ประมาณการหนี้สินเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่

ประมาณการหนี้สินเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่

 

ประมาณการหนี้สินเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่

ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิตค่าใช้จ่าย และเครดิตหนี้สิน

แล้วค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการประมาณการหนี้สินที่เกิดขึ้นนี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ หรือจะต้องนำมาบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล เราจึงต้องมาทำความเข้าใจของรายการนี้ก่อน

 

หลักการทางบัญชี

 

ประมาณการหนี้สิน หมายถึง หนี้สินหรือภาระผูกพันในปัจจุบันที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลา หรือจำนวนที่ต้องจ่ายชำระ

ประมาณการหนี้สินจะต้องรับรู้ก้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้

  1. กิจการมีภาระผูกพันในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีตไม่ว่าภาระผูกพันนั้นจะเป้นภาระผูกพันตามกฏหมาย หรือภาระผูกพันจากการอนุมาน
  2. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อกิจการเพื่อจ่ายชำระภาระผูกพันดังกล่าว
  3. สามารถประมาณจำนวนของภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ

เมื่อเข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อข้างต้นแล้ว กิจการต้องรับรู้ประมาณการหนี้สินด้วยจำนวนประมาณการที่ดีที่สุดของรายจ่ายที่ต้องนำไปจ่ายชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

 

ตัวอย่างเช่น

การรับประกันสินค้า เราเป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้การรับประกันสินค้าเมื่อขายสินค้าให้กับลูกค้าภายใต้เงื่อนไขของสัญญาขายผู้ผลิตจะรับผิดชอบสินค้าให้อยู่ในสภาพดี โดยการซ่อมหรือเปลี่ยนแทนสินค้าที่มีตำหนิภายในเวลา 3 ปี นับจากวันที่ซื้อ

 

จากประสบการณ์ในอดีตพบว่า มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ ที่จะมีการเรียกร้องการรับประกันสินค้า

ดังนั้น กิจการต้องรับรู้ประมาณการหนี้สินด้วยจำนวนประมาณการที่ดีที่สุดของต้นทุนในการทำให้สินค้าอยู่ในสภาพดีภายใต้การรับประกันสินค้าที่ขายไป ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน และบันทึกบัญชี ดังนี้

Dr. ประมาณการค่าใช้จ่ายจากการรับประกันสินค้า          1,00,000

Cr. หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประกันสินค้า                    1,00,000

 

หลักการทางภาษี

 

ตามประมวลรัษฎากรได้กล่าวไว้ว่า ประมาณการค่าใช้จ่ายถือเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองจึงไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในงวดที่เกิดการประมาณการ ต้องบวกกลับในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

แต่จะถือเป็นรายจ่ายได้เมื่อทราบจำนวนที่แน่นอนว่าต้องจ่าย เช่น ในรอบระยะบัญชีถัดมา มีผู้มาเคลมสินค้าที่ทางกิจการได้รับประกันไว้ และมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเกิดขึ้นจริงจำนวน 300,000 บาท ค่าใช้จ่ายนี้จะถือเป็นรายจ่ายทางภาษีได้

หรือถ้าสังเกตง่ายๆ จากบัญชีแยกประเภท สามารถทำได้ดังนี้

 

หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น

จากการรับประกันสินค้า

ทางบัญชี ทางภาษี
ยอดยกมาต้นงวด
+ ประมาณการเพิ่มขึ้น รับรุ้เป็นค่าใช้จ่ายในงวด ค่าใช้จ่ายบวกกลับทางภาษี
– การเคลมที่เกิดขึ้นจริง ลดยอดหนี้สินในงวด เป็นค่าใช้จ่ายทางภีได้
ยอดยกไปปลายงวด

 

จากตัวอย่างข้างต้น เราคงพอจะเข้าใจว่าประมาณการหนี้สินทางบัยชีนั้น นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีไม่ได้ทันที แต่ต้องรอให้เกิดขึ้นจริงก่อน จึงสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ เพราะทราบจำนวนแน่นอนและไม่ใช่รายจ่ายที่กำหนดขึ้นมาเอง

 

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ประมาณการหนี้สินเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่

อ้างอิง : https://thaicpdathome.com/article/detail/83/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5

 

 

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart