ภาษีอีคอมเมิร์ซ(E-Commerce)

ภาษีอีคอมเมิร์ซ(E-Commerce)

ผู้ประกอบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หมายถึง ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการโดยผ่านคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์

การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการทำการค้านั้น ถือว่าเป็นวิธีที่ได้ผลอย่างคุ้มค่ามาก ทั้งนี้เพราะ อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่เข้าถึงคู่ค้าได้ผลอย่างคุ้มค่ามาก ทำให้การนำเสนอขายสินค้าเป็นไป อย่างง่ายได้ รวมทั้งประหยัดต้นทุน ในการสื่อสารด้วย การดำเนินการดังกล่าว ผู้ทำการค้าสามารถทำได้หลายวิธี โดยแต่ละวิธีก็มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  1. สร้างเว็บไซต์เพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร เป็นการประชาสัมพันธ์หรือประกาศให้บุคคลทั่วไปทราบว่าบริษัท ทำอะไร ขายอะไรในภาพรวม แต่ไม่ลงลึกในรายละเอียดทั้งหมด ใครอยากได้ข้อมูลก็ให้ติดต่อมาอีกครั้งหนึ่ง
  2. สร้างเว็บไซต์เพื่อแสดงสินค้าในรูปแบบต่างๆ เช่น

– สร้างเว็บไซต์เพื่อทดแทนแคตตาล็อค เป็นการลงลึกในการให้รายละเอียดเช่นเดียวกับ การจัดพิมพ์แคตตาล็อค เป็นวิธีที่ประหยัด เพราะการสร้างเว็บเพจ ลงทุนน้อยกว่าการพิมพ์ และการจัดส่งแคตตาล็อค ก็สามารถทำได้ทั่วโลก

– สร้างเว็บไซต์เพื่อเป็นโชว์รูม เป็นการโชว์สินค้าหลักและสินค้าใหม่บางส่วน ไม่ต้องการแสดงสินค้าทุกรายการทั้งนี้เพื่อเป็นการดึงดูดใจลูกค้าในเบื้องต้น

– สร้างเว็บไซต์เพื่อใช้เป็นงานแสดงสินค้า เป็นการรวบรวมเว็บไซต์ หรือสินค้าประเภทเดียวกันมาจัดแสดงไว้ในเว็บไซต์เดียวกัน เพื่อวัตถุประสงค์ ทางการสนับสนุน

– การขายหรือให้บริการ เช่น การรวบรวมเว็บไซต์ที่ขาย สินค้าโอทอป หรือรวบรวมรายชื่อโรงแรม ในประเทศไทยไว้ในเว็บไซต์เดียวกัน

  1. สร้างเว็บไซต์เพื่อการค้า e-Commerce เป็นเว็บไซต์ที่แสดงในส่วนของแคตตาล็อค หรือรายการสินค้าไว้พร้อมกับระบบที่สามารถสั่งซื้อสินค้าได้โดยตรง
  2. สร้างเว็บไซต์เพื่อเป็น e-Marketplace / e-Marketexchange เป็นเว็บไซต์ศูนย์กลางการซื้อ-ขาย หรือนำเข้า-ส่งออก มาเจอกัน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกไว้คอย ให้บริการ เช่นระบบการจ่ายเงิน ระบบการขนส่งสินค้า
  3. สร้างเว็บไซต์เป็นเครือข่ายการจำหน่ายของตนเอง เป็นเว็บไซต์ที่ให้เฉพาะผู้จำหน่ายที่เป็นตัวแทนในเครือข่ายของตนเองเข้ามาใช้งาน เพื่อการเลือกซื้อสินค้า เสนอสินค้าใหม่
  4. สร้างเว็บไซต์ เพื่อเป็นช่องทางการขาย เป็นการสร้างเว็บไซต์เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการขาย

ประเภทของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

                  ในการทำการค้าต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ฝ่ายคือผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายมีหลายรูปแบบทำให้เราสามารถจัดประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ ออกเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้

  1. B2C (Business to Customer) คือ การค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าหรือผู้บริโภค เช่น เว็บไซต์ขายหนังสือออนไลน์ เน้นการขายหนังสือออนไลน์ หรือสื่อมัลติมีเดียทางการศึกษา โดยมีกลุ่มลูกค้าเป็นเด็ก นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป โดยการสั่งซื้อสินค้าจะทำผ่านระบบตะกร้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ การชำระเงิน มีทางเลือกให้ลูกค้าเช่น โอนผ่านธนาคาร บัตรเครดิต ไปรษณีย์ธนาณัติ ในส่วนของการจัดส่งผ่านทางไปรษณีย์ หรือสามารถส่งแบบ Delivery ได้ด้วย เช่นร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
  2. B2B (Business to Business) คือ การค้าระหว่างผู้ค้ากับหน่วยธุรกิจเช่นกัน แต่เป็นผู้ประกอบการ ครอบคลุมถึงการขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) หรือเว็บไซต์ที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ที่ต้องการซื้อสินค้า/ บริการ กับผู้ให้บริการธุรกิจ รถเช่า ดำน้ำ สปา กอล์ฟ สวนสนุก เป็นต้น
  3. C2C (Customer to Customer) เป็นการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค เช่น การติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารในกลุ่มคนที่มีการบริโภค หรือบุคคลทั่วไปอาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสอง โดยสินค้าที่นำมาเสนอขายได้นั้นครอบคลุมตั้งแต่บ้านราคาหลายสิบล้านไปจนถึงหนังสือราคาไม่กี่บาท เป็นต้น
  4. B2G (Business to Government) คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมาก คือ การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่เรียกว่า e-Government Prcurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่รัฐบาลทำการซื้อหรือจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น การประกาศจัดจ้างของภาครัฐ หรือการใช้ระบบ EDI ในพิธีการศุลกากรของกรมศุลกากร เป็นต้น5. G2C (Government to Customer) การบริการของภาครัฐสู่ประชาชนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ เช่นการเสียภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต การให้บริการบริการข้อมูลสู่ประชาชนผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

ปัจจุบัน กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นกิจการที่การเจริญเติบโตมาก แต่ผู้ประกอบการบางส่วนยังไม่มีความเข้าใจเรื่องภาษีอากร ดังนั้นกรมสรรพากรจึงรวบรวมประเภท “ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่” ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แสดงให้ผู้ประกอบการทราบเพื่อจักได้ดำเนินการอย่างถูกต้องต่อไปสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมีดังนี้

 

1.เว็บไซต์แสดงรูป และราคาสินค้า

Catalog Website หมายถึง เว็บไซต์ที่ผู้ ประกอบการจัดทำขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นห้องแสดงสินค้า รายการราคาสินค้า ประชาสัมพันธ์รายการสินค้า โปรโมชั่น ณ ช่วงเวลานั้น ทั้งนี้อาจเน้นไปทาง โฆษณาสินค้าตัวใหม่ๆ แต่ไม่ได้มีการซื้อขาย สินค้าออนไลน์แต่อย่างใด หากผู้ซื้อสินค ้าสนใจจะซื้อสินค้า จะต้องโทรศัพท์ เพื่อสั่งสินค้า ส่วนการชำร ะราคาค่าสินค้า จะเกิดขึ้นทันที ที่รับมอบสินค้า จากพนักงานส่งสินค้า ข้อสังเกต เว็บไซต์ประเภทนี้ จะไม่มีระบบ ไม่มีตะกร้าในการซื้อขาย แต่จะมีเพียงรูปภาพ หรือรายการสินค้า พร้อมราคาเท่านั้น

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการให้บริการ หรือขายสินค้าผ่านเว็บไซต์

 

2.เว็บไซต์เพื่อการขายสินค้า

e-Shopping หมายถึง เว็บไซต์ที่ผู้ประกอบ การสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกิจการ ส่วนใหญ่จะใช้ชื่อกิจการ เป็นชื่อเว็บไซต์โดยไม่มีคำอื่นต่อท้าย กิจการจะสร้างกิจกรรม บนเว็บไซต์แบบ เต็มรูปแบบ โดยจะมีกิจกรรมต่างๆ มีการเคลื่อนไหว ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเว็บไซต์ ให้ทันสมัยตลอดเวลา มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก ในส่วนของการขายสินค้า จะมีระบบการรับชำระ ค่าสินค้า มีตะกร้าให้เลือกสินค้า มีระบบการตรวจสอบ การส่งของ มีระบบต่างๆ อีกมากมาย เพื่ออำนวยความสะดวก ให้ลูกค้า

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการให้บริการ หรือขายสินค้าผ่านเว็บไซต์

3.การขายสินค้าบนชุมชนเว็บบอร์ดโดยผู้ขายไม่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง

Community Web หมายถึง ชุมชนเว็บบอร์ดซึ่งเป็นที่รวมตัวของคนที่มีความสนใจคล้ายๆ กัน โดยทางเว็บไซต์ ได้จัดทำเว็บบอร์ดแล้วอนุญาตให้ สมาชิกนำสินค้าต่างๆมาโพสต์ขายได้ด้วย ซึ่งปัจจุบัน จะมีเว็บไซต์แบบนี้ อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เว็บสำหรับคนชอบมือถือ กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งการทำเว็บไซต์ ให้มีสินค้า ตรงกับความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมาย จะช่วยให้ การขายสินค้าได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น

การขายสินค้าบนเว็บบอร์ดของ Community Web เป็นการซื้อขายที่ผู้ซื้อ ส่วนใหญ่จะติดต่อกันทางโทรศัพท์หรือ e-mail ที่ให้ไว้บนเว็บบอร์ด แล้วคุยกันนอกรอบเพื่อตกลงเรื่องราคา ซึ่งมักจะใช้การชำระ ราคาค่าสินค้า ด้วยวิธีการโอนเงิน ผ่านบัญชีธนาคาร และรับสินค้าทางไปรษณีย์

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการให้บริการ หรือขายสินค้าผ่านเว็บไซต์

 

4.เว็บไซต์เพื่อการประมูลขายสินค้า

e-Auction (electronic auction) หรือที่เรียกว่า online auction, e-bidding, online bidding หรือ การประมูลออนไลน์ คือการประมูลสินค้า และบริการผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขาย เห็นความเคลื่อนไหว ของราคาขณะประมูล ในแบบเรียลไทม์ (real time) โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องของเวลา และสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการให้บริการ หรือขายสินค้าผ่านเว็บไซต์

 

5.เว็บไซต์ห้างสรรพสินค้าออนไลน์

 

e-Market Place หรือ Shopping Mall หมายถึง ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ ทำหน้าที่เหมือนห้างสรรพสินค้าปกติโดยทั่วไป คือ แบ่งเนื้อที่ในเว็บไซต์ ออกเป็นขนาดเล็กๆ อาจจะจัดเป็น หมวดหมู่ โซนต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการ ที่สนใจมาเช่าหน้าร้าน เพื่อประกอบธุรกิจโดย e-Market Place จะมีระบบจัดการเว็บไซต์ร้านค้า ไว้บริการผู้ประกอบการ เช่น ระบบตะกร้าสั่งซื้อสินค้า ระบบรับชำระเงิน ระบบการตรวจเช็คสต็อก ระบบช่วยร้านค้า ประชาสัมพันธ์สินค้า ระบบเว็บบอร์ด เป็นต้น

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการให้บริการ หรือขายสินค้าผ่านเว็บไซต์

 

6.เว็บไซต์แหล่งซื้อขายภาพถ่ายดิจิตอล

Stock Photo หมายถึง ที่เก็บรวบรวมภาพถ่ายไว้ด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายภาพถ่ายนั้น การขายภาพถ่าย เป็นเพียงคุณยินยอม หรืออนุญาตให้ผู้ซื้อ ใช้ภาพถ่าย ของคุณเท่านั้น โดยคุณไม่ได้ขายขาดสิทธิ์ในภาพถ่ายดังกล่าว ดังนั้น ภาพถ่ายยังคงเป็นลิขสิทธิ์ของคุณ อยู่อย่างสมบูรณ์เช่นเดิม ซึ่งทำให้คุณสามารถ นำภาพถ่ายเดียวกันนี้ ไปขายซ้ำแล้วซ้ำอีกจะกี่เว็บไซต์ก็ได้ ส่วนภาพถ่ายที่ซื้อมานั้น ผู้ซื้อสามารถ นำไปใช้ในการพิมพ์หนังสือ การพิมพ์เอกสารในโอกาสพิเศษ นิตยสาร บริษัทโฆษณา การสร้างภาพยนตร์ นักออกแบบเว็บไซต์ ศิลปินด้านภาพ บริษัทรับตกแต่งภายใน และด้านอื่นๆ ตามต้องการ ปัจจุบัน Stock Photo ไม่ได้รับเฉพาะภาพถ่ายเท่านั้น ยังรับภาพ จากนักออกแบบผู้สร้างสรรค์ภาพ จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม Illustrator, Photoshop อีกด้วย

 

7.การรับโฆษณาจากเว็บไซต์กูเกิ้ล

Google AdSense หมายถึง โปรแกรมการโฆษณาสินค้าที่ทาง Google เปิดโอกาสให้กับ ผู้ที่มีเว็บไซต์สามารถ สร้างรายได้ด้วยการ นำโฆษณาของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ โดยรายได้ จะเกิดจากการมีผู้อื่นมาเยี่ยมชม และการคลิกโฆษณานั้น ซึ่งโฆษณาต่างๆ ของ Google จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้อง กับเนื้อหาของเว็บไซต์ กรณีที่เว็บไซต์เกี่ยวข้องกับเกมส์ โฆษณาที่ทาง Google จะส่งมาก็จะเป็นเกี่ยวกับเกมส์ เช่นกัน

 

8.การทำให้ผลการค้นหาบนกูเกิ้ลติดลำดับแรกๆ

SEO หรือ Search Engine Optimization หมายถึง การทำให้ผลการค้นหาจาก Google แสดงข้อมูลเว็บไซต์ ติดอันดับต้นๆ ของผลการค้นหาปกติ (Natuaral Search) นักคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ด้วยการ ปรับเว็บไซต์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ การให้คะแนนของ Google หรือที่เรียกว่า PageRank เช่น เว็บไซต์ที่เปิดมาเป็นระยะเวลานาน ผู้เข้าเยี่ยมชม เว็บไซต์จำนวนมาก บทความบนเว็บไซต์มีการปรับปรุง ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ไม่มีข้อความที่คัดลอกจาก เว็บไซต์อื่น เป็นต้น โดยเว็บไซต์ที่มี PageRank สูงก็จะได้อยู่ในอันดับต้นๆ ของผลการค้นหาปกติ ผู้ประกอบการที่ต้องการ ให้ผลการค้นหาของ Search engine ปรากฏบนหน้าแรก ของการค้นหา ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับ Google Adwords / Google Adsense การโฆษณาแบบนี้ ผู้ประกอบการต้องว่าจ้าง นักคอมพิวเตอร์ที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน เป็นผู้ดำเนินการ

 

9.เว็บไซต์นายหน้าการขายสินค้าและบริการ

Affiliate Marketing หมายถึง ธุรกิจที่ใช้ระบบการขาย และชำระเงินของผู้ขาย โดยผู้ประกอบการจะชักชวนให้ซื้อสินค้าด้วยการโฆษณาข้อมูลสินค้าผ่านเว็บไซต์ของตนเองแล้วผู้ซื้อทำการคลิกผ่าน Banner หรือ Link ID เพื่อเข้าไปซื้อสินค้า/บริการ จากเว็บไซต์นั้นๆ จึงและจะได้รับผลตอบแทนค่าธรรมเนียมภายหลังการขายประสบผลสำเร็จ

ผู้ประกอบการในการทำ Affiliate Marketing

  1. บริษัทหรือเว็บไซต์ที่ต้องการทำการโฆษณาสินค้า/บริการของตนเอง
  2. Affiliate Network หรือ Affiliate Program Providers หมายถึง เว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของบริษัทหรือเว็บไซต์ต่างๆ ที่ต้องการทำการโฆษณาสินค้า/บริการของตนบนอินเทอร์เน็ต โดยผู้เป็น Affiliate Network มีหน้าที่เก็บข้อมูลและดูแลระบบจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับตัวแทนโฆษณา
  3. Affiliate หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนโฆษณาสินค้า/บริการให้กับเว็บไซต์ต่างๆ

10.การเล่นเกมผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์

Game Online หมายถึง การเล่นเกมผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ โดยผู้เล่นเกมออนไลน์จะต้องติดตั้งโปรแกรมClient เพื่อเชื่อมโยง กับบริษัทผู้ให้บริการเกมออนไลน์ซึ่งทำหน้าที่เป็น Server ทั้งนี้ข้อมูลต่างๆ ของผู้เล่นเกมออนไลน์จะถูกเก็บไว้ในเครื่อง Server ซึ่งทำให้ผู้เล่นเกมออนไลน์สามารถแข่งขัน และสนทนา (Chart) กับผู้เล่นรายอื่นที่อยู่ในเกมออนไลน์ได้ทันที ทั้งนี้ผู้เล่นเกมออนไลน์ จะต้องเสียค่าบริการ สำหรับการเล่นเกมออนไลน์ตามอัตราและเงื่อนไขที่บริษัทผู้ให้บริการกำหนดไว้

ประเภทของเกมออนไลน์ มี 2 ประเภท ดังนี้

  1. Massively Multiplayer Online Role-Playing Game (MMORPG) คือ เกมออนไลน์ที่สามารถรองรับ ผู้เล่นเกมได้พร้อมกัน เป็นจำนวนมาก โดยผู้เล่นทุกคนสามารถ มีปฏิสัมพันธ์กันในโลกของเกมได้พร้อมกัน (Real Time Interaction) ซึ่งเปิดโอกาส ให้ผู้เล่นสามารถแข่งขัน หรือผูกมิตรกันได้เสมือนอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง โดยเนื้อหาของเกมส่วนใหญ่ จะเกี่ยวกับการต่อสู้ผจญภัย เพื่อป้องกันตัวหรือในภาวะสงคราม โดยมีลักษณะทั่วไปดังนี้

ผู้เล่นเกมจะเล่นเป็นตัวละครหนึ่งๆ หรือหลายตัวในเวลาเดียวกัน โดยใช้ระบบการควบคุมตัวละครหลายตัว (Multi Character Control System: MCC) ซึ่งแต่ละตัวจะมีบทบาทต่อเนื่อง และมีจุดเด่น / จุดด้อยที่แตกต่างกันไป

ผู้เล่นเกมสามารถเพิ่มประสบการณ์ (Level) และเก็บสะสมอุปกรณ์ ต่างๆ (Item) เช่นอาวุธ หรือคะแนน เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง ของตัวละครทำให้มีลักษณะ ที่แตกต่างจากตัวละครตัวอื่นๆ และสามารถแลกเปลี่ยน / ซื้อ ขาย Item ในเกมได้

ลักษณะการดำเนินชีวิตของตัวละคร จะอ้างอิงเหตุการณ์และการใช้ชีวิตเสมือนสังคมในชีวิตจริง เช่น การแต่งงาน การรับตัวละครอื่นๆ เป็นลูกศิษย์หรืออาจารย์ การรวมกลุ่มกันเพื่อต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม เป็นต้น

การเล่นเกมจะไม่มีผลแพ้หรือชนะ โดยการเล่นเกมจะต่อเนื่องไปตามเนื้อเรื่องของเกมที่ไม่มีวันสิ้นสุด

ผู้เล่นเกมโดยส่วนใหญ่จะมีความภักดีต่อเกม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากลักษณะของเกม ที่กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้เล่น โดยจะใช้เวลาในการเล่นเกมค่อนข้างนาน เพื่อเก็บประสบการณ์ / Level ในเกม

 

  1. Casual Game คือ เกมออนไลน์ที่มีตัวการ์ตูนน่ารักสีสันสดใส มักเป็นเกมเล่นง่าย ที่ผู้เล่นเกมไม่ต้องใช้เวลา หรือทักษะในการเล่นมากนัก และสามารถเล่นจบในเวลาอันสั้น ซึ่งเหมาะสำหรับการเล่นเพื่อผ่อนคลาย

การคิดค่าบริการเกมออนไลน์

การคิดค่าบริการเกมออนไลน์ สำหรับเกมออนไลน์นั้นผู้เล่นจะต้องเสียค่าบริการให้กับบริษัทผู้เปิดเซิร์ฟเวอร์เกมออนไลน์ โดยรูปแบบ การเก็บค่าบริการในปัจจุบันจะมีอยู่ทั้งหมด 2 แบบคือ Air time และ Item Selling

  1. Air Time เป็นการซื้อบัตรเติมเวลาเพื่อเล่นเกมออนไลน์ เปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เหมือนๆ กับบัตรเติมเงินโทรศัพท์มือถือ โดยหากเราไม่ได้เสียค่า Air Time ก็จะ ไม่สามารถเข้าเล่นเกมออนไลน์ได้ รูปแบบของบัตรเติม Airtime ก็จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ เติมเป็นเป็นชั่วโมง และเติมเป็นวัน ส่วนใหญ่การเก็บค่าบริการแบบนี้จะเจอในเกมออนไลน์ประเภท MMORPG ตัวอย่างเช่น Ragnarok, LineageII, Mu Online เป็นต้น
  2. Item Selling การเก็บค่าบริการแบบนี้ผู้เล่นสามารถเข้าเล่นเกมได้ฟรี แต่หากต้องการซื้อ item บางอย่างมาใช้ในเกม จะต้องทำการเติมแต้มด้วยเงินจริง เพื่อนำแต้มเหล่านั้นไปใช้ซื้อ item ต่างๆ ส่วนใหญ่การเก็บค่าบริการแบบนี้จะเห็นในเกมออนไลน์ประเภท Casual Game เช่น Pangya, O2Jam, Last Chaos เป็นต้น

ประเภทของบัตรเติมเงิน

               บัตรเติมเงินมี 3 ประเภท คือ

  1. บัตรเติมเงินที่ออกโดยบริษัทผู้นำเข้า
  2. เกมออนไลน์ใช้ได้เฉพาะเกมออนไลน์ที่บริษัทผู้ออกบัตรเป็นผู้ให้บริการเท่านั้น
  3. บัตรเติมเงินทั่วไปใช้ในการซื้อสินค้า/บริการ ทางอินเทอร์เน็ตได้ทั่วไปในประเทศไทย เช่น บัตรเติมเงิน True Money, mPay เป็นต้น

ประเด็นสำคัญทางภาษี

ผู้ประกอบการ e-Commerce ที่ขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ มีสิทธิและหน้าที่ในการเสียภาษีเช่นเดียวกับผู้ประกอบการอื่น ๆ ผู้ประกอบการที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีรายได้จากการขายสินค้า หรือ ให้บริการแก่ผู้ซื้อที่อยู่ ณ ที่ใด ๆ ก็ตาม

มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ประกอบการค้าขายที่มีหน้าร้านทั่วไป ต้องนำรายได้นั้นมารวมคำนวณยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และมีหน้าที่จดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามเงื่อนไขของกฎหมาย

 

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ต้องนำเงินได้จากe-Commerce ไปรวมคำนวณกับเงินได้จากแหล่งอื่นถ้ามี เช่น เงินเดือน ดอกเบี้ย โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภ.ง.ด.94 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายนของปี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศเข้ามาทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีจากำไรสุทธิ ตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หากกิจการขาดทุนสุทธิไม่ต้องเสียภาษี โดยยื่นแบบแสดงรายการ

  1. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.51) ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.50) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม

 

Cr. https://www.baannut99.net/th/articles/202929-ภาษีอีคอมเมิร์ซ%28e-commerce%29

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart