ภาษีสุดท้าย Final Tax
ภาษีสุดท้าย Final Tax
เลือกเสียภาษีสุดท้าย หรือ รวมคำนวณปลายปี
รายได้พิเศษอื่น ๆ ที่ได้รับระหว่างปี ซึ่งไม่ใช่รายได้ประจำหรือเงินเดือนตามปกติ ที่กรมสรรพากรเปิดโอกาสให้เสียภาษีได้ทันที หรือ Final Tax อัตราภาษีตามประเภทรายได้นั้น การเลือกว่าจะนำรายได้พิเศษระหว่างปี ไปรวมเสียภาษีปลายปี หรือ จ่ายภาษีแบบ Final Tax ทางใดดีกว่ากัน ไม่มีสูตรตายตัว
คำแนะนำเร็ว ๆ ให้ดูจากอัตราภาษีเงินได้ของตัวเอง และอัตราภาษีเงินได้พิเศษ แบบไหนอัตราภาษีต่ำกว่าให้เสียภาษีแบบนั้น
ตัวอย่างที่เห็นบ่อยครั้ง คือ รายได้พิเศษจากดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งรายได้ดอกเบี้ยต้องเสียภาษี 15% หากปัจจุบันมีฐานภาษีอยู่ที่ 10% เมื่อนำรายได้ดอกเบี้ยมาคำนวณแล้วไม่ทำให้ฐานภาษีขยับ การรวมคำนวณปลายปีจะคุ้มกว่า
ตรงกันข้ามหากมีฐานภาษีอยู่ที่ 20% อยู่แล้ว เมื่อมีรายได้ดอกเบี้ยเข้ามาระหว่างปี ควรเลือกเสียภาษี แบบ Final Tax 15% น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
บทสรุปของ Final Tax
- โดยปกติแล้ว การถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ถือเป็นการจ่ายภาษีล่วงหน้า โดยผู้มีเงินได้อย่างเรามีหน้าที่ต้องนำมายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีตามปกติ และนำภาษีที่ถูกหักไว้มาใช้หัก(เครดิต) ออกจากภาษีที่คำนวณได้ เพื่อให้รู้ว่าจะต้องชำระเพิ่มหรือได้คืนเท่าไหร่
- แต่มีการถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายบางประเภท ให้สิทธิในการเลือกที่จะ “ถูกหักภาษีไว้แล้วจบได้” เช่น ดอกเบี้ย(15%) เงินปันผ ล(10%) และตัวผู้มีเงินได้เองก็มีสิทธิเลือกที่จะไม่จบโดยนำมายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีก็ได้ หากคิดว่าการนำมายื่นนั้นเป็นประโยชน์มากกว่า เช่น ได้ภาษีคืน หรือ เสียภาษีน้อยลง
- โดยผู้เสียภาษีอย่างเรา ต้องมีความเข้าใจในเรื่องของการคำนวณภาษี และพิจารณาความคุ้มค่าจากอัตราภาษีที่เราเสียในปัจจุบัน(5-35%) และนอกจากนั้น ในกรณีของเงินปันผลส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้เสียภาษีควรจะมีความเข้าใจในเรื่องของการคำนวณ “เครดิตภาษีเงิน” เพิ่มเติมด้วย
ดังนั้น หากมีรายได้พิเศษเข้ามาระหว่างปี ต้องให้ความสำคัญและพิจารณาให้รอบคอบ หากต้องการลดความยุ่งยาก กลัวลืม หรือเป็นประหยัดภาษีกว่า ก็สามารถเลือกเสียภาษีแบบ Final Tax ได้เลย
เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ภาษีสุดท้าย Final Tax
อ้างอิง : https://www.smarttoinvest.com/Pages/Know%20Investment/How%20to%20invest%20money/TaxManagement/FinalTax.aspx