3 เรื่องภาษีน่ารู้สำหรับคนทำธุรกิจ E-Commerce

3 เรื่องภาษีน่ารู้สำหรับคนทำธุรกิจ E-Commerce

มีคำกล่าวไว้ว่า “โลกเรานั้นช่างเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมากมาย” ถ้าเป็นเมื่อก่อน หากเราต้องการจะซื้อสินค้าหรือบริการอะไรสักอย่าง ก็ต้องออกขับรถไปตามร้าน ค้นหาข้อมูลจากหนังสือ สื่อต่างๆ อย่างวิทยุ โทรทัศน์ หรือติดต่อสอบถามผ่านทางโทรศัพท์ แหม่.. มันช่างเหนื่อยเสียจริงเชียว

แต่เผลอแป๊บเดียว เมื่อมาถึงวันนี้ คำกล่าวนั้นก็เป็นจริงเสียแล้ว เพราะโลกใบเดิมที่เราเคยรู้จักมันกลับกลายเป็นโลกใบใหม่ที่ผู้คนสามารถติดต่อกันได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส อยากซื้ออะไรก็ซื้อ อยากได้อะไรก็ Search หา อยากพบเจอติดต่อใครก็ทักแชทไปในพริบตา เพราะเราจัดได้หมดทุกอย่างตามที่ใจต้องการด้วยการสื่อสารแบบออนไลน์นั่นเอง

สิ่งหนึ่งที่ส่งผลต่อเจ้าของธุรกิจในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คือ การปรับตัวตามโลกออนไลน์เช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นหน้าร้านขายของออนไลน์เปิดบริการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต”

รู้ไหมครับว่า ทุกวันนี้ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ที่เรียกว่า “Digital Economy” อย่างเต็มตัวแล้ว ซึ่งเห็นได้จากจำนวนคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นถึง 31 ล้านคน รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือสูงขึ้นถึง 77% และเป็นที่แน่นอนว่า สิ่งหนึ่งที่ส่งผลต่อเจ้าของธุรกิจในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คือ การปรับตัวตามโลกออนไลน์เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นหน้าร้านขายของออนไลน์ เปิดบริการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต ใช้ Social Network เป็นตัวช่วยในการค้าขาย อย่าง Facebook Instagram แถมยังมีบริการตอบคำถาม Hot Line อีกต่างหาก

แต่… สำหรับคนที่กำลังทำธุรกิจที่เรียกว่า E-Commerce หรือกำลังสนใจที่จะเริ่มต้นธุรกิจ E-Commerce มักจะมีข้อสงสัยในเรื่องราวเกี่ยวกับภาษีมากมาย ว่าเอ๊ะ.. การที่เราทำธุรกิจแบบนี้ เราจะต้องเสียภาษีแบบไหนและอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นคำถามที่ผมได้รับบ่อยมากๆ ผ่านทางแฟนเพจ @TAXBugnoms

วันนี้เลยถือโอกาสอธิบายเรื่องภาษีน่ารู้สำหรับคนทำธุรกิจ E-Commerce ทุกคนครับว่า แท้ที่จริงแล้วธุรกิจ E-Commerce นั้นจะต้องเสียภาษีอย่างไรและแบบไหน โดยแยกออกเป็นคำถาม 3 ข้อดังนี้ครับ

  1. รายได้จากธุรกิจ E-Commerce ต้องเสียภาษีหรือไม่

สำหรับคำถามแรกนั้น ขอตอบตรงนี้แบบชี้ชัดฟันธงเลยครับว่า “ต้องเสีย” แหม่.. เรามีรายได้จากการทำธุรกิจแบบนี้ จะไม่เสียภาษีได้ยังไงล่ะครับ (ข้อกฎหมายเพิ่มเติม : มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฏากร)

  1. จะต้องเสียภาษีประเภทไหนและอย่างไรบ้าง

คำถามต่อมาหลังจากที่เรารู้ตัวว่าต้องเสียภาษีแล้ว นั่นคือ เราจะต้องเสียภาษีประเภทไหนและอย่างไรบ้าง เรามาตรวจสอบจากรูปแบบของธุรกิจและรายได้กันต่อเลยครับ

 

รูปแบบธุรกิจ

หมายถึง ธุรกิจ E-Commerce ของเรานั้นอยู่ในรูปแบบของ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล

  • บุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ และเงินได้พึงประเมิน ตามวิธีการดังต่อไปนี้ครับ

วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน)

    1. รายได้ : ถือเป็นเงินได้จากการขายสินค้าและบริการ (เงินได้ประเภทที่ 8)
    2. ค่าใช้จ่าย : สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ในอัตราเหมาและหักตามค่าใช้จ่ายจริง โดยขึ้นอยู่กับอัตราค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดของธุรกิจแต่ละประเภท
    3. ค่าลดหย่อน : สามารถใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนตามกฎหมายได้ เช่น คู่สมรส บุตร ประกันชีวิต LTF RMF ฯลฯ
    4. คำนวณภาษี : ด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบก้าวหน้า

วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมิน
ในกรณีเราที่มีเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือนจำนวนมากกว่า 60,000 บาท ให้นำยอดเงินได้คูณด้วย 0.005 และถ้าภาษีที่คำนวณได้ตามวีธีนี้ มีจำนวนไม่เกิน 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษี แต่ถ้าคำนวณได้ภาษีเกินกว่า 5,000 บาท ให้เปรียบเทียบต่อครับว่า ภาษีที่คำนวณได้จากทั้งสองวิธีนั้น วิธีไหนได้จำนวนภาษีสูงกว่า ให้เลือกเสียตามวิธีนั้น

  • นิติบุคคล ถ้าเป็นรูปแบบนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ที่จดทะเบียนในประเทศไทย) จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยคำนวณตามเกณฑ์ที่เรียกว่า กำไรสุทธิตามกฎหมายภาษีอากร” (ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฏากร) ซึ่งสำหรับการเลือกเสียภาษีตามรูปแบบนี้นั้น จะมีเงื่อนไขที่ซับซ้อนในการคำนวณกำไรสุทธิ ซึ่งผมแนะนำให้หาผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีเป็นผู้ดูแลจะสะดวกกว่าครับ

รายได้

อีกประเด็นหนึ่ง คือ จำนวนของรายได้ เพราะมีภาษีอีกประเภทหนึ่งที่ต้องเสียนอกจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นั่นคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยเมื่อไรก็ตามที่ธุรกิจ E-Commerce ของเรามีรายได้เกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี รู้ตัวได้เลยครับว่า เรามีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงมีหน้าที่จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมชำระภาษี อีกด้วยครับ

สำหรับข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลการเสียภาษีคร่าวๆ ที่เราต้องรู้ และสำรวจตัวเองให้ชัดครับว่า เราประกอบธุรกิจในรูปแบบไหนและมีรายได้เท่าไรบ้าง เพื่อที่จะได้จัดการเรื่องภาษีให้แน่ชัด ถ้าใครยังสงสัยเรื่องนี้ จะสอบถามผมที่แฟนเพจ @TAXBugnoms หรือหาข้อมูลจากเว็บไซต์ของกรมสรรพากรเพิ่มเติมได้ครับ

  1. ไม่เสียภาษีได้ไหม

คำตอบคือไม่ได้ครับ เพราะจะถือว่าธุรกิจของเราทำผิดกฎหมาย และต้องมีการรับโทษ โดยการเสียค่าปรับและดอกเบี้ย ที่เรียกว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม” ที่จะต้องเสียในอัตราแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของภาษี แต่รับรองว่าข้อนี้ไม่สนุกแน่นอนครับ ยังไงการทำถูกต้องย่อมดีกว่าอยู่แล้วครับ

โดยเมื่อไรก็ตามที่ธุรกิจ E-Commerce ของเรามีรายได้เกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี รู้ตัวได้เลยครับว่า เรามีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงมีหน้าที่จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมชำระภาษี อีกด้วยครับ

สำหรับคนเคยได้ยินใครกระซิบแนะนำมาว่า แอบๆ ทำก็ได้ ไม่ต้องไปเสียภาษีหรอก ก็ขอแนะนำนะครับว่า อย่าไปเสี่ยงดีกว่านะครับ เพราะว่าทางสรรพากรเคยออกข่าวประชาสัมพันธ์ไว้ว่า ถ้าใครคิดหลีกเลี่ยงหลบหนีภาษี มีสิทธิติดตามเจออย่างแน่นอน เพราะกรมสรรพากรมีข้อมูลจากทุกแหล่งซึ่งทำการค้าอยู่แล้วครับ

อ้างอิง : https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/tax-tips-e-commerce

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart