอื่นเรามาพูดถึงประเด็นนี้ตามกฎหมายกันก่อน ถ้าเรายึดตามบทกฎหมายเลยหมายความว่ากำไรใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นในการซื้อขาย Cryptocurrency ถ้าคุณเทรดในประเทศไทยจะต้องเสียภาษีทั้งหมดไม่ว่าคุณจะกำไรเป็นเงินบาท Bit coin หรือ ETH ก็ต้องเสีย อย่างเช่น
- คุณซื้อBit coin ตอน 100,000 บาท 1 BTC
- คุณขาย Bit coin ตอน 200,000 บาท 1 BTC
- นั้นเท่ากับว่าคุณได้กำไร 100,000 บาท ซึ่งต้องจ่ายให้สรรพากร 15,000 บาท ณ ที่จ่ายก่อนที่จะไปคำนวนภาษีรายได้บุคคลธรรมดาว่าจะขอคืนได้หรือไม่
- ในกรณีที่คุณซื้อขายเป็น Cryptocurrency ถ้าคุณได้กำไรคุณก็จะต้องเสีย ณ ที่จ่ายเช่นเดียวกัน
ด้านบนเราว่ากันตามกฎหมายไปแล้วเรามาดูหลักความเป็นจริงบ้างเพราะในความเป็นจริงแล้ววิธี
การจัดเก็บมันไม่ได้ง่ายได้ขนาดนั้นทั้งผู้ที่จะจัดเก็บและผู้ที่ต้องเสียหากเราอ้างอิงตามกฎหมายที่ออกมาโดยมีประเด็นดังนี้
- ในกณณีที่เราซื้อขาย Cryptocurrency แบบที่ไม่มีเงินบาทมาเกี่ยวข้องแม้กำไรจะได้เป็น Cryptocurrency ก็มีปัญหาว่าจะใช้หลักการใดในการประเมิณว่า Bit coin นั้นราคาเท่าไหร่ เพราะไม่มีผู้กำหนดราคากลาง (โดยส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าน่าจะใช้ราคาอ้างอิงจากตลาดที่มีปริมาณซื้อขายมากที่สุด)
- เมื่อเราเก็บเป็น Cryptocurrency จึงอยู่นอกระบบการเงินเเบบเดิมซึ่งหากเราอ้างอิงตามกฎหมายต้องมีการเสียแต่เนื่องด้วยการตรวจสอบทำได้ยากมากแม้กับสรรพากรเองก็ตาม ปัจจุบันการคำนวนภาษีจึงเกิดขึ้นเฉพาะจุดที่มีการแลกเปลี่ยนกับเงินบาทเท่านั้น
- การหัก ภาษี ณ ที่จ่าย 15% นั้นต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีในจุดนี้เพื่อนำส่งสรรพากร ซึ่งน่าจะเป็นผู้ทำธุรกิจสินทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาติ
- แต่ปัจจุบันไม่มีผู้ในที่ได้รับมอบอำนาจในการจัดเก็บภาษี ณ ที่จ่ายในจุดๆนี้ทำให้ปัจจุบันแม้มีกฎหมายแต่ก็ไม่มีการบังคับใช้
- ทำให้ภาษีที่ได้จากการซื้อขายนั้นผู้ที่ทำการซื้อขาย “ต้องยื่นเป็นภาษีรายได้บุคคลธรรมดา” หรือ “รอให้สรรพากเรียกเข้าไปชี้แจง”
เพราะฉะนั้นนักเทรดทั้งหลายควรจะเก็บหลักฐานทุกชนิดเช่น รายการซื้อขายรายวันเพื่อใช้ในกรณีที่มีการเรียกสอบภาษี นักเทรดจำเป็นจะต้องชี้แจงถึงที่มาที่ไปของเงิน
หากซื้อขายแล้วขาดทุนจะลดภาษีได้หรือไม่
ตรงนี้ทางผู้เขียนเคยได้คุยกับสรรพกรและได้คำตอบที่ชัดเจนว่าภาษีนั้นคำนวน “ปีต่อปี” นั้นหมายความว่าผลขาดทุนนั้นไม่สามารถยื่นข้ามปีได้ เช่นหากในปีนี้เราขาดทุนและปีหน้าเรากำไรเราก็ไม่สามารถนำผลขาดทุนในปีที่แล้วมาอ้างได้
การขุดเสียภาษีหรือไม่เสีย?
ก่อนอื่นถ้าคุณเป็นคนที่เป็นมีอุปกรณ์เครื่องขุดจำนวนมากทางผู้เขียนแนะนำให้ทำการขายสินทรัพย์ดิจิทัลในนามนิติบุคคลกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาติเพื่อให้สามารถนำบัญชีค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะค่าไฟ ค่าอุปกรณ์ ค่าจ้าง มาหักภาษีและคิดคำนวนกำไรได้เหมือนบริษัททั่วไป ซึ่งจะทำได้ง่ายเเละไม่ซับซ้อนอะไร
แต่ในกรณีที่คุณเป็นบุคคลธรรมดาความยุ่งยากจะบังเกิดทันทีซึ่งตรงจุดนี้ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ ใน พรบ สินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งตรงนี้ข้อมูลที่ได้รับจากนักฎหมายผู้เขียน “คาดว่า” รายได้ที่ได้จากการขุดน่าจะเข้าข่ายเงินที่ได้จากการแข่งขันที่สามารถหักภาษีเหมา 60% ได้ ซึ่งอีก 40% นั้นจะถูกคำนวนเป็นรายได้บุคคลธรรมดา โดยสรรพกรน่าจะคำนวนจากราคาที่เราขายเหรียญเพราะถ้าคำนวนจากเวลาที่นักขุด ขุดเหรียญได้ละก็น่าจะเป็นงานที่ยากลำบากพอสมควร
อ้างอิง : https://blockchain-review.co.th/blockchain-review/%E0%B8%BAbitcoin-tax-regulation/