5 รู้ สู่การวางแผนภาษี…ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง
การเสียภาษีเงินได้ถือว่าเป็นหน้าที่ของเราคนไทยทุกคนที่มีเงินได้กันเนอะ โดยเกณฑ์ของผู้ที่มีเงินได้ที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ
กรณีมีเงินเดือนอย่างเดียว :
- คนโสด มีเงินได้ตั้งแต่ 120,000 บาท,
- สมรส มีเงินได้ตั้งแต่ 220,000 บาท
และหากมีเงินได้ประเภทอื่น
- คนโสด มีเงินได้ตั้งแต่ 60,000 บาท
- สมรส มีเงินได้ตั้งแต่ 120,000 บาท
ต้องยื่นแบบฯ เพื่อเสียภาษี
ถ้าพูดถึงการวางแผนภาษี..หลายท่านอาจคิดว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก….รายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่การวางแผนภาษีถือเป็นสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ในการวางแผนการเงินของเราที่เราควรใส่ใจ เพราะการที่เรามีความรู้เรื่องภาษี จะช่วยให้เราสามารถยื่นเสียภาษีได้อย่างถูกต้องและใช้สิทธิลดหย่อนได้ครบถ้วน และยังสามารถทำให้เราประหยัดภาษี และมีเงินออมเพิ่มขึ้นได้
ซึ่งเราจะมาสรุปข้อควรรู้ในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
โดยจะแบ่งเป็น 5 หัวข้อ หลัก ๆ ดังนี้
- รู้ประเภทเงินได้
โดยเงินได้พึงประเมินได้แก่ เงิน ทรัพย์สิน / ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงินได้ เงินค่าภาษีอากรที่ผู้อื่นจ่ายแทนให้ เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด สิ่งแรกเลย คือ เราต้องรู้ว่าเงินได้ของเราเป็นประเภทไหน หักค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่
เรามาดูรายละเอียดตามตารางนี้ได้เลย
- รู้แหล่งและถิ่นเงินได้
คือ เนื่องจากมี หน้าที่การงาน กิจการที่ทำ กิจการของนายจ้าง ทรัพย์สิน หากเป็นแหล่งที่มาของเงินได้ จากในประเทศไทย ไม่ว่าผู้มีเงินได้จะมีสัญชาติไทยหรือสัญชาติอื่น ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยเสมอ
ตามหลักถิ่นเงินได้จากต่างประเทศ ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย
โดยต้องเข้าเงื่อนไข 2 ข้อนี้ คือ
- ผู้มีเงินได้เป็น “ผู้อยู่ในประเทศไทย” ในปีภาษีนั้น
- ผู้มีเงินได้นำเงินได้เข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้น
ผู้อยู่ในประเทศไทย หมายถึง ผู้ที่อยู่ในประเทศไทยระยะเวลาหนึ่งหรือรวมกันทั้งหมด 180 วันในปีเดียวกัน หากอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 180 วัน จะไม่ถือว่าเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย จึงไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- รู้สิทธิลดหย่อน
คือ สิทธิที่เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ตามที่กรมสรรพากรกำหนด หากเรารู้ว่ามีสิทธิอะไรบ้าง จะสามารถช่วยให้เราใช้สิทธิได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ดังรายละเอียดตามตารางนี้
- รู้แบบภาษีเงินได้
เงินได้บุคคลธรรมดาประเภทใด ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีแบบไหน และกำหนดยื่นแบบเมื่อไหร่ โดยรายละเอียดได้สรุปตามตารางดังนี้
- รู้อัตราภาษี
เงินได้สุทธิ = เงินได้ทั้งหมด – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนต่างๆ
คำนวณเงินได้สุทธิ เพื่อคำนวณเสียภาษีเงินได้ โดยเราสามารถคำนวณเงินได้ของเราว่าอยู่ในอัตราภาษีที่ต้องเสียเท่าไหร่ ได้ตามตารางนี้
ตัวอย่างการคำนวณ เช่น เงินได้สุทธิ (เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) = 1,500,000 บาท
- เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 บ. เสียภาษี 20%
- เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บ. เสียภาษี 25%
โดยคำนวณแบ่งเป็น 2 ส่วน
- ส่วนเงินได้ 1,000,000 บาทแรก อัตราภาษี 20% เสียภาษี 115,000 บ.
- ส่วนเกิน 1,000,000 บาท คือ 500,000 บาท เสียภาษีอัตรา 25% เสียภาษี 125,000 บ.
- รวมภาษีที่ต้องชำระ 115,000 + 125,000 = 240,000 บาท
บทสรุป การวางแผนภาษีทั้ง 5 ข้อนี้ คงจะพอเป็นแนวทางสำหรับทุกท่านในการวางแผนภาษีกันน้า โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th