ภาษีเครื่องดื่ม
ภาษีเครื่องดื่ม
ภาษีเครื่องดื่ม เป็นภาษีสรรพสามิตชนิดหนึ่งที่จัดเก็บจากเครื่องดื่มโดยกรมสรรพสามิต เนื่องจากเป็นสินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นโดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527
ผู้เสียภาษี
- ผู้ประกอบอุตสาหกรรม
- ผู้นำเครื่องดื่มเข้ามาในราชอาณาจักร
ลักษณะของสินค้า
เครื่องดื่ม หมายความว่า สิ่งซึ่งตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่มได้โดยไม่ต้องเจือปนและไม่มีแอลกอฮอล์ โดยจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม อันบรรจุในภาชนะและผนึกไว้ เช่น น้ำแร่ น้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำพืชผัก และน้ำโซดา เป็นต้น และให้หมายความรวมถึงเครื่องดื่มที่ทำหรือบรรจุหรือได้จากเครื่องขายเครื่องดื่มไม่ว่า จะขายด้วยวิธีใด แม้จะไม่ได้บรรจุภาชนะและผนึกไว้ ซึ่งสามารถแบ่งตามประเภทได้ดังนี้
- โซดา
- เครื่องดื่มทั่วไป
- น้ำผลไม้ ซึ่งแยกย่อยเป็น น้ำผลไม้ทั่วไป และน้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมตามที่กรมสรรพสามิตกำหนด
ไม่รวมเครื่องดื่มจำพวก
- น้ำ หรือน้ำแร่ตามธรรมชาติ
- น้ำกลั่น หรือน้ำกรองสำหรับดื่มโดยไม่ปรุงแต่ง
- เครื่องดื่มซึ่งผู้ผลิตได้ผลิตขึ้นเพื่อขายปลีกเองโดยเฉพาะ อันมิได้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ด้วย ทั้งมิได้สงวนคุณภาพด้วยเครื่องเคมี
- น้ำนมจืด น้ำนมอื่นๆ ไม่ว่าปรุงแต่งหรือไม่ ทั้งนี้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยอาหาร
- เครื่องดื่มตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
อัตราภาษี
โดยปกติ อัตราภาษีเครื่องดื่มจะกำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 เป็นหลัก แต่ก็มีกฎหมายอื่นลดอัตราภาษี รวมถึงยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าบางรายการด้วย ซึ่งมักอยู่ในรูปประกาศกระทรวงการคลัง โดยหน่วยตามปริมาณจะคิดเป็นทุกๆ 440 ซี.ซี. และเศษที่เกินให้นับเป็น 440 ซี.ซี. ซึ่งสามารถสรุปอัตราภาษีได้ดังนี้
รายการ |
อัตราจัดเก็บ |
|
ตามมูลค่าร้อยละ |
ตามปริมาณ |
|
1.โซดา |
25 |
0.77 บาท/440 ซี.ซี. |
2.เครื่องดื่มทั่วไป |
20 |
0.37 บาท/440 ซี.ซี |
3.น้ำผลไม้
-น้ำผลไม้ทั่วไป -น้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมตามที่กรมฯ กำหนด |
20 -ยกเว้น- |
0.37 บาท/440 ซี.ซี. -ยกเว้น- |
เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ภาษีเครื่องดื่ม
อ้างอิง : http://taxone.excise.go.th/projects/1/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1