การทำลายสินค้า ไม่ใช่ว่าอยากทำก็ทำได้

การทำลายสินค้า ไม่ใช่ว่าอยากทำก็ทำได้

การทำลายสินค้า ไม่ใช่ว่าอยากทำก็ทำได้

ทำไมต้องทำลายสินค้า ?

  1. สินค้าที่ถูกทำลายไม่ถือเป็นการขาย จึงไม่ถือเป็นภาษีขาย
  2. เมื่อทำลายสินค้า นิติบุคคลมีสิทธิ์นำต้นทุนของสินค้าที่ถูกทำลายมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ทำลายสินค้า

*แต่การทำลายสินค้าจะต้องถูกต้องตามที่สรรพากรกำหนด

พิจารณาสินค้าที่ต้องทำลาย

  • สินค้าที่ต้องทำลายเป็นสินค้าที่เน่าเสียได้ เช่นผลิตภัณฑ์อาหาร เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น สามารถทำลายได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งสรรพากร
  • สินค้าที่ต้องการทำลายเป็นสินค้าเก็บรักษาได้ รอปริมาณเยอะค่อยทำลายทีเดียว เมื่อจะทำลายสินค้าจะต้องแจ้งการทำลายให้สรรพากรพื้นที่หรือสรรพากรจังหวัดทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันทำลายสินค้า

ขั้นตอนการทำลายสินค้าที่ถูกต้อง

1.ตรวจสอบสินค้าว่าเสียหายจริงหรือไม่ตามระเบียบของบริษัท ส่งให้ผู้มีอำนาจอนุมัติว่าเสียตามที่ระเบียบบริษัทกำหนด

2.กรณีที่สินค้าได้รับคืนมาจากลูกค้า บริษัทจะต้องเก็บหลักฐานการรับคืน เอกสารดังกล่าวจะต้องระบบ

  • วันที่รับคืนสินค้า
  • สาเหตุการรับคืน
  • ชนิดสินค้า และปริมาณ
  • เลขที่อ้างอิงการสั่งซื้อสินค้าชนิดนั้น

3.เมื่อได้รับอนุมัติให้ทำลาย จะมีผู้เข้าร่วมการทำลายสินค้าอย่างน้อยดังนี้ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขายหรือฝ่ายตรวจสอบ (ถ้ามี) พร้อมผู้ตรวจสอบบัญชี เมื่อทำลายเสร็จ ให้ทุกคนลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำลายสินค้า

 

อ้างอิง : https://www.iliketax.com/การทำลายสต็อก-ไม่ใช่อยา/

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart