10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับใบกำกับภาษี
10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับใบกำกับภาษี
- ผู้ที่จะออกใบกำกับภาษีได้ จะต้องเป็นผู้ที่จด VAT เท่านั้น ผู้ที่ไม่ได้จด VAT ออกใบกำกับภาษีไม่ได้
- ถ้าคุณมีรายได้เกิน 8 ล้านจากการขายสินค้า หรือให้บริการ คุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบบริษัท หรือแบบบุคคลก็ตาม
- ใบกำกับภาษีที่มักจะพบเจอกันมีอยู่ด้วยกัน 4 ตัว คือ
- ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป (หรือที่เรียกกันปกติว่าใบกำกับภาษี)
- ใบกำกับภาษีอย่างย่อ (ใบเล็กๆที่เราได้จากร้านสะดวกซื้อ)
- ใบเพิ่มหนี้
- ใบลดหนี้
- ใบกำกับภาษีจะสมบูรณ์ และสามารถนำไปใช้เป็นภาษีซื้อได้ ก็ต่อเมื่อมีรายการครบถ้วน สำหรับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบกำกับภาษีจะสมบูรณ์ เมื่อมีองค์ประกอบครบถ้วนดังนี้
- มีคำว่า “ใบกำกับภาษี”
- ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวภาษีอากร สาขา หรือสำนักงานใหญ่ของผู้ที่ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย)
- ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวภาษีอากร สาขา หรือสำนักงานใหญ่ของผู้ที่รับใบกำกับภาษี (ผู้ซื้อ)
- เลขที่ของใบกำกับภาษี
- ชื่อ ชนิด ประเภท และมูลค่าของสินค้า หรือบริการ
- จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้า หรือบริการที่แสดงอย่างชัดเจน
- วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
- ผู้ขายต้องถามเลข 13 หลักจากผู้ซื้อ ถ้าผู้ซื้อจด VAT ผู้ซื้อต้องให้เลข 13 หลักด้วย แต่ถ้าผู้ซื้อไม่ให้ หรือไม่ได้แจ้งว่าเป็นผู้ที่จด VAT ทำให้ใบกำกับภาษีนั้นไม่มีข้อมูลเลข 13 หลักของผู้ซื้อ ผู้ซื้อจะไม่สามารถนำใบกำกับภาษีมาเคลมภาษีซื้อได้
- ใบกำกับภาษีที่สามารถนำมาเคลมภาษีซื้อได้ จะต้องเป็นใบกำกับภาษีที่มาจากการเกิดรายการค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้า/บริการกันจริง ถ้าไม่มีการแลกเปลี่ยนจริง ใบกำกับภาษีนั้น จะเรียกว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม ไม่สามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้ ผู้ออก และผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอมนั้น ถือว่ามีความผิดและมีโทษทั้งจำคุก และปรับ
- ถ้าคุณทำธุรกิจค้าปลีก คุณสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากสรรพากร แต่ถ้าคุณจะนำเครื่องบันทึกการรับเงิน (เครื่อง Register หรือ POS) มาใช้ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ คุณต้องขออนุญาตจากสรรพากรก่อน
- ผู้ที่รับใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่สามารถนำมาเคลมภาษีซื้อได้
- ถ้าจะออกใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ต้องมีการออกใบกำกับภาษีก่อนเสมอ จะอยู่ๆออกใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้เลยไม่ได้
- โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สามารถช่วยคุณออกใบกำกับภาษีเหล่านี้ได้ เรามีทีมงานที่ช่วยตอบปัญหาเกี่ยวกับบัญชี ภาษี และมีพันธมิตรสำนักงานบัญชี และนักบัญชีอิสระ
อ้างอิง : ข้อควรรู้เกี่ยวกับใบกำกับภาษี (peakaccount.com)