รับจดเครื่องหมายการค้า / รับจดTrademark

รับจดเครื่องหมายการค้า / รับจดTrademark

คุณกำลังเปิดธุรกิจใหม่ แต่

ต้องปวดหัวกับแบบฟอร์มเอกสารทางราชการ

ใช้เวลามากเกินไปใน

การขอเครื่องหมายการค้า (Trademark) ไม่ครบถ้วน ทำให้…

1. ธุรกิจต้องหยุดชะงัก ธุรกิจไม่เดินหน้าได้ ขาดโอกาสคว้าผลกำไร!!

2. ต้นทุนเสียโอกาสที่มองไม่เห็น กับเวลาที่สูญเสียไป ในการสร้างผลกำไรวันนี้!!

3. ขาดที่ปรึกษา ที่มีความเชี่ยวชาญ ช่วยวางแผน ไม่ทันคู่แข่ง โดยแซงหน้า!!

4. ทำผิดกฏหมาย เสียค่าปรับอาญา ทำให้ขาดทุนโดยไม่จำเป็น!!


บริการของ AccProTax

บริการของเจ้าอื่นในท้องตลาด
  • ให้คำปรึกษาในการจดเครื่องหมายการค้า ฟรี!!
  • มีคิดค่าบริการในการตรวจสอบเครื่องหมายเพิ่มเต็ม
  • ตรวจสอบความเหมือน หรือคล้ายอย่างละเอียด
  • มีการตรวจสอบเครื่อหมายการค้าที่ไม่ละเอียด
  • ฟรี!! คอร์สเรียน “การวางแผนภาษีที่ถูกต้องและปลอดภัยที่สุด” อาจารย์สอนวางแผนภาษี มีคุณวุฒิการันตรีเป็น “ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต” จากทางการ (8 ชั่วโมง)
  • ใช้ระยะเวลานานในการยื่นคำขอ, ไม่มีแนะนำคอร์สเรียน ให้ความรู้ แนะนำผู้ประกอบการ แต่อย่างใด
  • ดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านการจดทะเบียน และการออกแบบ
  • ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ เช่น การวางแผนภาษี และบัญชีช่วยให้คำปรึกษา
  • มีความเสี่ยง จะให้คำแนะนำเรื่องการแก้ไขก่อนยื่นจด
  • อาจยื่นจดทะเบียนให้ โดยโอกาสในการจดทะเบียนผ่านมีน้อย

 

รับจดเครื่องหมายการค้า จด Trademark สุดคุ้ม ราคาถูก

จดทะเบียนโลโก้ จดลิขสิทธิ์โลโก้ จดตราแบรนด์สินค้า

฿5,990 บาท (ปกติ ฿12,000)

รวมค่าธรรมเนียมทางการแล้ว (ต่อ 1 รายการสินค้า)

 

โปร!! *VIP สุดคุ้ม*
5,350
ไม่รวมค่าธรรมเนียมทางการ (คิดตามจริง)
รายละเอียด
*รู้ผลพิจารณาประมาณ 12-15 เดือน*
ไม่รวมค่าธรรมเนียมราชการ (คิดตามจริง)
>>เหมาะกับจดเครื่องหมายการค้า แบบไม่จำกัดรายการสินค้าเท่านั้น / อยู่ภายในจำพวกสินค้าเดียวกัน<<
ฟรี!! ตรวจเหมือนหรือคล้าย (ก่อนยื่นจด)
ฟรี!! คอร์ส "วางแผนภาษีที่ถูกต้องและปลอดภัยที่สุด"
ฟรี!! ไฟล์ของแถม 50 รายการ
ฟรี!! คอร์ส "วางแผนภาษีที่ถูกต้องและปลอดภัยที่สุด"
[ระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่ยื่นจดได้หนังสือรับรอง ประมาณ 15-20 เดือน]
*ค่าบริการจำพวกสินค้าถัดไป 1,070 บาท/จำพวก แบบไม่จำกัดรายการสินค้าเท่านั้น (ภายในจำพวกสินค้าเดียวกัน)
ติดต่อสอบถาม

 

ฟรี! คู่มือภาษี และ ฟรี! คอร์สเรียน “วางแผนภาษีที่ถูกต้องและปลอดภัยที่สุด”

สอนโดย “ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต” (CPA)  
สำหรับ VIP จดเครื่องหมายการค้า สุดคุ้ม

ที่นี้ทีเดียว ที่จัดเต็มของแถมกว่า 50 รายการ

มูลค่ารวม ฿12,000 บาท (ฟรี! โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ)
แถม “ภายใน 15 มกราคม 2568” เท่านั้น

ปรึกษาเรา แอคโปรแท็ค (AccProTax)

ดูแลแทนคุณ เพื่อ
ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างๆ

จดเครื่องหมายการค้า (จด Trademark) อย่างถูกต้อง

ก่อนธุจกิจคุณจะพลาดโอกาสสร้างผลกำไร สูญเสียโอกาส

โทรติดต่อเรา วันนี้!!

ปรึกษาเบื้องต้นฟรี! โทร 064-374-6472
หรือ กดปุ่มโทรออก

รับโปรโมชั่นพิเศษ
แอค LINE ID : @accprotax

ขั้นตอนการให้บริการจดทะเบียน Trademark

ขั้นตอนที่ 1 : แจ้งรายการสินค้า หรือ บริการ ที่ต้องการให้จดกับเครื่องหมาย (Logo)
(นำ ภาพการออกแบบใด มาจดเป็น เครื่องหมายการ/บริการ นั้น จะมีค่าใช้จ่าย แปรผันตาม จำนวนของ จำพวก (CATEGORY) และ ชนิดของสินค้า/บริการใด (PRODUCT/SERVICE TYPE) ในจำพวกนั้นๆ)

1.1) ยิ่ง จำพวก สินค้า และบริการ (CATEGORY) แตกต่างหลายประเภทมาก ค่าธรรมเนียมราชการก็ยิ่งแพงขึ้น

1.2) ยิ่ง ชนิดของสินค้า/บริการ (PRODUCT/SERVICE TYPE) ค่าธรรมเนียมราชการก็ยิ่งแพงขึ้น
(ถ้าหากอยู่คนละจำพวก สินค้า และบริการ (CATEGORY) ด้วย ก็ยิ่งทำให้ค่าธรรมเนียมแพงขึ้นไปอีก)

ขั้นตอนที่ 2 : ทีมงาน ประเมินค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้ทางลูกค้ารับทราบ (เผื่อกรณีมีการปรับเพิ่มลด)

ขั้นตอนที่ 3 : ตรวจความเหมือนคล้ายเบื้องต้น 

3.1) ยืนยัน จำพวก และประเภท สินค้า/บริการ ที่ต้องการตรวจสอบ
3.2) ส่งภาพเครื่องหมาย (Logo) ที่จะให้ตรวจค้น เป็น ไฟล์นามสกุล JPG หรือ PDF
3.3) แจ้งรายการสินค้า หรือ บริการ ที่ต้องการให้จดกับเครื่องหมาย (Logo)

3.4) ทีมงานจะทำการ ตรวจสอบ”เบื้องต้น” ว่า ข้อมูลซ้ำกับคนอื่นหรือไม่

ขั้นตอนที่ 4 : ชำระเงินพร้อมส่งสลิปเพื่อยืนยันการใช้บริการ และเตรียมเอกสารให้กับทีมงาน


เอกสารที่ต้องใช้เพื่อ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (TRADEMARK)

สำหรับบุคคลธรรมดา
1. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของผู้ที่ต้องการถือสิทธิ
2. ที่อยู่สำหรับจัดส่งเอกสาร , เบอร์โทร และอีเมลที่สามารถติดต่อได้
3. หนังสือมอบอำนาจ (ทีมงานจัดเตรียมให้ )

สำหรับนิติบุคคล
1. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท (อายุไม่เกิน 6 เดือน)
2. ที่อยู่สำหรับจัดส่งเอกสาร , เบอร์โทร และอีเมลที่สามารถติดต่อได้
3. หนังสือมอบอำนาจ (ทีมงานจัดเตรียมให้ )

ขั้นตอนที่ 5 : แจ้งผล การตรวจสอบเหมือนคล้าย “อย่างละเอียด” และคำแนะนำแก้ไข (ถ้ามี)

ประสานงานลูกค้าเพื่อทำการตรวจสอบความเหมือน หรือคล้าย “อย่างละเอียด” โดยหากพบปัจจัยเสี่ยงใด ที่มีสิทธิ์ทำให้การจดทะเบียนไม่ผ่านเกณฑ์ได้ และอาจต้องเสียเงินยื่นคำขอไปฟรีได้ หรืออาจทำให้ระยะเวลาในการพิจารณายาวนานยิ่งขึ้น ทีมงานจะรีบทำการแจ้งลูกค้าให้ทราบ หรือแจ้งเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อดูแลผลประโยชน์ของลูกค้า

ขั้นตอนที่ 6 : ทีมงานยื่นเรื่องขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ภายใน 1 วัน หลังเอกสารครบถ้วน

หลังยื่นจดทะเบียน ทีมงานส่งเอกสารคำขออิเล็กทรอนิกส์ ก.01 ให้ลูกค้าทางอีเมล์ พร้อมติดตามสถานะให้ตลอด ทั้งนี้ความเร็วในการอนุมัติจดทะเบียนขึ้นกับลำดับคิวในระบบของกรมทรัพย์สินทางปัญญา

ขั้นตอนที่ 7 : ลูกค้ารอรับการแจ้งผลการพิจารณาเบื้องต้นของราชการทางไปรษณีย์

คำสั่งนายทะเบียนที่จะให้ความคุ้มครอง สั่งแก้ไข หรือ ปฏิเสธจะถูกส่งมาทางไปรษณีย์ที่อยู่ที่ลูกค้าแจ้งไว้ ซึ่งเมื่อได้รับแล้ว จะได้ส่งรหัสที่อยู่ภายในจดหมายให้ทีมงานใช้ในการยืนยันกับทางราชการต่อไป

ขั้นตอนที่ 8 : รอรับหนังสือสำคัญ(Certificate) กรณีผลพิจารณาอนุมัติ และประกาศโฆษณาสำเร็จ

ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะออกเลขทะเบียน และส่งหนังสือสำคัญ (Certificate) ให้กับลูกค้าทางไปรษณีย์

ปรึกษาเรา แอคโปรแท็ค (AccProTax)

ดูแลแทนคุณ เพื่อ
ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างๆ

จดเครื่องหมายการค้า (จด Trademark) อย่างถูกต้อง

ก่อนธุจกิจคุณจะพลาดโอกาสสร้างผลกำไร สูญเสียโอกาส

โทรติดต่อเรา วันนี้!!

ปรึกษาเบื้องต้นฟรี! โทร 064-374-6472
หรือ กดปุ่มโทรออก

รับโปรโมชั่นพิเศษ
แอค LINE ID : @accprotax

เครื่องหมายการค้าที่ต้องห้ามและไม่สามารถจดทะเบียนได้

1. เครื่องหมายติดบ่งเฉพาะ (ไม่มีเอกลักษณ์ที่พิเศษ)
    1.1 ชื่อที่สื่อถึงสินค้า เช่น Apple จดทะเบียนใช้กับ ผลไม้แอปเปิ้ล หรือ ร้านขายแอปเปิ้ลจะ จดทะเบียนไม่ผ่านเนื่องจากสื่อถึงสินค้า การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า Apple กฎหมายจะไม่ให้จดทะเบียน หากจดทะเบียนใช้กับ โทรศัพท์ แบบนี้สามารถจดทะเบียนได้เนื่องจากไม่ถือเป็นการผูกขาด
    1.2 ชื่อที่สื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า เช่น ละอองเย็น/laong yen จดทะเบียนใช้กับ สเปร์ยฉีดตัว จะจดทะเบียนไม่ผ่านเนื่องจากสื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า ละอองเย็น/laong yen กฎหมายจะไม่ให้จดทะเบียน หากจดทะเบียนใช้กับ โทรศัพท์ แบบนี้สามารถจดทะเบียนได้เนื่องจากไม่ถือเป็นการผูกขาด

ชื่อเครื่องหมายตาม 1.1, 1.2 ก็อาจจะเป็นคำที่พ้องเสียงได้ด้วย เช่น SHA TAI สื่อถึง ชาไทย การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า ชาไทย ผู้ตรวจสอบสามารถมีคำสั่งออกมาไม่ให้จดทะเบียนได้

ชื่อเครื่องหมายตาม 1.1, 1.2 หากมีการผสมคำ แต่คำที่นำมาผสมไม่ใช่สาระสำคัญ เช่น Apple Thai, Super Apple, The Apple, Apple Plus, Apple Restaurant, คำที่นำมาผสมจะไม่ถูกนำเป็นสาระสำคัญในการตรวจสอบ เนื่องจากเป็นคำทั่วไป และ มาเสริมคำว่า Apple ให้โดดเด่นขึ้นไปอีก ดังนั้นจะเหลือแต่คำว่า Apple ที่เป็นสาระสำคัญการจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า Apple

(เว้นแต่ชื่อ/ข้อความตาม 1.1-1.2 ต้องมีคำ หรือ ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบ เช่น ข้อความตาม 1.1-1.2 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิข้อความตาม 1.1-1.2) หรือ เช่น ข้อความตาม 1.1-1.2 + ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญ หากภาพโลโก้ไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิข้อความตาม 1.1-1.2)

   1.3 ตัวอักษร 1 ตัว 2 ตัว 3 ตัว ที่ไม่มีความหมาย ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษ เหตุผลที่บังคับให้ประดิษฐ์ตัวอักษรเพราะการจดทะเบียนจะได้ตัวอักษร+ที่มีการประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษ เพราะมิฉะนั้นจะเหมือนว่าเราเอาตัวอักษรโรมันธรรมดามาจดทะเบียน ซึ่งหลักการแนวนี้ใช้กับทุกภาษา
เช่น ตัวอักษรตัวเดียว A ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษถึงจะจดทะเบียนผ่าน
เช่น ตัวอักษรสองตัว AF ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษถึงจะจดทะเบียนผ่าน
เช่น ตัวอักษรสามตัว AFS ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษถึงจะจดทะเบียนผ่าน

(เว้นแต่ตัวอักษรตาม 1.3 หากไม่ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษ ต้องมีคำ หรือ ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบ เช่น ตัวอักษรตาม 1.3 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิตัวอักษรตาม 1.3 หรือ เช่น ตัวอักษรตาม 1.3 + ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญ หากภาพโลโก้ไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิตัวอักษรตาม 1.3

2. เครื่องหมายติดเหมือนหรือคล้าย ต้องครบองค์ประกอบ  ดังนี้
   2.1 พ้องเสียง เช่น Manee, Marni, Marnie, MaaNii กลุ่มคำเหล่านี้ถือว่าพ้องเสียง
   2.2 พ้องรูป เช่น มีรูปคล้ายคลึงกัน เช่น รูปนก ที่คล้ายๆ กัน

การพ้องเสียงหรือพ้องรูปตาม 2.1 และ 2.2 จะต้องคู่กับ รายการสินค้าที่อยู่จำพวก เดียวกันและคล้ายกันด้วย
เช่น Manee สินค้า เสื้อ และ Marni สินค้า รองเท้า ถือว่า คล้ายกันและจดทะเบียนไม่ผ่าน เนื่องจาก Manee และ Marni พ้องเสียง เสื้อ และ รองเท้า อยู่จำพวก 25 กลุ่ม เสื้อผ้าเหมือนกัน

หาก เช่น Manee สินค้า เสื้อ และ Marni สินค้า ปุ๋ยเคมี แม้จะพ้องเสียงคล้ายกันแต่คนละจำพวกถือว่าจดทะเบียนได้ เนื่องจาก การทำธุรกิจของ Marni สินค้า ปุ๋ยเคมี ไม่กระทบกระเทือนธุรกิจ Manee สินค้า เสื้อ

เครื่องหมายการค้าที่ติดเหมือนคล้ายหรือติดพ้องเสียงกัน เช่น Manee กับ Mani หากนำภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบกับ Mani ก็ถือว่าติดเหมือนคล้ายกัน เพราะ
   1.พ้องเสียง
   2.พ้องรูป
   3.รายการสินค้า/บริการ

คือถือว่าติดเหมือนคล้ายกันเพราะติด 2 ใน 3 คือติดพ้องเสียง+รายการสินค้า/บริการ

สรุป พ้องเสียง พ้องรูป ต้องจับคู่กับ รายการสินค้าที่อยู่จำพวกเดียวกันและคล้ายกันด้วยถึงจะถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นเหมือนหรือคล้ายกัน

   2.3 ข้อยกเว้นชื่อพ้องเสียง ที่สามารถจดทะเบียนซ้ำกันได้
เช่น ตัวอักษรตัวเดียว A สามารถจดทะเบียนซ้ำกันได้ แต่ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้แตกต่างกัน
เช่น ตัวอักษรสองตัว AF มีสองแนว คือ สามารถจดทะเบียนซ้ำกันได้แต่ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษร และ บางครั้งก็มีคำสั่งว่าติดเหมือนคล้าย
ถ้าเป็น ตัวอักษรสามตัว AFS แม้จะมีการออกแบบที่แตกต่างกันแต่ก็จดทะเบียนซ้ำกันไม่ได้ เพราะตัวอักษรสามตัวถือว่ามีเอกลักษณ์สูง

3. เครื่องหมายการค้าที่นำภาพที่เป็นเลขาคณิตทั่วไป/หรือภาพเสมือนจริง มาจดทะเบียนใช้กับสินค้าประเภทนั้น และ ภาพนั้นไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
   3.1 ภาพรวงข้าวเสมือนจริง ใช้กับ ข้าว จดทะเบียนไม่ผ่าน เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
   3.2 ภาพรถยนต์เสมือนจริง ใช้กับอะไหล่ น้ำยาขัดรถยนต์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
   3.3 ภาพผลไม้เสมือนจริง ใช้กับน้ำผลไม้ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
   3.4 ภาพสัตว์เสมือนจริง ใช้กับ น้ำยาสระขนสัตว์ อาหารสัตว์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
   3.5 ภาพโทรศัพท์เสมือนจริง ใช้กับ โทรศัพท์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
   3.6 ภาพกุ๊กเสมือนจริง ใช้กับ อาหาร ร้านอาหาร เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
   3.7 รูปหัวใจเลขาคณิต ใช้กับยารักษาโรคหัวใจ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
                   เป็นต้น
(เว้นแต่ภาพตาม 3.1-3.7 ต้องมีคำมาประกอบ เช่น ภาพตาม 3.1-3.7 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิภาพตาม 3.1-3.7)

4. เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนโดยไม่สุจริต
เช่น นำคำว่า Honda หรือ นำเอาเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่ไปจดทะเบียนไว้แล้ว (ลอกมา 100 %) ไปจดทะเบียนในอีกจำพวกหนึ่งที่แตกต่างกัน เช่น นำคำว่า Honda ไปจดทะเบียนใช้กับ ปุ๋ยเคมี ซึ่งไม่กระทบธุรกิจการขายรถยนต์ของ Honda แต่การกระทำนี้ถือว่าไม่สุจริต กฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง หรือ Starbuck กับ Starbung ไม่ได้ทำให้ประชาชนสับสนหลงผิด แต่ถือว่าการกระทำนี้ไม่สุจริต กฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง
   4.1 เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย เช่น Honda หากลอกมาทั้งหมดหรือเลียนมา ถือว่าไม่สุจริตและกฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง
   4.2 เครื่องหมายการค้าที่ไม่มีชื่อเสียงแพร่หลาย คือไม่โด่งดัง ต้องลอกมา 100 % เท่านั้น จะถือว่าไม่สุจริตและกฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง

5. เครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อกฎหมาย/ต้องห้ามไม่ให้รับจดทะเบียน
   5.1 ชื่อทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อประเทศ ชื่อจังหวัด ชื่อเมือง (2 แนว แนวที่ 1 มีในเครื่องหมายได้แต่ต้องทำการสละสิทธิ / แนวที่ 2 มีไม่ได้เลย เช่น paris)
   5.2 ธงชาติ (มีไม่ได้เด็ดขาด เช่น honda+ธงชาติ จะจดไม่ผ่านต้องตัดออก)
   5.3 ชื่อดารา หรือ คนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง (มีไม่ได้เลย)
   5.4.ชื่อที่ไม่สุภาพ / ลามก (มีไม่ได้เลย)
   5.5 ชื่อที่ไปเกี่ยวข้องกับ ราชวงศ์ หรือ ชื่อทางราชการ องค์กรต่างๆ (มีไม่ได้เลย)
   5.6 ชื่อเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) และ เป็นคำประดิษฐ์ เช่น Honda (มีไม่ได้เลย)
                  เป็นต้น

6. เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (Well Know Trademark) แบ่งดังนี้
   6.1 เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) ที่ไม่ใช่คำประดิษฐ์ เช่น Apple(iphone)
         สามารถใช้ซ้ำกันได้ แต่ต้องอยู่คนละรายการสินค้า และ ต้องไม่ใช้การลอกแบบมาจดทะเบียน เช่น นำคำว่า apply มาจดทะเบียนใช้กับสินค้า เครื่องดนตรี สามารถยื่นจดทะเบียนได้
   6.2 เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) ที่เป็นคำประดิษฐ์ขึ้น ไม่มีในพจนานุกรม เช่น Starbuck, Pepsi
         ไม่สามารถใช้ซ้ำกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ในรายการสินค้าไหนก็ตาม เช่น นำคำว่า Pepsi มาจดทะเบียนใช้กับสินค้า เครื่องดนตรี จะไม่สามารถยื่นจดทะเบียนได้ เป็นต้น

ฟรี! คู่มือภาษี และ ฟรี! คอร์สเรียน “วางแผนภาษีที่ถูกต้องและปลอดภัยที่สุด”

สอนโดย “ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต” (CPA)  
สำหรับ VIP จดเครื่องหมายการค้า สุดคุ้ม

ที่นี้ทีเดียว ที่จัดเต็มของแถมกว่า 50 รายการ

มูลค่ารวม ฿12,000 บาท (ฟรี! โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ)
แถม “ภายใน 15 มกราคม 2568” เท่านั้น

ปรึกษาเบื้องต้นฟรี! โทร 064-374-6472
หรือ กดปุ่มโทรออก


รับโปรโมชั่นพิเศษ
แอค LINE ID : @accprotax

เอกสารที่ใช้สำหรับการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (Trademark)

1. คำขอจดทะเบียน (แบบ ก.01) โดยจะต้องกรอกแบบฟอร์มดังกล่าวให้ครบถ้วน พร้อมติดรูปเครื่องหมายการค้าขนาดไม่เกิน 5 X 5 เซนติเมตร ต้นฉบับ 1 ชุด และถ่ายสำเนาอีกจำนวน 5 ชุด

2. รูปเครื่องหมายการค้า ที่เหมือนกับรูปที่ติดในคำขอจดทะเบียน จำนวน 5 รูป

3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา) หรือต้นฉบับหนังสือรับรองนิติบุคคลฉบับนายทะเบียนรับรองและออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล) ทั้งนี้ ในกรณีการมอบอำนาจ จะต้องใช้หนังสือมอบอำนาจ (แบบ ก.18) พร้อมปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ต่อผู้รับมอบอำนาจ 1 คน


ค่าธรรมเนียม การจดเครื่องหมายการค้า จดแบรนด์สินค้า-บริการ

ค่าธรรมเนียมราชการ สำหรับ การจดเครื่องหมายการค้า (TRADEMARK) ภายในประเทศ ที่เกิดขึ้นมักจะมีด้วยกัน 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1: ค่าธรรมเนียม การยื่นคำขอจดทะเบียน (ยื่นเรื่อง)

ซึ่งต้องชำระเมื่อทำการยื่นเรื่องทันที และจะไม่ได้รับคืนไม่ว่าจะได้รับการพิจารณาผ่านหรือไม่ก็ตาม ดังนี้

ก) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 1,000 บาท
ข) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 9,000 บาท (ไม่จำกัดชนิด)

ยกตัวอย่างเช่น 

แบรนด์ A ต้องการยื่นจดเครื่องหมายการค้า เพื่อคุ้มครองสินค้า ทั้งหมด 2 จำพวก ได้แก่
   A1 ) จำพวกแรก หมายเลข 25 : กลุ่ม เครื่องแต่งกาย เครื่องสวมใส่เท้า เครื่องปกคลุมศีรษะ
โดยสินค้าที่ต้องการคุ้มครอง คือ 1. กระเป๋า 2. หมวกแก้ป 3.เสื้อกีฬา ทั้งหมด 3 สินค้า
# เข้าเกณฑ์ ก) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 1,000 บาท
= ค่าธรรมเนียมจึงคำนวณได้เป็น 3,000 บาท

   A2 ) จำพวกสอง หมายเลข 30 : กลุ่ม  สินค้าอาหารที่ได้มาจากพืช และสิ่งที่ใช้เพื่อปรุงแต่งกลิ่นและรสอาหาร
โดยสินค้าที่ต้องการคุ้มครอง คือ 1.กาแฟ 2.ชา 3.โกโก้ 4.กาแฟเทียม 5.เส้นพาสต้า 6.เส้นก๋วยเตี๋ยว 7.ขนมปัง 8.ช็อกโกแลต 9.ไอศกรีม 10.น้ำตาล 11.น้ำผึ้ง 12.น้ำเชื่อม 13.ยีสต์ 14.ผงฟู 15.เกลือ ทั้งหมด 15 สินค้า
# เข้าเกณฑ์ ข) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวก ละ 9,000 บาท
= ค่าธรรมเนียมจึงคำนวณได้เป็น 9,000 บาท


ส่วนที่ 2: ค่าธรรมเนียม การรับจดทะเบียน (ได้รับอนุมัติแล้ว)

ซึ่งต้องชำระเมื่อได้รับการอนุมัติ และรับการคุ้มครอง ดังนี้

ก) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 600 บาท
ข) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 5,400 บาท (ไม่จำกัดชนิด)

กรณีของแบรนด์ A ยื่นผ่าน และได้รับการคุ้มครองทั้งหมด ดังนั้นมีค่าธรรมเนียมส่วนที่ 2 ดังนี้
   A1 ) # เข้าเกณฑ์ ก) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 600 บาท
= ค่าธรรมเนียมจึงคำนวณได้เป็น 1,800 บาท

   A2 ) # เข้าเกณฑ์ ข) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวก ละ 5,400 บาท
= ค่าธรรมเนียมจึงคำนวณได้เป็น 5,400 บาท

ค่าธรรมเนียม เพิ่มเติมอื่นๆ (ถ้ามี)

กรณีที่จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายอื่นๆ แบ่งได้สองประเด็นหลักๆ คือ

ก) อยู่ระหว่างการพิจารณา และต้องการยื่นแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้พิจารณาผ่าน หรือ ได้รับการคุ้มครองเพิ่ม/ลด อย่างไร

ข) ได้รับการพิจารณาผ่านไปแล้ว ต้องการยื่นแก้ไขข้อมูลเดิมที่จดทะเบียนสำเร็จไปแล้ว

ปรึกษาเบื้องต้นฟรี! โทร 064-374-6472
หรือ กดปุ่มโทรออก


รับโปรโมชั่นพิเศษ
แอค LINE ID : @accprotax


ส่วนหนึ่งของผลงานดูแลลูกค้าที่มอบความไว้วางใจให้แอคโปรแท็ค (AccProTax) ดูแล จนลูกค้าประทับใจในบริการ และยกนิ้วให้



ติดต่อเรา

0643746472, 0962895253
accprotax@gmail.com
Line : @accprotax

www.accprotax.com

ทำไมถึงต้องจ้างสำนักงานบัญชี ?

✓ การจ้างพนักงานบัญชี มีค่าใช้จ่ายสูง โดยปกติพนักงานบัญชีที่จบปริญญาตรี อัตราเงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 บาท
✓ ลดความกังวลในเรื่องภาษี ว่าจะทำถูกต้องหรือไม่
✓ ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบัญชี การบันทึกบัญชี

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart