งบการเงิน ทำอย่างไรให้ถูกต้อง

งบการเงิน ทำอย่างไรให้ถูกต้อง

 

งบการเงิน ทำอย่างไรให้ถูกต้อง

ในการจัดทำงบการเงินนักบัญชีส่วนใหญ่สามารถทำได้อยู่แล้ว แต่ทำอย่างไรให้ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่น่าคิด เพราะบางทีเราอาจจะทำงบการเงินตามความเคยชิน ในขณะที่กฎเกณฑ์ และหลักการในการทำงบนั้นมีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เรารู้สึกว่าถูกในอดีต อาจจะผิดในปัจจุบันก็เป็นได้

งบการเงินประกอบด้วยอะไรบ้าง

งบการเงินนั้น ในภาพรวมก็คือ สิ่งที่แสดงข้อมูลอันเป็นผลจากการประกอบธุรกิจของกิจการ ในแต่ละปีที่ผ่านไป ผู้ประกอบการคงอยากรู้ว่าทำธุรกิจมาแล้วผลเป็นอย่างไรบ้าง งบการเงินนี่แหละจึงเป็นคำตอบสำหรับคำถามนี้ ซึ่งงบการเงินแต่ละแบบจะมีลักษณะเฉพาะตัวเพื่อที่จะอธิบายผลจากการประกอบการธุรกิจที่แตกต่างกันไป

 

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

บริษัทจำกัด (NPAEs)

หน้ารายงาน TA/CPA

มี

มี

งบแสดงฐานะการเงิน

มี

มี

งบกำไรขาดทุน

มี

มี

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ

มี

งบกระแสเงินสด

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

มี

มี

 

จากองค์ประกอบของงบการเงินที่เราสรุปมาให้ข้างต้น เรายกตัวอย่างกิจการสุดฮิตสองประเภท คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ บริษัทจำกัดที่ใช้มาตรฐานรายงานทางการเงิน TFRS for NPAEs

 

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

งบการเงินที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย หน้ารายงานผู้สอบบัญชี (CPA) ยกเว้นกรณีห้างหุ้นส่วนขนาดเล็ก ที่เข้าเงื่อนไขดังนี้

  • ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท
  • สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
  • รายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท

ห้างหุ้นส่วนจำกัดขนาดเล็กนี้ ไม่จำเป็นต้องให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ (CPA) เซ็นรับรองงบแต่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบบัญชีดดยผู้ตรวจสอบ และรับรองบัญชีภาษีอากรหรือเรียกง่ายๆ ว่า TA

 

บริษัทจำกัด

งบที่ครบถ้วนสมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ

  • หน้ารายงานผู้สอบบัญชี (CPA) เท่านั้น
  • งบแสดงฐานะการเงิน
  • งบกำไรขาดทุน
  • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ
  • หมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

ข้อสังเกตในการจัดทำงบการเงิน

  1. งบแสดงฐานะการเงิน

คือ งบที่แสดงฐานะว่ากิจการนั้นมีกำไรหรือขาดทุน ณ วันสิ้นงวด เช่น กิจการมีสินทรัพย์เท่าไร หนี้สินเท่าไร และเหลือที่เป็นส่วนของเจ้าของเท่าไร

สินทรัพย์หมุนเวียน

  • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด : ต้องระวัง เงินฝากธนาคารที่มีภาระผูกพันและเงินเบิกเกินบัญชี จะไม่ได้จัดอยู่ในประเภทนี้ เงินฝากธนาคารที่มีภาระผูกพันจะอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และเงินเบิกเกินบัญชี จะต้องอยู่ในหนี้สินหมุนเวียน
  • ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น : สิ่งที่ต้องระวัง คือ การจัดประเภทลูกหนี้อื่นว่าตรงตามนิยามรายการย่อที่ต้องมีของกรมพัฒนาธุรกิจหรือไม่ เช่น รายการค่าใช้จ่ายล่วงหน้า รายได้ค้างรับ ต้องจัดประเภทเป็นลูกหนี้อื่น
  • สินค้าคงเหลือ : ข้อผิดพลาดบ่อยๆ คือ การเปิดเผยนโยบายบัญชีให้ครบถ้วน และกิจการที่จดVAT ต้องทำรายงานสินค้าคงเหลือ และรายงานนี้ต้องตรงกันกับยอดที่แสดงในหน้างบการเงินด้วย

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

  • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน : คนส่วนใหญ่มักจัดประเภทผิด เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ แต่หากมีตึกให้เช่า ที่ให้เช่าเพื่อสร้างรายได้กระแสเงินสด ให้กิจการ อสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ต้องจัดเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
  • ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ : อยากให้สังเกตุว่าหมายเหตุประกอบงบการเงินเปิดเผยรายการครบถ้วนหรือไม่ เช่น นโยบายการบัญชีจะต้องเปิดเผยวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาว่าเป็นวิธีใด และอายุการใช้งานของสินทรัพย์เหล่านั้นว่ามันเป็นเท่าใด

 

หนี้สินหมุนเวียน

  • เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น : เจ้าหนี้การค้า ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องการจัดประเภท แต่ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดประเภทเจ้าหนี้อื่น เช่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย รายได้รับล่วงหน้า รายการเหล่านี้ไม่ใช่หนี้สินหมุนเวียนอื่นแต่เป็นเจ้าหนี้อื่นตามนิยามของรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน ต้องระมัดระวังตรงนี้ดี ๆ

 

หนี้สินไม่หมุนเวียน

  • ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน : เป็นรายการที่กิจการส่วนใหญ่ต้องมี แต่รายการนี้ชอบหายไปหน้างบซะงั้น ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า เราอาจจะลืมประเมินภาระผูกพันหนี้สินผลประโยชน์พนักงานตามที่กฏหมายแรงงานกำหนดนั้นเอง

 

ส่วนของผู้ถือหุ้น

  • ทุนที่ชำระแล้ว : ทุนจดทะเบียนแต่รับชำระยังไม่ครบได้แสดงอย่างถูกต้องหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น จดทะเบียน 1 ล้านบาท แต่ชำระกันจริงถึง 1 ล้านหรือเปล่า ต้องเช็คกันดี ซึ่งข้อมูลตรงนี้ต้องสัมพันธ์กันแบบ บอจ.5
  • ทุนสำรองตามกฏหมาย : ถ้าคิดจะจ่ายปันผล อย่าลืมดูว่าเราคำนวณการสำรองตามกฏหมายหรือยัง และจะต้องแยกแสดงรายการเป็นอีกหนึ่งบรรทัดให้ถูกต้องด้วย

 

  1. งบกำไรขาดทุน

จริงๆ การทำงบกำไรขาดทุนนั้น ไม่ซับซ้อนเท่าไหร่ หากเลือกที่จะทำงบกำไรขาดทุน แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่

  • รายได้จากการขายหรือการให้บริการ: อย่าลืมแยกประเภทรายได้จากการขายออกจากการให้บริการถูกต้อง และแยกบรรทัดหากมีมูลค่าสูง เพื่อให้ผู้ใช้งบตัดสินใจได้ถูกต้อง
  • ต้นทุนและค่าใช้จ่าย : ถ้าเป็นต้นทุนขาย ต้องเกี่ยวข้องกับสินค้าคงเหลือ แต่หากเป็นค่าใช้จ่ายทั่วไป จะเอามาใส่รวมในต้นทุนไม่ได้ เพราะหากทำงบแบบนี้ อัตราส่วนกำไรขั้นต้นจะเพี้ยนนั้นเอง
  • ต้นทุนทางการเงิน : หรือก็คือ ดอกเบี้ยจ่ายนั้นเอง อย่าลืมแยกออกมาแสดงให้ถูกต้อง เพราะ หลายๆ กิจการมีการกู้ยืมเงินจากธนาคารหรือเงินเบิกเกินบัญชี

 

ในส่วนนี้ก็จะเป็นข้อสังเกตคร่าว ๆ สำหรับการจัดทำงบการเงินสุดฮิต ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด ที่นักบัญชีต้องรู้ การจัดทำงบการเงินนั้นทำได้ไม่ยาก แต่ถ้าอยากทำงบการเงินอย่างถูกต้องและมีคุณภาพก็ต้องระมัดระวังเรื่องเหล่านี้ด้วย

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : งบการเงิน ทำอย่างไรให้ถูกต้อง

อ้างอิง : https://thaicpdathome.com/article/detail/68/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart