รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี

รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี

1.รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว หรือการให้โดยเสน่หา
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ก็แปลได้ตามชื่อเลยครับ คือค่าใช้จ่าย “ส่วนตัว” ไม่ใช่ของ “ธุรกิจ” เช่น ค่าเทอมลูก ค่าน้ำมันรถยนต์ตัวเอง ค่าเช่าห้องของเจ้าของ เป็นต้น อันนี้ก็พบได้บ่อย แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการยอมรับ และเข้าใจได้ว่ามันเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามอยู่แล้ว และค่าใช้จ่ายอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ได้จ่ายให้ประโยชน์กับตัวเอง แต่ให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น ลูกพนักงานไปบวช บริษัทช่วยเงินบวชให้ หรือว่าเงินช่วยงานแต่ง งานศพของพนักงาน ในส่วนนี้ถือเป็นการให้โดยเสน่หา เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามเช่นกัน ทั้งนี้ผู้ประกอบการผู้เปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ในการบริหารภาษีบางคนต้องการที่จะนำค่าใช้จ่ายต้องห้ามเหล่านี้ไปเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ ก็ต้องทำให้ค่าใช้จ่ายนี้ไม่เป็นค่าใช้จ่าย “ส่วนตัว” หรือ “เป็นการเฉพาะ”  เช่น บริษัทออกระเรียบบริษัทเพิ่มเติมว่า ผู้บริหารของกิจการ “ทุกราย” ที่อยู่ในตำแหน่งระดับ XXX ขึ้นไปมีสวัสดิการณ์เป็น “ค่าเทอมลูก” หรือสามารถ “เบิกค่านำ้มันได้ไม่เกิน XXX บาทต่อเดือน” หรือสวัสดิการณ์อื่นๆตามที่คุณต้องการ เหล่านี้สามารถทำให้ค่าใช้จ่ายของกิจการได้ โดยไม่เป็นค่าใช่จ่ายต้องห้ามแต่อย่างใดถ้าผู้บริหารที่อยู่ในตำแหน่งระดับที่คุณระบุขึ้นไปนี้จะบังเอิญมีแต่ “คุณ” หรือแฟนของคุณก็ไม่เป็นไร ยังถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ ไม่ต้องห้าม  แต่ถ้ามีคนใหม่เข้ามาในตำแหน่งเดียวกันก็ต้องได้รับผลประโยชน์นี้ด้วย และต้องนำผลประโยชน์เหล่านี้ไปถือเป็นเงินได้ของผู้รับเงินได้ด้วย นั้นคือคุณต้องนำค่าเทอมลูกที่บริษัทออกให้นี้ ไปเป็นรายได้ของตัวเองด้วยตอนยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยนั่นเอง  แต่ทั้งนี้ต้องระวังไม่ให้สวัสดิการณ์กับตัวเองมากเกินไป เนื่องจากอาจจะไปเข้าเกณฑ์ “ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นในส่วนที่เกินสมควร” และทำให้รายจ่ายที่เกินสมควรนี้ ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามด้วย ในส่วนที่ว่า “เกินสมควร” นี่มันเท่าไหร่? อันนี้ก็ต้องไปคุยกับสรรพากรพื้นที่

2.ค่ารับรอง

          ค่ารับรอง ที่พบบ่อยๆสุดก็เช่น การพาลูกค้าไปทานกาแฟ หรืออาหารระหว่างคุยธุรกิจ ค่ารับรองนี้จะมีข้อกำหนดบางอย่างที่เพิ่มเติมมา ไม่ใช่ให้เราสามารถเอาเงินบริษัทมาเบิกกินเอง พนักงานสั่งพิซซ่ามากินจะถือเป็นค่ารับรองไม่ได้

          โดยค่ารับรองที่เป็นค่าใช้จ่ายได้นั้น ข้อกำหนดต่างๆ ดังนี้

1.การรับรองนั้นเป็นธรรมเนียมทางธุรกิจ และต้องมีลูกค้าได้รับบริการจากการรับรองนั้นๆด้วย (พนักงานใช้บริการคนเดียวไม่ได้)

2.ค่ารับรองจะต้องเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องโดยตรงเพื่อประโยชน์ของกิจการ เช่น ค่าอาหาร เครื่องดื่มระหว่างพูดคุยธุรกิจ

3.ผลประโยชน์ในแต่ละครั้งที่รับรองจะต้องไม่เกิน 2,000 บาทต่อคน

4.ค่ารับรองนั้นจะต้องได้รับการอนุมัติจากกรรมการ/ผู้ได้รับมอบหมาย

5.ทั้งนี้เมื่อรวมค่ารับรองทั้งปีแล้วจะต้องไม่เกิน 0.3% ของรายได้ (ล้านละ 3 พันบาท) และไม่เกิน 10 ล้านบาท (ถ้าคุณรายได้ไม่เกิน 3.3 พันล้านบาทก็ยังไม่ต้องกังวลกฎข้อนี้ครับ แต่ถ้าคุณต้องกังวลแล้วก็ดีใจด้วยนะครับ)

 ส่วนที่เกินหรือไม่เป็นไปตามข้อกำหนด จะถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามครับ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ประกอบการมักจะไปพลาดตรงไม่เกิน 0.3% ของรายได้ เนื่องจากการกินข้าวแต่ละครั้งอาจจะไม่สามารถปิดดีลได้ หรือหลายครั้งกว่าจะได้ และดีลนึงก็อาจจะไม่ได้มีมูลค่าถึง 1 ล้านบาทก็ได้ วิธีที่เราจะจัดการกับค่าใช้จ่ายต้องห้ามนี้ ไม่มีอะไรพลิกแพลงมากไปกว่าการเราต้องพยายามคุมต้นทุนด้านนี้ให้น้อยลงครับ ซึ่งผมว่าข้อกำหนดในข้อนี้ก็เป็นประโยชน์ในการควบคุมต้นทุนในกับกิจการอยู่แล้ว อยู่ที่เราต้องพยายามคุมต้นทุนด้านเองนี้ด้วย และอาจจะพยายามหาวิธีการอื่นในการบันทึกค่าใช้จ่ายไป

  1. รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ

          รายจ่ายที่พิสูจน์ผู้รับไม่ได้ ถือเป็นหนึ่งในรายจ่ายต้องห้ามที่มีมูลค่าสูงที่สุด เพราะหลายๆครั้งเราก็ต้องซื้อสินค้า/บริการจากผู้ขายที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือร้านค้าข้างทางซึ่งปกติธรรมดาเค้าก็ไม่ได้ทำใบเสร็จรับเงินให้เราอยู่แล้ว ทำให้เราไม่มีเอกสารที่จะสามารถพิสูจน์ผู้รับเงินได้ ซึ่งจริงๆก็มีวิธีแก้ไขครับ

          หลักของสรรพากรก็คือ “เราต้องได้ว่าจ่ายให้ใครได้ ใครเป็นผู้รับเงิน” ดังนั้น ถ้าเรามีหลักฐานการรับ/จ่ายเงินก็จบ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินผ่านทางธนาคารมี payment slip ว่าจ่ายไปที่ไหน การจ่ายผ่านบัตรเครดิต หรือการมีใบสำคัญจ่ายที่มีชื่อผู้รับระบุไว้พร้อมลายเซ็น หรือมีสำเนาบัตรประชาชนไว้ ก็ถือว่าสามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ในส่วนนี้โปรแกรม PEAK มีระบบในการพิมพ์ใบบันทึกรายจ่ายที่มีช่องให้ผู้รับเงินเซ็นชื่อรับเงินได้ คุณก็สามารถทำให้ค่าใช้จ่ายที่ผู้รับเงินไม่ออกหลักฐานการรับเงิน มาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้อย่างง่ายๆ ไม่ต้องกลัวว่าเอกสารจะไม่สมบูรณ์อีกต่อไป

อ้างอิง : รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี | PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ (peakaccount.com)

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart