แท้จริงแล้ว ภาษีนำเข้าส่งออก คำนวณจากอะไร ใครเป็นคนเสียกันแน่?
เวลาที่เราส่งพัสดุไปต่างประเทศ ต้องมีเรื่องของการเสียภาษีอากรเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน จะรู้ได้ยังไงว่า ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ใครเป็นคนที่เสียภาษีนำเข้าส่งออก
เราจะเสีย ภาษีนำเข้าส่งออก ก็ต่อเมื่อ ?
การเสียภาษีอากรจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสินค้าของคุณเดินทางไปถึงประเทศปลายทางแล้วสินค้ามีมูลค่าเกินหลักเกณฑ์ที่ประเทศปลายทางกำหนด ก็จะมีการเรียกเก็บค่าภาษีก่อนที่จะนำสินค้าเข้ามาในประเทศนั้นๆ โดยปกติแล้วการเสียภาษีจะเป็นความรับผิดชอบของ “ผู้รับ” เรียกว่าการเสียค่าภาษีนำเข้า
ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีกฎเกณฑ์ในการเรียกเก็บภาษีนำเข้าที่ไม่เหมือน ขึ้นอยู่กับแต่ละพิกัดสินค้า และมูลค่าของสินค้านั้นๆ แต่ถ้าหากสินค้านำเข้ามีมูลค่าต่ำกว่าจำนวนดังกล่าวก็ไม่ต้องจ่ายภาษีนั่นเอง อยากรู้ใช่มั้ยว่าแต่ละประเทศมีขั้นต่ำที่ไม่ต้องเสียภาษีเท่าไหร่
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าต้องเสียภาษีเท่าไร ?
การคำนวณอัตราภาษีขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าที่ต้องเสียภาษี สำหรับการคำนวณจะดูจากหมายเลขที่กำหนดไว้แต่ละประเภทสินค้า เรียกว่าพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ หรือชื่อย่อ HS Code
ก่อนจะเริ่มคำนวณเกี่ยวกับภาษีจำเป็นจะต้องทำความรู้จักกับ “CIF” ก่อนว่ามันคืออะไร เพราะการคำนวณค่าภาษีนำเข้าจะอ้างอิงโดยใช้หลักนี้
– C คือ Cost หมายถึง ต้นทุน
– I คือ Insurance หมายถึง ประกันภัย ซึ่งจะมีสองทางเลือก คือ ประกันเพื่อออกของ โดยคิด 1% จาก Cost (ไม่สามารถเคลมได้) กับ ประกันเพื่อเคลมได้ (คือซื้อประกันกับบริษัทประกัน)
– F คือ Freight หมายถึง ค่าขนส่ง
สูตรที่ใช้ในการคำนวณค่าภาษีนำเข้า
นำมูลค่ารวม CIF x อัตราอากรขาเข้า (%) = อากรขาเข้า (5%, 10%, 20% หรือ 30% ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้านั้นๆ)
(นำมูลค่ารวม CIF + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม Vat % = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
นำอากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = มูลค่ารวมภาษีขาเข้าที่ต้องชำระ
อ้างอิง : https://fastship.co/deminimis-tax-rules/