ตัดสินใจนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ (IPO) ดีมั้ย

ตัดสินใจนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ (IPO) ดีมั้ย

ตัดสินใจนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ (IPO) ดีมั้ย

ปัจจุบันมีบริษัทจำนวนไม่น้อยที่อยากนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น ลักษณะของบริษัทที่จะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯนั้น ก็เปลี่ยนไปจากสมัยก่อนเป็นอย่างมาก แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ได้แก่

  1. บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีความสามารถในการทำกำไร เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯมากขึ้น
  2. ธุรกิจครอบครัวที่ต้องการขยายกิจการ หรือต้องการการเติบโตที่มั่นคง และมีความมั่งคั่ง
  3. ธุรกิจของคนรุ่นใหม่ (Start up) ซึ่งมักเป็นธุรกิจแนวคิดใหม่และทำกำไรได้เป็นอย่างดี
  4. ธุรกิจต่างจังหวัดที่อยู่ตามเมืองใหญ่ที่มีความเจริญ

และจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่เป็นอยุ่ในปัจจุบัน รวมถึงสถิติของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯรายใหม่ๆ ที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีนั้น คาดเดาได้ไม่ยากเลยว่าภายในปี 2562 – 2563 การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ และหากท่านใดที่กำลังตัดสินใจที่จะนำบริษัทของตนเองเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น ลองพิจารณาข้อดี และข้อเสีย

ข้อดี

  • เป็นแหล่งเงินทุนที่ไม่มีดอกเบี้ย ถ้าวัตถุประสงค์ของการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯนั้นคือต้องการขยายกิจการ วิธีการนี้จะช่วยลดการเกิดหนี้ได้ทางหนึ่ง เพราะเงินทุนจะมาจากนักลงทุน
  • บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มักได้รับความน่าเชื่อถือจากสถาบันการเงิน คู่ค้า ลูกค้า พนักงาน และประชาชนโดยทั่วไป
  • สามารถตัดปัญหาความขัดแย้งของการบริหารงานภายในครอบครัวได้ เนื่องจากการบริหารและการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯนั้น จะต้องมีความโปร่งใส ชัดเจน มีคนกลางที่มีความเป็นอิสระจากบริษัทเข้ามาทำหน้าทีตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการอย่างเข้มงวดเลยทีเดียว
  • เกิดการสานต่อธุรกิจครอบครัวให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยื่น เมื่อบริษัทได้รับความน่าเชื่อถือแล้ว สิ่งที่ตามมาอย่างแน่นอนคือ ทีมบริหารและพนักงานที่มีคุณภาพก็อยากจะเข้ามาร่วมงานด้วย ไม่เพียงเท่านั้นระบบการทำงานก็จะต้องถูกปรับให้เป็นมาตรฐานด้วยเช่นกัน
  • Capital Gain หรือส่วนต่างของเงินลงทุนที่เจ้าของหุ้นจะได้รับ

ข้อเสีย

  • ความเป็นเจ้าของจะถูกลดลง เพราะสัดส่วนการถือหุ้นบางส่วนจะถูกเป็นของบุคคลภายนอก ทำให้โครงสร้างของผู้ถือหุ้นเดิมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งข้อนี้ก็อาจจะทำให้เจ้าของบริษัทหลายๆท่านค่อนข้างกังวลใจ
  • ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ฯ และหน่วยงานตรวจสอบอื่นๆ ซึ่งมักมีความยุ่งยาก และมีต้นทุนเพิ่มขึ้น เช่น ค่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อให้คำแนะนำเรื่องการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และปรับโครงสร้างของบริษัทให้เหมาะสม ค่าจ้างผู้ตรวจสอบภายในหรือเพิ่มหน่วยงานตรวจสอบภายในเพื่อตรวจสอบระบบการปฎิบัติงานให้เป็นมาตรฐานอยู่เสมอ และตรวจสอบระบบการควบคุมภายใน และค่าจ้างผู้ตรวจสอบบัญชี เพื่อตรวจสอบงบการเงินของบริษัทว่าได้จัดทำขึ้นอย่างเป็นมาตรฐานหรือไม่
  • บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลภายในเพิ่มมากขึ้น ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ
  • สูญเสียความอิสระในการบริหารงานและการตัดสินใจ เนื่องจากมีกรรมการอิสระ ผู้ตรวจสอบบัญชี และหน่วยงานอื่นๆ ที่คอยกำกับดูแลการดำเนินกิจการ นั้นหมายความว่า ความอิสระในการตัดสินใจที่จะกระทำการใดๆ ซึ่งเจ้าของบริษัทอาจเคยทำได้มาก่อนหน้า อาจจะทำไม่ได้เลย หรืออาจจะทำให้ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้
  • อาจมีเสี่ยงต่อการถูก Takeover

ข้อเสียทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ อ่านดูแล้วก็น่าหวั่นใจ และอาจส่งผลให้บุคคลากร และระบบงานในองค์กรต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือกันเลยทีเดียว แต่เราก็เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้องค์พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและทำให้บริษัทเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

สำหรับใครที่อยากนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว ลองอ่านบทความ อยากนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (IPO) ต้องทำอย่างไร

ในบทความจะสรุปกระบวนการและต้นทุนในการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์  สำหรับท่านผู้จัดตั้งกิจการใหม่  ก้าวแรกของการเติบโตทางธุรกิจ

การดำเนินการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน หรือจะเป็นบริษัทจำกัด นั้นคงจะเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและยุ่งยาก แต่ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นเป็นก้าวแรกของการเติบโตทางธุรกิจ ให้เราเป็นคู่คิด ร่วมสร้างธุรกิจคุณให้เติบโต

อ้างอิง : https://www.asiasmartconsulting.co.th/ตัดสินใจนำบริษัทเข้าตล/

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart