ข้อแตกต่างของบริษัทจำกัด และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด
บริษัทจำกัด และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีความแตกต่างกันอย่างไร??
ยังคงเป็นคำถามที่เรียกว่า อยู่ในระดับท็อปฮิตติดชาร์ตอยู่เสมอ ๆ เมื่อผู้ประกอบการมีความคิดที่จะขยายธุรกิจจากบุคคลธรรมดา เป็นนิติบุคคล โดยมีความประสงค์จะทำธุรกิจหนึ่ง ๆ หรือหลาย ๆ อย่าง ก็ตาม คำถามแรก ๆ ที่มักจะถามที่ปรึกษากันอยู่เสมอ ๆ ก็คือ จะตั้งรูปแบบนิติบุคคลในลักษณ์แบบใดดี ระหว่างการจดจัดตั้งบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด และแบบไหนที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนเองที่สุด ลองมาอ่านบทความนี้ มีคำตอบให้
6 สิ่งที่ต้องคำนึงถึงระหว่างการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- จำนวนร่วมลงทุน (จำนวนผู้ถือหุ้น หรือผู้ก่อตั้ง)
- บริษัทจำกัด : จะต้องมีผู้ร่วมลงทุน หรือผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คน
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด : จะต้องมีผู้ร่วมลงทุนหรือหุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป
- การลงทุน
- บริษัทจำกัด : การลงทุนสำหรับการจดทะเบียนบริษัทนั้น จะเป็นลักษณะของ ทุนเรือนหุ้น (Capital stock) โดยที่ผู้ลงทุนจะต้องแบ่งทุนออกเปนหุ้น แต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่าๆกัน (มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท) และจะต้องเป็นการลงหุ้นด้วยเงินเท่านั้น
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด : สามารถลงทุนด้วยเงินทรัพย์สินและแรงงาน เป็นทุนจดทะเบียนได้
- ความรับผิดในหนี้สิน
- บริษัทจำกัด : เนื่องจากความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด ผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุนจะรับผิดชอบเฉพาะเงินลงทุนในหุ้นที่ยังไม่ได้ชำระเท่านั้น
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด : จะแบ่งความรับผิดชอบออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
3.1 หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบ (หุ้นส่วนผู้จัดการ) รับผิดชอบไม่จำกัดจำนวน
3.2 หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบ (หุ้นส่วนทั่วไป) รับผิดชอบเท่าจำนวนหุ้นที่ลงไป
- ค่าธรรมเนียม
- บริษัทจำกัด : มีค่าธรรมเนียมในการจัดตั้ง 5,000บาท
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด : ค่าธรรมเนียมในการจัดตั้ง 1,000 บาท
- การประชุมสามัญประจำปี
- บริษัทจำกัด : จะต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นทุกปี
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด : ไม่ต้องประชุมหุ้นส่วนประจำปี (ก็ได้)
- การปิดงบประจำปี
- บริษัทจำกัด : ผู้ที่สามารถเซ็นปิดงบได้ จะต้องเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ (CPA) เท่านั้น
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด : ผู้ที่สามารถเซ็นปิดงบ จะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) หรือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ก็ได้
ข้อดี
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- ระดมทุนจากแหล่งอื่นได้ง่าย มั่นคงและน่าเชื่อถือกว่าเจ้าของคนเดียว
- การจัดตั้งไม่ยุ่งยาก การรวมหุ้นมีสัญญาต่อกันที่ไม่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
- หุ้นส่วนที่รับผิดชอบไม่จำกัดต้องเอาใจใส่การดำเนินงานคล้ายกิจการของตนเอง มีอิสระในการบริหาร
- เมื่อปิดรอบงบการเงิน สามารถหาผู้เซ็นรับรองงบการเงินได้ง่าย เพราะจะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) หรือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ก็ได้
- ขั้นตอนการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนทำได้ง่าย
บริษัทจำกัด
- มีสภาพเป็นนิติบุคคล มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน มีสิทธิ์ดำเนินคดีในนามบริษัท
- บริษัทสามารถหาทุนเพิ่มได้โดยการขายหุ้น
- ผู้ถือหุ้นสามารถขายหรือโอนหุ้นให้กับคนอื่นได้
- กรณืผู้ถือหุ้นตาย ล้มละลาย หรือศาลมีคำสั่งให้ออกจากผู้ถือหุ้น บริษัทยังสามารถดำเนินกิจการต่อได้
- มีความน่าเชื่อถือกว่าการจัดตั้งโดยเจ้าของคนเดียว หรือห้างหุ้นส่วน การเพิ่มทุนสามารถทำได้โดยการจดทะเบียนเพิ่มทุนและออกหุ้นขาย
ข้อเสีย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น
- ถอนเงินทุนออกได้ยาก
- อายุธุรกิจถูกจำกัดด้วยชีวิตของผู้เป็นหุ้นส่วน
- หุ้นส่วนก่อหนี้สินได้ไม่จำกัด
- อาจเกิดความขัดแย้งในหมู่ผู้ร่วมหุ้น
- ไม่จำกัดความรับผิดชอบของหุ้นส่วน ทำให้ไม่กล้าเสี่ยงขยายกิจการ
บริษัทจำกัด
- ขั้นตอนในการจัดตั้งยุ่งยาก และหน่วยงานรัฐดูแลเข้มงวด
- เมื่อปิดรอบงบการเงิน สามารถหาผู้เซ็นรับรองงบการเงินได้ง่าย เพราะจะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) เท่านั้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการบริหารสูงกว่า
- ต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป
- ความลับเปิดเผยได้ง่าย
- บางครั้งบริษัทอาจต้องจ้างมืออาชีพจากภายนอกเข้ามา ทำให้ขาดความตั้งใจ ซื่อสัตย์ และเสียสละ
- ขั้นตอนการจดทะเบียนเลิกบริษัททำได้ยากกว่า
สำหรับเรื่องภาษี อัตราภาษีอากร และการวางแผนภาษี ระหว่างบริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นประเด็นที่ผู้ประกอบการบางคน (หรือหลาย ๆ คน) กำลังอาจจะคิดว่า จะเลือกจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เพื่อช่วยวางแผนภาษีในรูปแบบไหนจะมีความได้เปรียบ หรือเสียเปรียบมากกว่ากันนั้น ถือเป็นความคิดที่ชาญฉลาดที่คิดถึงตั้งแต่ลำดับต้น ๆ เป็นสิ่งที่ดี แต่สำหรับในที่นี้เมื่อจดทะเบียนในรูปนิติบุคคลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ขอบอกเลยว่า จะไม่มีความแตกต่างกันครับ