วิธีคํานวณภาษี 2567 แบบเข้าใจง่าย รวดเดียวจบ

วิธีคํานวณภาษี 2567 แบบเข้าใจง่าย รวดเดียวจบ

บอกเลยว่าดังคำกล่าวดังว่าไว้ นอกจากความตายที่เราหนีไม่พ้นแล้ว ภาษีเราก็หนีไม่พ้นเช่นกัน สำหรับคนไทยที่เกิดและพำนักในประเทศไทย ก็ต้องทำการยื่นจ่ายภาษีประจำปีกันอยู่ตลอด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะแสดงรายได้รายรับ และจ่ายภาษีให้องค์กรส่วนกลางนำภาษีไปพัฒนาประเทศ และสิ่งทีทุกคนต้องเจออย่างเลี่ยงไม่ได้ในทุกช่วงต้นปีก็คือ การคำนวณภาษี ดังนั้น วันนี้จะพามาดู วิธีคำนวณภาษี โดยเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567 แบบเข้าใจง่าย รวดเดียวจบ พร้อมยกตัวอย่างและรายละเอียดประกอบ วิธีคำนวณภาษี ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย!

บุคคลธรรมดา รายได้เท่าไหร่ต้องยื่นภาษี 2567

ผู้ที่มีรายได้ต่อปีภาษีถึงเกณฑ์ที่กำหนด จำเป็นต้องยื่นแบบภาษี ไม่ว่าผลสุดท้ายเมื่อคำนวณภาษีออกมาแล้วจะต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม

สำหรับบุคคลธรรมดาและผู้ถึงแก่ความตายที่มีเงินพึงประเมินเกินดังตาราง จะต้องเสียภาษี ดังนี้

ประเภทเงินได้ (บาท ต่อปี) โสด สมรส
เงินเดือนเพียงอย่างเดียว 120,000 220,000
เงินได้ประเภทอื่น 60,000 120,000

แบบรายการยื่นภาษีบุคคลธรรมดา

ยื่นภาษีออนไลน์ 2567 บุคคลธรรมดาโดยจะมีแบบรายการแสดงซึ่งมีหลายแบบโดยจะขออธิบายแต่ละแบบ ดังนี้

  1. แบบภงด.90 – แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีซึ่งใช้าำหรับผู้มีเงินได้ในกรณีทั่วไปตั้งแต่เงินได้ประเภทที่ 1-8ที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วโดยให้ยื่นแบบฯ ภายในเดือนมีนาคมของปีภาษีถัดไป
  2. แบบภงด.91 – แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีสำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทที่ 1 เพียงอย่างเดียวโดยให้ยื่นแบบฯ ภายในเดือนมีนาคมของปีภาษีถัดไป
  3. แบบ ภ.ง.ด.93 – แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับใช้ยื่นก่อนถึงกำหนดเวลาการยืนแบบฯ ให้ยื่นแบบฯ ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน
  4. แบบ ภ.ง.ด.94 – แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5-8 ที่ได้รับมาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน และไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้ยื่นแบบฯ ภายในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของปีภาษีนั้น
  5. แบบ ภ.ง.ด.94 – แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับคนต่างด้าวผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานจากสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค ให้ยื่นแบบฯภายในเดือนมีนาคมของปีภาษีถัดไป

ทำความเข้าใจส่วนต่าง ๆ ในการคำนวณภาษี

เงินได้

เงินได้ หรือ เงินได้พึงประเมิน หมายถึงเงินที่ผู้มีหน้าที่ยื่นภาษีได้รับมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคมของปีภาษีนั้น ๆ เงินได้ทางภาษีมีทั้งหมด 8 ประเภท

ค่าใช้จ่าย

เป็นส่วนหนึ่งในการนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเป็นสิทธิประโยชน์ที่ผู้ยื่นภาษีจะได้รับ เพื่อนำไปหักลบจากเงินได้ ถือเป็นต้นทุนในการหาเงินได้ ค่าใช้จ่ายที่นำมาหักจะมีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ

  • หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา
  • หักค่าใช้จ่ายตามจริง

ทั้งนี้เงินได้ของเราจะหักค่าใช้จ่ายแบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเงินได้ประเภทใด หรือคิดภาษีแล้วแบบไหนจ่ายมากกว่า ก็ให้เลือกแบบนั้น

*สำหรับพนักงานออฟฟิศที่มีเงินได้จากเงินเดือน (เงินได้ประเภทที่ 1) และโบนัส (เงินได้ประเภทที่ 2) ให้นำ 2 ก้อนรวมกัน แล้วหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท*

เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิคือ เงินได้พึงประเมินที่ได้ทำการหักค่าใช้จ่าย และหักค่าลดหย่อนภาษีแล้ว ถือเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำไปคำนวณภาษีโดยการคูณอัตราภาษีต่อไป เพื่อหาเงินภาษีที่ต้องชำระ

รายการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง?

สำหรับบุคคลธรรมดาและผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษีจะสามารถขอลดหย่อนภาษีได้ตามรายการ ดังนี้

  • ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท
  • คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 60,000 บาท
  • ผู้มีเงินได้ หรือคู่สมรส ที่มีรายได้รวมกันไม่เกิน 120,000 บาท
  • บุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรม คนละ 30,000 บาท
  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท
  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ หักลดหย่อนคนละ 60,000 บาท
  • ค่าเบี้ยกรมธรรม์ประกันชีวิต (กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป)
  • ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท
  • เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จ่ายตามจริงในปีภาษีไม่เกิน 10,000 บาท
  • เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ
  • ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ที่นำมาเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีนั้นแต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • ดอกเบี้ยกู้ยืมที่จ่ายให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง
  • ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทแต่เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เงินบริจาค เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา การกีฬาและอื่น ๆ หักได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ เงินบริจาค หักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

อย่าลืม! ปี 2566 หรือที่เรากำลังจะยื่นภาษีในชข่วงต้นปี 2567 กันอยู่นี้ รัฐบาลได้มีมาตรการ หรือ โปรโมชั่น เพิ่มค่าลดหย่อนบางส่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

  • โครงการช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 ตามที่จ่ายจริง โดยต้องเป็นสินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP หรือ สินค้าหมวดหนังสือ (รวมถึง E-Book)
  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว คอนโด อาคาร หรือ ห้องชุด ที่ทำสัญญากู้ยืมตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นมา สามารถนำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
วิธีคำนวณภาษี
credit by pixabay

วิธีคำนวณภาษี

วิธีคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567

วิธีที่ 1 

ให้ทำการคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิอันประกอบด้วยส่วนสำคัญ ได้แก่ เงินได้พึงประเมินที่หักเงินได้จากการได้รับการยกเว้น หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อนภาษี หักเงินบริจาคแล้วนำเงินสุทธินั้นไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้

รายการ
เงินได้พึงประเมิน XXX
หัก เงินได้ที่ได้รับการยกเว้น XXX
หัก ค่าใช้จ่าย XXX
หัก ค่าลดหย่อน XXX
หัก เงินบริจาค (ถ้ามี) XXX
เงินได้สุทธิ XXX
ภาษีที่ต้องชำระ (ถ้ามี) = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี (5-35%)

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่ เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น อัตราภาษี ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น
0   –     150,000 150,000 5 ยกเว้น* 0
เกิน 150,000   –    300,000 150,000 5 7,500 7,500
เกิน 300,000   –     500,000 200,000 10 20,000 27,500
เกิน 500,000   –     750,000 250,000 15 37,500 65,000
เกิน 750,000   –  1,000,000 250,000 20 50,000 115,000
เกิน 1,000,000  –  2,000,000 1,000,000 25 250,000 365,000
เกิน 2,000,000  –  5,000,000 3,000,000 30 900,000 1,265,000
เกิน 5,000,000  บาท ขึ้นไป 35

อ้างอิง www.rd.go.th

วิธีที่ 2

จะเป็นการคำนวณเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ 120,000 บาท ขึ้นไป โดยไม่หักค่าใชจ่าย หรือหักค่าลดหย่อนใด ๆ คูณด้วยอัตราภาษีร้อยละ 0.5 จะได้จำนวนภาษีที่ต้องชำระ โดยทั้งนี้ผู้มีเงินได้ที่มีเงินหลายประเภท (โดยไม่รวมเงินได้ประเภทที่ 1 เงินได้จากการจ้างแรงงาน)

ตัวอย่างการคำนวณ 

r89pIiTnjdp5 3NJS2G8m6prMbYfBcHGPlv79rTHnJnwyWpPuLIWCy0 gcdWPX2E21KBv40Dti2I3HlMwFgRLIUybkU9ASpwa1T4DZ0A0e QvcCnPjUxlYwItiUQLLtWwukWIh2ntJwMsRNEj KE7A
credit by krungsri

ยื่นภาษีช่วงไหน?

ยื่นภาษีได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม ของปีภาษีถัดไป

ตัวอย่าง ปีภาษี 2565 ยื่นภาษีได้ระหว่าง 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2567 (แต่ถ้ายื่นออนไลน์ จะสามารถยื่นได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2567)


อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

1.นาย A เป็นพนักงานบริษัท และยังโสด ได้รับเงินเดือน 26,000 บาทตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม 2562 และได้รับโบนัส 50,000 บาท ดังนั้น “เงินได้พึงประเมิน” ของนาย A เท่ากับ 312,000 + 50,000 = 362,000 บาท

  • คำนวณภาษีขั้นที่ 1 (หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของเงินได้พึงประเมินแต่ไม่เกิน 100,000 บาท)
  • คำนวณภาษีขั้นที่ 2 (หักค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว และค่าเบี้ยประกันสังคม)
  • คำนวณภาษีขั้นที่ 3 (นำเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษี) จากตาราง 150,000 บาทแรกได้รับการยกเว้น
  • เงินที่เหลือตกในอัตราภาษีขั้นที่ 2 จึงนำเงินที่เหลือคูณอัตราภาษี 5%

ดังนั้น เงินภาษีที่นาย A จะต้องจ่ายให้กับกรมสรรพากรในปีภาษี 2562 เท่ากับ 2,150 บาทถ้วน

2.นาย B เป็นพนักงานบริษัท และต้องดูแลคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งไม่มีรายได้ นาย B ได้รับเงินเดือน 26,000 บาทตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม 2562 และได้รับโบนัส 50,000 บาท ดังนั้น “เงินได้พึงประเมิน” ของนาย B เท่ากับ 312,000 + 50,000 = 362,000 บาท

  • คำนวณภาษีขั้นที่ 1 (หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของเงินได้พึงประเมินแต่ไม่เกิน 100,000 บาท)
  • คำนวณภาษีขั้นที่ 2 (หักค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว ค่าเบี้ยประกันสังคม และค่าลดหย่อนคู่สมรส)
  • คำนวณภาษีขั้นที่ 3 (นำเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษี)
    จากตารางเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรกได้รับการยกเว้น

ดังนั้น เงินภาษีที่นาย B จะต้องจ่ายให้กับกรมสรรพากรในปีภาษี 2562 เท่ากับ 0 บาทถ้วน นาย B ไม่ต้องเสียภาษีแม้จะเป็นผู้ยื่นภาษี

จะเห็นได้ว่าการจะเสียภาษีมาก น้อย หรือไม่ต้องเสียภาษีเลยนั้น ขึ้นอยู่กับหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งเงินได้ ค่าใช้จ่าย และที่สำคัญคือ ค่าลดหย่อนภาษี หากเรามีค่าลดหย่อนภาษีเยอะ ยิ่งทำให้เราเสียภาษีน้อยลงนั่นเอง จึงเป็นที่มาว่าทำไมเราจำเป็นต้องติดตามและศึกษาเรื่อง วิธีคำนวณภาษี และ ค่าลดหย่อนภาษี ในแต่ละปีภาษี


โปรแกรมคำนวณภาษี

หากใครไม่มั่นใจเรื่อง วิธีคำนวณภาษี ของตนเอง สามารถนำข้อมูลไปลองคำนวณในโปรแกรมคำนวณภาษีตามเว็บต่าง ๆ ได้

  • โปรแกรมคำนวณภาษีธนาคารกสิกรไทย คลิก
  • โปรแกรมคำนวณภาษีเว็บไซต์ itax.in.th คลิก
  • โปรแกรมคำนวณภาษีเว็บไซต์ thailandsurf.net คลิก
  • โปรมแกรมคำนวณภาษีธนาคารไทยพาณิชย์ (ไฟล์ Excel) คลิก

ข้อมูลจาก กรมสรรพากร

เรื่องภาษีเป็นเรื่องไม่ใกลตัว และไม่ยากอย่างที่คิด อาจจะมีความจุกจิกในเรื่องของการเตรียมเอกสาร ศัพท์ทางภาษี ระยะเวลาและเงื่อนไขของการใช้สิทธิ์ต่าง ๆ รวมถึงเรื่อง วิธีคำนวณภาษี หรือวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ถ้าหากเราทุกคนสละเวลาอ่านและศึกษาเรื่องภาษี จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น และเป็นประโยชน์แก่ตนเองและประเทศชาติอีกด้วย ซึ่งหากใครไม่สะดวกติดงานก็สามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้แล้ววันนี้ – 8 เมษายน 2567 นี้ ที่สำคัญอย่าลืมตรวจสอบ เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนเข้าไปกรอกรายละเอียดกันด้วยน้าและอย่ารอช้า ใกล้ถึงวันแล้วค่อยทำ หากยื่นภาษีไม่ทัน มีปรับนะ!

Cr. https://shopee.co.th/blog/how-calculate-personal-income-tax/


 

สนใจวางแผนภาษี จัดทำบัญชี



ปรึกษาฟรี! โทร. 06437464720962895253

 

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart