ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์
มีเงินในบัญชีเท่าไหร่ ถึงเริ่มโดนภาษีดอกเบี้ย
เราจะเริ่มภาษีดอกเบี้ยเมื่อได้ดอกเบี้ยเกิน 20,000 (กรณียินยอมส่งข้อมูลให้สรรพากร) ซึ่งเงินในบัญชีเท่าไหร่ที่จะโดนนั้นขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยที่เราได้รับ หรือบัญชีนั้นจ่ายตามตารางด้านล่างนี้เลย
มูลค่าเงินฝาก | อัตราดอกเบี้ย | ดอกเบี้ย |
4,000,000 | 0.50% | 20,000 |
2,666,667 | 0.75% | 20,000 |
1,666,667 | 1.20% | 20,000 |
1,333,333 | 1.50% | 20,000 |
1,250,000 | 1.60% | 20,000 |
1,000,000 | 2% | 20,000 |
ถ้าสรรพากรเก็บภาษีตั้งแต่บาทแรก เราจะเสีบภาษีเท่าไหร่
ถ้าสรรพากรเริ่มเก็บภาษี ดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาท เราจะถูกหัก “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” ตั้งแต่บาทแรกที่ได้ดอกเบี้ยมาในอัตรา 15% ทันที โดยหากใช้อัตราดอกเบี้ยธนาคารเฉลี่ยในปัจจุบันที่ 0.75% ต่อปี จะได้ผลตามตารางด้านล่างนี้
มูลค่าเงินฝาก
ออมทรัพย์ |
อัตราดอกเบี้ย | ได้รับดอกเบี้ย
|
คิดภาษีแบบ
ยกเว้น 20000 บาทแรก |
คิดภาษีตั้งแต่บาทแรก |
50,000 | 0.75% | 375 | – | 56.25 |
100,000 | 0.75% | 750 | – | 112.5 |
200,000 | 0.75% | 1,500 | – | 225 |
500,000 | 0.75% | 3,750 | – | 562.5 |
1,000,000 | 0.75% | 7,500 | – | 1,125 |
2,000,000 | 0.75% | 15,000 | – | 2,250 |
5,000,000 | 0.75% | 37,500 | 5,625 | 5,625 |
ทำไมสรรพากรต้องเก็บภาษีตั้งแต่บาทแรก แม้ผลกระทบจะไม่ได้เยอะ
เนื่องจากธนาคารหรือบุคคลที่พยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเป็นจำนวนมาก โดยทำการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ให้ได้รับดอกเบี้ยตามปกติ พอเมื่อดอกเบี้ยสะสมใกล้เกิน 20,000 บาท ก็จะทำการปิดบัญชีรับดอกเบี้ยสะสมไป และทำการเปิดบัญชีใหม่ เพื่อให้ยอดเงินในบัญชีในส่วนของดอกเบี้ยนั้นไม่ถูกนับเกิน 20,000 บาท ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ถือเป็นการหลบเลี่ยงภาษี
เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้สรรพากรจึงปรับเปลี่ยนวิธีจากการหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นหักทุกบัญชีที่ไม่ส่งข้อมูลมาให้สรรพากร ส่วนบัญชีที่ลงทะเบียนยินยอมส่งข้อมูลจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีดอกเบี้ย กรณีดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาท
ประชาชนส่วนใหญ่นั้นแทบจะไม่ได้รับผลกระทบเลย เรื่องนี้ถูกออกแบบมาเก็บภาษีกับคนที่มีเงินเยอะ และจงใจหลบเลี่ยงภาษีนั้นเอง
หากลงทะเบียนยินยอมไม่ทันก็ยังสามารถนำไปรวมรายได้เสียภาษีสิ้นปีได้
เนื่องจากภาษีดอกเบี้ยนั้นเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย จึงสามารถเลือกนำไปยื่นรวมกับรายได้เพื่อนำไปคำนวณรวมเสียภาษีตอนสิ้นปีได้ ดังนั้นหากใครที่มีรายได้ ฐานต่ำกว่า 15% และมีดอกเบี้ยไม่สูงมาก หากเรานำดอกเบี้ยที่เราได้ไปยื่นรวมกับรายได้ตอนสิ้นปีของเรา อาจได้เงินคืนภาษีมา ณ สิ้นปี แต่ก็จะเสียผลประโยชน์ยกเว้นภาษีกรณีดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาทไป ดังนั้นหากใครได้รับดอกเบี้ยน้อยอยู่แล้วควรลงทะเบียนยื่นข้อมูลให้๔กต้องนั้นเอง
เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์
อ้างอิง : สรุป ภาษีดอกเบี้ยใหม่ เงินฝากออมทรัพย์ – Money Buffalo