นายจ้างกับการหักเงินเดือนผู้กู้ยืมเงิน กยศ.

นายจ้างกับการหักเงินเดือนผู้กู้ยืมเงิน กยศ.

นายจ้างกับการหักเงินเดือนผู้กู้ยืมเงิน กยศ.

ทำไมต้องหักเงินเดือน?

ตามมาตรา 51 พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 กำหนดให้หน่อยงานซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นพนักงานหรือลูกจ้างให้ทราบ และนำส่งผ่านกรมสรรพากรภายในกำหนดระยะเวลานำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

หักผู้กู้ยืมทุกคนเลยรึเปล่า?

ผู้กู้ยืมเงินที่ทำงานและมีรายได้ตามมาตราที่ 40(1) ของประมวลรัษฎากร จะต้องผู้หักเงินเดือนเพื่อชำระเงินผ่านนายจ้างทุกคน

นายจ้างจะนำส่งเงินกู้ยืมอย่างไร?

สมัครขอใช้ระบบ e-PaySLF

  1. สมัครสมาชิกยื่นภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ภ.อ.01 ของกรมสรรพากร (e-Filing)
  2. เพิ่มรายการ “นำส่งเงินกู้ยืม กยศ.”

ขั้นตอนการนำส่งเงินกู้ยืม

  1. เข้าสู่ระบบ e-PaySLF เพื่อรับข้อมูลรายชื่อและจำนวนเงินที่ต้องหักจากระบบ
  2. บันทึกรายการและจำนวนเงินที่หักได้เข้าสู่ระบบ
  3. พิมพ์ชุดชำระ (Pay in slip) และนำไปชำระตามช่องทางที่กำหนด
  4. เมื่อหักเงินแล้วให้นำส่งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ถ้าเข้าเงื่อนไขตามนี้นายจ้างจะไม่ต้องนำส่งเงินในเดือนนั้น

  1. ลาออก ถูกปลดออก ไล่ออก หรือโอนย้าย
  2. รายได้คงเหลือไม่พอหักเพื่อชำระหนี้ (หลังหักรายการตามกฎหมาย)
  3. ลาออกโดยไม่ได้รับเงินเดือน
  4. ได้รับโทษทางวินัยไม่ได้รับเงินเดือน
  5. ชำระหนี้เสร็จสิ้น
  6. มีสถานะพักการจ้างโดยไม่ได้รับเงินเดือน
  7. ไม่เป็นพนักงาน/ลูกจ้างของหน่วยงาน
  8. เสียชีวิต

ถ้านายจ้างไม่หักเงินเดือนตามที่กองทุนแจ้ง จะต้องเสียเพิ่ม ร้อยละ 2 ต่อเดือน จากยอดเงินที่ต้องนำส่ง

อ้างอิง : https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1547796675

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart