5 จุดเสี่ยงปมปัญหาทางภาษีจากการเพิ่มทุน – ลดทุน

5 จุดเสี่ยงปมปัญหาทางภาษีจากการเพิ่มทุน – ลดทุน

การเพิ่มทุน คือ การระดมเงินทุนเข้ามาเพิ่มในบริษัทโดยการออกหุ้นทุนหลังจากที่ขายหุ้นทุนที่จดทะเบียนไว้เดิมจนหมด

ส่วนการลดทุน คือ การลดมูลค่าส่วนทุนของเจ้าของเดิม การลดทุนส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อบริษัทเกิดการขาดทุนเป็นเวลานานและไม่สามารถลบล้างผลขาดทุนออกได้ ซึ่งอาจทำในรูปลดมูลค่าหุ้นหรือลดจำนวนหุ้น

ทำไมบริษัทต้องเพิ่มทุน-ลดทุน
    >>> เพิ่มทุน การเพิ่มทุนเป็นการที่บริษัทต้องการเงินไปดำเนินกิจการซึ่งบริษัทอาจหาเงินจากแหล่งต่างๆ เช่น กู้ธนาคาร หรือออกหุ้นกู้แต่จะมีภาระดอกเบี้ยจ่าย หรือบางกรณีบริษัทมีอัตราหนี้สินจำนวนมากไม่สามารถไปกู้เงินได้ ดังนั้นการเพิ่มทุนจึงเป็นทางเลือกที่จะนำเงินมาใช้ดำเนินกิจการต่อซึ่งผู้ถือหุ้นต้องติดตามว่านำเงินเพิ่มทุนไปใช้ดำเนินกิจการในเรื่องใดบ้างและเกิดประโยชน์อย่างใด อย่างไรก็ตามการเพิ่มทุนจะส่งผลให้กำไรต่อหุ้นลดลง

   >>> ลดทุน การลดทุนเป็นการบริหารเงินทุนของบริษัทให้เกิดความเหมาะสมอาจด้วยเหตุผลที่มีเงินทุนเกินกว่าความจำเป็นจึงจะลดทุนเพื่อคืนเงินให้แก่ผู้ถือหุ้น หรืออีกเหตุผลหนึ่งคือกิจการมีขาดทุนสะสมอยู่ทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้จึงลดทุนมาล้างขาดทุนสะสมซึ่งกรณีนี้จะไม่มีเงินคืนผู้ถือหุ้น

วิธีการเพิ่มทุนหรือลดทุน

บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนสามารถกระทำได้ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติของประมวล

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์และพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนตามลำดับโดยที่การเพิ่มทุนหรือลดทุนของแต่ละบริษัทก็จะมีวัตถุประสงค์ในการนำเงินเพิ่มทุนมาใช้หรือลดทุนแตกต่างกันไปซึ่งเมื่อมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนหรือลดทุนอย่างถูกต้องตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นแล้วอาจมีประเด็นภาษีตามกฎหมายอีกฉบับหนึ่งคือประมวลรัษฎากรที่ควรจะได้คำนึงถึงในหลายๆ ประเด็น

การเพิ่มทุน–ลดทุนกับ 5 กรณีประเด็นภาษี
5 จุดเสี่ยง การที่บริษัทมีการเพิ่มทุน-ลดทุนจะมีเรื่องประเด็นภาษีเกี่ยวข้องโดยสรุปได้ 5 กรณี ดังนี้คือ
1. การเพิ่มทุนแต่มิได้มีการชำระหุ้นเพิ่มทุนตามที่จดทะเบียนไว้
2. การเพิ่มทุนที่มีการชำระหุ้นเพิ่มทุนล่วงหน้า
3. การเพิ่มทุนและมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้น
4. การลดทุนกับต้นทุนหุ้นที่ขาย
5. การเพิ่มทุนเพื่อการชำระหนี้

ในแต่ละกรณีมีประเด็นข้อเท็จจริงที่ถูกนำมาพิจารณาประกอบกับข้อกฎหมายในประมวลรัษฎากรแล้วอาจส่งผลกระทบให้ถูกประเมินรายได้ทางภาษีเพิ่มขึ้นหรือถูกถือเป็นรายจ่ายทางภาษีไม่ได้โดยมิได้คาดคิดทำให้ต้องเสียภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่มได้

ผลกระทบทางภาษีของการเพิ่มทุน–ลดทุน ทั้ง 5 กรณีข้างต้นดังกล่าว จะเห็นได้ว่าจะต้องระมัดระวังเจตนาที่แท้จริง
การเพิ่มทุนหรือลดทุนต้องทำเพื่อมุ่งหวังในการดำเนินกิจการของบริษัทฯ ต่อไปในอนาคตไม่ได้มีเจตนาที่จะให้เงินช่วยเหลือสนับสนุนหรือยกหนี้ให้เพื่อหลีกเลี่ยงประเด็นภาษีไม่เช่นนั้นจะมีผลกระทบทางภาษีของการถูกประเมินรายได้หรือไม่ให้หักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้จึงต้องระมัดระวังให้ความสำคัญด้วย

 

บางส่วนจากบทความ “5 จุดเสี่ยงปมปัญหาทางภาษีจากการเพิ่มทุน – ลดทุน”

อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน… วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 466 เดือน กรกฎาคม 2563

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart