ภาษีมรดก 5 ประเภททรัพย์สินมรดกที่ต้องจ่ายภาษี ตาม พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก

ภาษีมรดก 5 ประเภททรัพย์สินมรดกที่ต้องจ่ายภาษี ตาม พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก

ภาษีมรดก เรื่องที่ผู้มีเกณฑ์ได้รับมรดกควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมรดก ตาม พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และไม่เข้าใจผิดจนต้องเสียภาษีทั้งที่ไม่จำเป็น พร้อมดูวิธีคำนวณภาษีมรดกฉบับเข้าใจง่ายได้ที่นี่

ภาษีมรดกคืออะไร

ภาษีมรดกปี 2564 ไม่ได้ปรับรายละเอียดจากปีที่ประกาศใช้ใน พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก โดยยังคงความหมายภาษีมรดกไว้ว่า เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ได้รับมรดกที่มีมูลค่าสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท มีชื่อเรียกแบบเต็มว่า ภาษีการรับมรดก โดยทรัพย์สินมรดกที่จะต้องเสียภาษีมีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่
  • อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้านหรือที่ดิน
  • หลักทรัพย์ เช่น ตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตร
  • เงินฝาก
  • ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน เช่น รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์
  • ทรัพย์สินทางการเงินอื่น ๆ (หากแต่มีการประกาศเพิ่มในอนาคต)
ซึ่งอัตราค่าเก็บภาษีมรดกแบ่งออกเป็น 5% และ 10% ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรตั้งไว้
ทายาทโดยธรรม 6 อันดับมีใครบ้าง

ทายาทโดยธรรม 6 อันดับมีใครบ้าง

กรณีใดบ้างที่ต้องเสียภาษีมรดก

ผู้ที่ต้องเสียภาษีมรดก ภาษีมรดกที่ต้องเสีย
บุคคลทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือด 10%
พ่อแม่ 5%
ปู่ ย่า ตา ยาย 5%
ผู้สืบสันดาน 5%
จากที่กล่าวข้างต้นถึงความเข้าใจผิดเรื่องการเสียภาษีมรดก ไม่ใช่ทุกกรณีที่ต้องเสียภาษีนี้ แต่ผู้ได้รับมรดกจะต้องเสียภาษีเมื่อทรัพย์สินมรดกที่ได้รับ มีมูลค่าสุทธิเกิน 100 ล้านบาท โดยเสียภาษีมรดกในอัตราภาษีคงที่ และแบ่งออกเป็น 2 อัตราดังที่ระบุไว้ ดังนี้
  • บุคคลทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือดกับผู้ให้มรดก จะต้องเสียภาษีมรดกในอัตราคงที่ 10%
  • หากผู้รับมรดกเป็นบุพการี เช่น พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือผู้สืบสันดาน เช่น บุตรหลาน จะได้รับการลดหย่อนอัตราภาษี เหลือเพียงแค่ 5% เท่านั้น

กรณีใดบ้างที่ได้รับการยกเว้นภาษีมรดก

  • กรณีที่ผู้ได้รับมรดกเป็นสามีหรือภรรยาของผู้ให้มรดก และได้มีการจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้นั้นจะได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีมรดก
  • หากยกมรดกให้กับหน่วยงานของรัฐ มรดกนั้นจะได้รับการยกเว้นภาษีมรดก ไม่ต้องจ่ายแม้แต่บาทเดียว
กฎหมายมรดกที่ดิน กับ 4 เรื่องต้องรู้ ใครเป็นผู้รับมรดกที่ดินได้บ้าง

กฎหมายมรดกที่ดิน กับ 4 เรื่องต้องรู้ ใครเป็นผู้รับมรดกที่ดินได้บ้าง

วิธีการคำนวณภาษีมรดก

เมื่อเป็นเรื่องของตัวเลขและการคำนวณ หลายคนก็พากันส่ายหน้า โดยเฉพาะภาษีมรดกที่เป็นจำนวนเงินหลักร้อยล้าน แต่จริง ๆ แล้ว หลักการคำนวณภาษีไม่ได้มีความซับซ้อนอย่างที่คิด และสามารถคำนวณได้ด้วยตนเอง ดูตัวอย่างการคำนวณอัตราภาษีมรดกที่ดินในแบบ 5% และ 10% เพื่อความเข้าใจมากขึ้น

การคำนวณภาษีมรดกในอัตราคงที่ 5% สำหรับบุพการีและผู้สืบสันดาน

ขั้นตอนที่ 1 คำนวณหามูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี

สูตร มูลค่ามรดกสุทธิ – 100 ล้านบาท* = มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี
*มูลค่ามรดกที่ไม่ต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก
ตัวอย่าง
นาง ก. ผู้ซึ่งเป็นมารดาของเจ้าของมรดก ได้รับมรดกเป็นที่ดินมูลค่าสุทธิ 150 ล้านบาท โดยที่เจ้าของมรดกไม่มีหนี้สินใด ๆ มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี คือ 150,000,000 – 100,000,0000 = 50,000,000 บาท

ขั้นตอนที่ 2 คำนวณหาภาษีมรดก

สูตร มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษีคงที่ 5% = ภาษีมรดก
ตัวอย่าง
จากมูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษีของนาง ก. คือ 50 ล้านบาท นาง ก. ต้องเสียภาษีมรดกอัตราคงที่ 5% จะเท่ากับ 50,000,000 x 5% = 2,500,000 บาท
สรุปได้ว่า นาง ก. จะต้องเสียภาษีมรดกเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2 ล้าน 5 แสนบาท

การคำนวณภาษีมรดกในอัตราคงที่ 10% สำหรับบุคคลทั่วไป

ขั้นตอนที่ 1 คำนวณหามูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี

สูตร มูลค่ามรดกสุทธิ – 100 ล้านบาท* = มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี
*มูลค่ามรดกที่ไม่ต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก
ตัวอย่าง
นาย ข. ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับเจ้าของมรดก ได้รับมรดกเป็นที่ดินมูลค่าสุทธิ 150 ล้านบาท โดยที่เจ้าของมรดกไม่มีหนี้สินใด ๆ มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี คือ 150,000,000 – 100,000,0000 = 50,000,000 บาท

ขั้นตอนที่ 2 คำนวณหาภาษีมรดก

สูตร มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษีคงที่ 10% = ภาษีมรดก
ตัวอย่าง
จากมูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษีของนาย ข. คือ 50 ล้านบาท นาย ข. ต้องเสียภาษีมรดกอัตราคงที่ 10% จะเท่ากับ 50,000,000 x 10% = 5,000,000 บาท
สรุปได้ว่า นาย ข. จะต้องเสียภาษีมรดกเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 5 ล้านบาทการชำระภาษีมรดก
ผู้ได้รับมรดกมูลค่าสุทธิเกิน 100 ล้านบาท จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก (ภ.ม.60) โดยสามารถพิมพ์จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร และดำเนินการชำระภาษีภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับมรดก ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่ง
วิธีคำนวณภาษีมรดกพร้อมตัวอย่างประกอบ

กรณีที่ไม่สามารถจ่ายภาษีเต็มจำนวนได้

จากการคำนวณจะเห็นได้ว่า ภาษีมรดกเป็นจำนวนเงินไม่ใช่น้อย ผู้รับมรดกหลายคนจึงไม่สามารถจ่ายภาษีได้เต็มจำนวน กฎหมายจึงอนุโลมให้ผู้ได้รับมรดกยื่นเรื่องผ่อนชำระการจ่ายภาษีมรดกได้สูงสุดถึง 5 ปี และถ้าสามารถจ่ายภาษีจนหมดภายในเวลา 2 ปี จะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีกด้วย

การเรียกคืนภาษีมรดก

กรณีที่ไม่จำเป็นต้องจ่ายภาษีมรดกหรือจ่ายเกินจำนวน เราจะรักษาผลประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง ข้อกฎหมายได้คำนึงถึงจุดนี้ไว้แล้ว โดยผู้จ่ายภาษีจะต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีการรับมรดก โดยใช้คำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค.10) ภายใน 5 ปีนับแต่วันชำระภาษีทั้งหมด
ซึ่งต้องยื่นพร้อมเอกสารอีก 3 อย่าง คือ ใบเสร็จรับเงินภาษีการรับมรดก หลักฐานแสดงการเสียภาษีการรับมรดกไว้เกิน และหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ขอคืน เพียงเท่านี้เราก็จะได้ภาษีคืนทุกบาททุกสตางค์ตามที่สมควร

บทลงโทษสำหรับผู้เลี่ยงภาษีมรดก

  • หากผู้ได้รับมรดกไม่ยื่นภาษีโดยเหตุสมควร มีโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท และเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าจากภาษีที่ต้องจ่าย
  • ผู้ได้รับมรดกยื่นภาษีแต่ไม่ครบถ้วนหรือไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องเสียเบี้ยปรับอีก 5 เท่าของภาษีที่ต้องจ่าย
นี่เป็นเพียงความรู้ส่วนหนึ่งเกี่ยวกับภาษีมรดก ซึ่งยังมีข้อมูลอีกมากพร้อมรายละเอียดปลีกย่อยที่ควรจะศึกษาไว้
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ
Cr. https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/เสียภาษีมรดกเท่าไหร่-มรดกบ้าน-ที่ดิน-16985

 


สนใจวางแผนภาษี จัดทำบัญชี


 


ส่วนหนึ่งของผลงานดูแลลูกค้าที่มอบความไว้วางใจให้แอคโปรแท็ค (AccProTax) ดูแล จนลูกค้าประทับใจในบริการ และยกนิ้วให้


Start typing and press Enter to search

Shopping Cart