ภาระภาษีสัญญารับขนคนโดยสาร ภายในประเทศ
ประเภทเงินได้ | เงินได้ประเภทที่ 8 (ประมวลรัษฐากร มาตรา 40(8)) |
ภาษีเงินได้นิติบุคคล | 1. กรณีเป็นผู้ให้บริการ (ผู้ขนส่ง) ค่าโดยสาร รวมถึงค่าธรรมเนียมและ
ประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจากการขนส่งที่ได้รับหรือพึงได้รับ ต้องเสีย ภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ 2. กรณีเป็นผู้รับบริการ สามารถนำรายจ่ายค่าขนส่งไปหักออกจาก รายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด |
ภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดา | 1. สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 60 หรือหัก
ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้ 2. เงินได้ (ค่าโดยสาร) ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ต้องนำมารวมคำนวณและเสียภาษีครึ่งปีตามแบบ ภ.ง.ด.94 ภายใน วันที่ 30 กันยายนของปีเดียวกัน 3. เงินได้ (ค่าโดยสาร) ที่ได้รับทั้งปีต้องนำมารวมคำนวณและ เสียภาษีประจำปีตามแบบ ภ.ง.ด.90 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป |
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย | 1. กรณีบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นจ่ายค่าขนส่ง
ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 2. กรณีบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นจ่ายค่าขนส่ง ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย (ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม) มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา ร้อยละ 1 ยกเว้น การจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ ผู้จ่ายเงินได้ (ค่าโดยสาร) ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย |
ภาษีมูลค่าเพิ่ม | ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม |
อากรแสตมป์ | ไม่เสียอากรแสตมป์ |
อ้างอิง : สัญญารับขนคนโดยสาร (ภายในประเทศ) และภาระภาษี (dst.co.th)