ประโยชน์ของการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การวางแผนภาษี (Tax Planning) คือ การวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการเสียภาษีให้ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน เป็นการป้องกันค่าใช้จ่าย หรือค่าปรับที่ไม่จำเป็นซึ่งเกิดจากการชำระภาษีไม่ถูกต้อง นอกจากนี้การวางแผนภาษียังช่วยทำให้เราได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดได้อีกด้วย รวมถึงยังช่วยให้เราลดหย่อนภาษีได้อีกเช่นกันทำไมต้องวางแผนภาษี
1. วางแผนการใช้สิทธิทางภาษี
การวางแผนทางภาษีที่ดี ช่วยให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่พลาดที่จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ควรจะได้ ไม่ว่าจะเป็นรายจ่ายที่หักภาษีได้ ข้อยกเว้นสำหรับบางกรณี หรือค่าลดหย่อนทางภาษีต่าง ๆ
2. เพิ่มรายได้ และรักษาความมั่งคั่งของผู้เสียภาษี
การวางแผนภาษีช่วยให้มีเงินเหลือจากการใช้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เมื่อภาระทางภาษีลดลงก็จะทำให้ผู้เสียภาษีมีรายได้เพิ่มขึ้นสามารถนำเงินไปลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งทางการเงินได้ นอกจากนี้หากเลือกลงทุนในกองทุนที่สามารถลดหย่อนภาษี ก็จะช่วยประหยัดภาษีไปได้อีกทางหนึ่ง ถือว่าได้ลงทุนไปในตัว และยังได้ต่อยอดเงินที่มีในปัจจุบันให้งอกเงยขึ้นมาด้วย
3. ป้องกันโทษ และลดความเสี่ยงเรื่องค่าปรับ
เนื่องจากการวางแผนภาษีที่ดี ช่วยให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีชำระภาษีได้อย่างถูกต้อง และครบถ้วนตามหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ การเสียภาษีอากรไม่ครบถ้วน หรือพยายามที่จะเสียภาษีให้น้อยลงโดยฝ่าฝืนกฎหมายถือว่ามีความผิด โดยบทลงโทษอาจทำให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องเสียค่าปรับจำนวนมาก การวางแผนภาษี จึงช่วยเพิ่มความถูกต้อง และแม่นยำในการชำระภาษีอากร ช่วยป้องกันความผิดพลาดที่ส่งผลให้บุคคล หรือนิติบุคคลต้องโทษ และเสียค่าปรับที่ไม่จำเป็นหลักการวางแผนภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีพึงรู้ ประกอบด้วย
- ประเภทของเงินได้พึงประเมินและเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายแยกตามประเภทของเงินได้รายการลดหย่อนและเกณฑ์การหักลดหย่อนของแต่ละรายการวิธีการคำนวณภาษี
- รายการลดหย่อนและเกณฑ์การหักลดหย่อนของแต่ละรายการ
- อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ข้อดี และข้อเสียของการวางแผนการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เนื่องจากผู้มีเงินได้ประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือต้นทุนที่แตกต่างกัน เพื่อความ เป็นธรรม ในกฎหมายจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้(พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสมเพื่อกำหนด วิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุดการหักค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคำนวณภาษี ถือเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับหักเป็นต้นทุนในการทำงาน เพื่อให้ได้เงินได้หรือรายได้สุทธินั้นมาคิดภาษีตามบัญชีอัตราภาษี โดยมีอัตราการหักค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยตามแต่ละประเภทของเงินได้ตารางที่ 1 ประเภทของเงินได้พึงประเมินและเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายแยกตามประเภทของเงินได้
ประเภทของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 | เกณฑ์การหักค่าใช้จ่าย |
(1) เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น – เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ – เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง – เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า – เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ – เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน |
หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท และหากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภทรวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท |
(2) เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น – ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด – เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส – เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ – เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า – เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ – เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้นั้น |
|
(3) เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล |
หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามจริง |
ตารางที่ 1 (ต่อ)
ประเภทของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 | เกณฑ์การหักค่าใช้จ่าย |
(4) เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น |
กฎหมายไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น |
(5) เงินได้ประเภทที่ 5 ได้แก่ เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก – การให้เช่าทรัพย์สิน – การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน – การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว |
หักค่าใช้จ่ายตามตามจริงหรืออัตราเหมาที่ 30% 20% 15% 30% และ 10% |
(6) เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้ |
หักค่าใช้จ่ายตามตามจริงหรืออัตราเหมาที่ 60% และ 30% |
(7) เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ |
หักค่าใช้จ่ายตามตามจริงหรืออัตราเหมา 60% |
(8) เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว |
หักค่าใช้จ่ายตามตามจริงหรืออัตราเหมาที่ 40% และ 60% |
2. การหักลดหย่อน
ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนและยกเว้นเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยมีการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป สรุปได้ดังนี้
ตารางที่ 2 รายการลดหย่อนและเกณฑ์การหักลดหย่อนของแต่ละรายการ
รายการลดหย่อน | เกณฑ์การหักลดหย่อน |
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว | 60,000 บาท |
2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส | คนละ 60,000 บาท และกฎหมายอนุญาตให้มีได้สูงสุด 1 คน |
3. ค่าลดหย่อนบุตร | คนละ 30,000 – 60,000 บาท |
4. ค่าลดหย่อนบิดา มารดา | คนละ 30,000 บาท |
5. ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ | คนละ 60,000 บาท |
6. ค่าฝากครรภ์และทำคลอด | ตามที่จ่ายจริงแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินท้องละ 60,000 บาท |
7. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป/เงินฝากแบบมีประกันชีวิต | ตามที่จ่ายจริงแต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ 100,000 บาท (คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท) |
8. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท |
9. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท |
10. กบข. / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินเดือน และเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 500,000 บาท |
11. ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกับข้อ 10. แล้วไม่เกิน 500,000 บาท |
12. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับข้อ 10 และ RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท |
13. เงินประกันสังคม | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาท |
14. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 13,200 บาท และเมื่อรวมกับข้อ 10. และ RMF และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท |
15.ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับข้อ 10. และ RMF และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ และ กอช. แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท |
3. อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะใช้อัตราภาษีแบบขั้นบันได หรืออัตราภาษีก้าวหน้าที่จะแบ่งเงินได้สุทธิของผู้เสียภาษีออกเป็น 8 ขั้นเงินได้ โดยในแต่ละขั้นเงินได้จะมีอัตราภาษีเงินได้ที่แตกต่างกัน ดังนี้
ตารางที่ 3 บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิตั้งแต่ (บาท) | เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุด ของขั้น |
อัตราภาษี ร้อยละ |
1 – 150,000 | 150,000 | ได้รับยกเว้น |
150,001 – 300,000 | 150,000 | 5 |
300,001 – 500,000 | 200,000 | 10 |
500,001 – 750,000 | 250,000 | 15 |
750,001 – 1,000,000 | 250,000 | 20 |
1,000,001 – 2,000,000 | 1,000,000 | 25 |
2,000,001 – 5,000,000 | 3,000,000 | 30 |
5,000,001 บาทขึ้นไป | – | 35 |
หมายเหตุ : เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท ยังคงได้รับยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 470) พ.ศ.2551
4. ข้อดี และข้อเสียของการวางแผนการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ข้อดี
- ช่วยให้การเสียภาษีอากรเป็นไปโดยถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขทางภาษีตามที่กฎหมายกำหนดแต่ทั้งนี้จะต้องเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดโดยไม่อาศัยการหลีกเลี่ยงภาษีอากร
- ได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้้ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีได้อย่างเต็มที่บรรเทาภาระภาษีให้น้อยลง ไม่ต้องเสียภาษีมากจนเกินไป
- ประหยัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเสียภาษีไม่ถูกต้อง ซึ่งหมายถึง เบี้ยปรับ เงินเพิ่มและค่าปรับทางอาญา
- เพื่อป้องกันโทษ และความรับผิดจากการเสียภาษีที่ผิดพลาด
- ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแต่ละประเภทให้เต็มที่และถูกต้อง
- ช่วยลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นและไม่ได้มาตรฐานเพราะการดำเนินงานทางด้านเอกสารหลักฐานทางธุรกิจจะสอดคล้องกันระหว่างทางธุรกิจและภาษีอากร
- ช่วยให้คลายความกังวลต่อการถูกเรียกตรวจสอบ
- การวางแผนภาษีที่ผิดพลาดอาจจะต้องภาษีเพิ่มเติม หรืออาจจะต้องเสียเบี้ยปรับ
Cr. https://www.spu.ac.th/fac/account/th/content.php?cid=24132