ใบเสร็จแยกค่าสินค้ากับค่าแรงออกจากกัน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
ผู้ประกอบการหลายท่านมักจะประสบปัญหาในเรื่องของการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในกรณีที่ได้รับบิลค่าบริการที่มีการแยกรายการค่าสินค้ากับค่าบริการออกจากกัน ไม่รู้ว่าเราควรจะหักภาษี ณ ที่จ่ายจากยอดไหนดี ผู้ขายก็ตอบมาไม่เป็นเสียงเดียวกันบางคนบอกว่าให้ได้เฉพาะค่าบริการเท่านั้นนะ ค่าสินค้าห้ามหัก ผู้ขายบางคนก็จะบอกว่าหักภาษี ณ ที่จ่ายจากยอดค่าสินค้ากับค่าบริการรวมกันเลย
ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย เราต้องแยกให้รายได้ก่อนว่ารายการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นลักษณะไหน ระหว่าง มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ใน และ สินค้า มุ่งความสำเร็จของงาน
มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า
มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ในวินค้า = ขายสินค้า ลักษณะจะเป็นเน้นขายสินค้า แต่บางครั้งอาจจะมีบริการช่วยติดตั้งเล็กๆ น้อยๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าทำให้ขายสินค้าได้ง่ายขึ้น เช่น ซื้อแอร์แถมบริการติดตั้ง, ซื้อเครื่องซักผ้าแถมบริการติดตั้ง เป็นต้นสรุป : มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า
- ผู้ขายออกบิลมาแต่สินค้า ก็ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
- ผู้ขายออกบิลแยกสินค้า กับ ค่าบริการออกจากกันให้เราทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายเฉพาะค่าบริการเท่านั้น
มุ่งความสำเร็จของงาน
มุ่งความสำเร็จของงาน = สัญญาจ้างทำของ คือสัญญาซึ่งผู้รับจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น
สาระสำคัญของสัญญาจ้างทำของ อยู่ที่ผลสำเร็จของงานดังนั้น ค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับจ้างทำของ ย่อมถือเป็นส่วนของสัญญาจ้างทำของ ซึ่งอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
สรุป : มุ่งความสำเร็จของงาน หักภาษี ณ ที่จ่าย จาก ค่าของ + ค่าแรง
ปล. ไม่ว่าจะแยกรายการหรือรวมรายการก็หักค่าของ + ค่าแรง
การพิจารณาชนิดของสัญญา จะไม่พิจารณาตามชื่อที่คู่สัญญาระบุไว้แต่พิจารณาตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาหรือปรากฏจากทางปฏิบัติของคู่สัญญาก็ได้การซื้อขายและการรับจ้างทำของ จึงต่างกันที่การซื้อขายมุ่งถึงการทำงานและผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ซึ่งผลสำเร็จของงานอาจปรากฏออกมาเป็นทรัพย์สิ่งของหรือไม่ก็ได้
อ้างอิง : ใบเสร็จแยกค่าสินค้ากับค่าแรงออกจากกัน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร | อบรมบัญชี, เก็บชั่วโมง CPD (iliketax.com)