5 ความเข้าใจผิดเรื่องการยื่นภาษี

5 ความเข้าใจผิดเรื่องการยื่นภาษี

5 ความเข้าใจผิดเรื่องการยื่นภาษี

1.รายได้ไม่เกิน 150,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษี

เรื่องนี้กฏหมายไม่ได้กำหนดว่าไม่ต้องยื่นภาษี จริง ๆ แล้วส่วนที่ไม่ต้องเสียภาษีคือ เงินได้สุทธิ 150,000 บาทตะหาก ที่ไม่ต้องเสียภาษี

แล้วเงินได้สุทธิเนี่ยคิดยังไง? ก็คิดมาจาก

รายได้ทั้งปี – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

ขอยกตัวอย่าง คุณเป็นคนโสดและมีรายได้ทั้งปี 120,000 บาท คุณก็จะมีค่าลดหย่อนเบื้องต้น 60,000 บาท นั่นหมายความว่า เงินได้สุทธิของคุณก็จะเท่ากับ 60,000 บาท คุณก็จะอยู่ในอัตราที่ไม่ต้องเสียภาษี

  • ถ้าคุณไม่ต้องเสียภาษี ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษีใช่หรือไม่

คำตอบคือยังไงคุณก็ต้องยื่นภาษี ด้วยสาเหตุอยู่สองอย่างด้วยกันคือ

1.สรรพากรจะได้ทราบเงินได้แต่ละปีของคุณซึ่งสามารถนำข้อมูลของคุณไปสะท้อนรายได้ในปีต่อ ๆ ไปได้

2.รัฐบาลสามารถเอาข้อมูลของคุณไปเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เศรษฐกิจของประเทศได้

  • ถ้าไม่ยื่นภาษีจะเป็นอะไรไหม

เอาจริง ๆ ถ้าคุณไม่ยื่นภาษีก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ถ้าคุณมีรายได้สุทธิไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี แล้วสรรพากรเชิญคุณ เขาก็อาจจะแค่ปรับค่าไม่ยื่นแบบ 200 บาท ซึ่ง สรรพากรก็คงจะไม่เสียเวลามานั่งคุยกับคุณด้วยเงิน 200 แน่นอน

2.ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว ถือว่าฉันยื่นภาษีแล้ว

หลายคนเข้าใจว่า “ฉันถูกหักภาษีไว้แล้ว ฉันยื่นภาษีแล้ว”

แท้ที่จริงแล้วการถูกหักภาษีมันคือการจ่ายภาษีไว้ล่วงหน้า

หน้าที่เราคือการเอารายได้ทั้งหมดในปีนั้น มาคำนวณภาษี แล้วเสียภาษีเท่าไหร่ค่อยเอาภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาหักออก

สมมุติว่า คำนวณภาษีแล้วต้องเสียภาษี 10,000 แล้วปีที่ผ่านมา ถูกหักภาษีไว้ 5,000 นั่นหมายความว่า เราจะต้องจ่ายเพิ่มแค่ 5,000 บาท ใครที่เคยขอคืนภาษีแล้วได้คืนภาษีจะเข้าใจได้ทันที ว่าภาษีที่ถูกหัก เป็นภาษีที่เราได้จ่ายล่วงหน้าแล้วนั่นเอง

หลายคนเข้าใจว่าถูกหักภาษีแล้วจบ จริง ๆ แล้วคือจุดเริ่มต้นเลย เพราะว่าเมื่อไหร่ที่เราถูกหัก สรรพากรก็จะมีข้อมูลทันทีว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ แล้วเราต้องยื่นภาษีเท่าไหร่

3.มนุษย์เงินเดือนมีรายได้หลายทาง ยื่นภาษีเฉพาะเงินเดือนได้หรือไม่

ตอบแบบฟันธงได้เลยว่า ต้องเอาเงินได้ทั้งหมดมารวมคำนวณในการยื่นภาษี มีเฉพาะบางตัวที่เป็น เงินปันผล กองทุนรวม กับ ดอกเบี้ยต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเอามายื่นภาษี หรือหากใครที่ถูกหักเงินได้พวกเงินปันผลหรือดอกเบี้ย เยอะ ก็สามารถนำมารวมคำนวณภาษีเพื่อขอคืนก็ได้ ถือเป็นทางเลือกของเรา

4.ยื่นภาษีต้องส่งเอกสารให้สรรพากรยังไง

ในประเทศไทย วิธีการที่เรายื่นภาษีเรียกว่าวิธีประเมินตนเอง เรากรอกแค่ตัวเลขผ่าน internet ได้เลย ถ้าหากเจ้าหน้าที่มีข้อสงสัยเขาจะขอเอกสารทีหลัง หรือประเมินเราทีหลัง เจ้าหน้าที่จะขอเอกสารก็ต่อเมื่อเราขอคืนภาษีแล้วเขาต้องการเอกสารเพิ่มเติม หรือเรายื่นภาษีไม่ถูกต้อง

5.ถ้าไม่สมัครพร้อมเพย์จะไม่ได้คืนภาษีใช่ไหม

ไม่ใช่ การสมัครพร้อมเพย์เพียงแค่ทำให้เราสามารถได้คืนภาษีได้ไวขึ้นเท่านั้น ซึ่งในปี 62 สำหรับคนที่ไม่ได้สมัครพร้อมเพย์นี้ได้ข่าวมาว่าสรรพากรจะไม่ได้ส่งคืนมาเป็นเช็คอีกแล้ว แต่จะส่งมาเป็นแบบ ค.10 ให้เราไปขึ้นเงินที่ ธนาคารกรุงไทย เอาเอง อ่อ ใครที่สมัครพร้อมเพย์ที่ผูกบัญชีกับเลขที่บัตรประชาชนเท่านั้นนะคะที่จะได้คืนไว

อ้างอิง :  https://www.kanyarataccounting.com/index.php/2019/01/08/5-wrong-no-talk-you/

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart