จ่ายให้ฟรีแลนซ์ แต่ไม่หักภาษี 3% ไว้
คำถาม : ถ้าจ่ายให้ฟรีแลนซ์ แต่ไม่หักภาษี 3% ไว้ ทำแบบนี้จะมีปัญหาอะไรหรือเปล่าครับ ?
คำตอบ : 1 ก่อนอื่นขอตอบด้วยหลักการที่ถูกต้องตามกฎหมายภาษี (ประมวลรัษฏากร) ก่อนเริ่มจาก การตีความว่า ลักษณะการทำงานของฟรีแลนซ์ ที่มีต้นทุนมาจากแรงงานของตัวเองเป็นหลักหรือพูดง่าย ๆ คือ คล้ายกับมนุษย์เงินเดือนแต่เปลี่ยนเป็นรับจ้างทำงานให้ตามชิ้นงานที่ตกลงเงินได้ในลักษณะแบบนี้ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 2 ตามกฎหมาย (อ้างอิง : มาตรา 40(2)) กฎหมายกำหนดว่า การหักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องใช้วิธีเดียวกับมนุษย์เงินเดือนคือ คิดค่าจ้างทั้งปี คำนวณภาษีทีต้องเสียแล้วเฉลี่ยหักไว้ตามครั้งที่จ่ายเงิน(อ้างอิง : มาตรา 50(1)) ดังนั้น ถ้าถามว่าไม่หัก 3% ได้ไหม คำตอบ คือ ได้ ถ้ามีการจ่ายไม่ถึงเงินได้สุทธิที่เขาต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับคนที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัย ถ้าทั้งปีจ่ายค่าจ้างให้ฟรีแลนซ์ แต่ละคนไม่ถึง 310,000 บาท ก็ไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ แต่ถ้าหากจ่ายเกินกว่าแล้วไม่หักภาษีไว้ อันนี้อาจจะมีปัญหาได้เหมือนกัน
2. ทีนี้คำถามต่อ คือ แล้วหัก 3% มันมาจากไหน คำตอบ คือ อัตรา 3% ที่ว่านี้ไม่ได้มีกำหนดไว้ตามกฎหมายแต่ถูกใช้กันแพร่หลายในทางปฎิบัติสรรพากรเองก็ไม่มีปัญหาผู้มีหน้าที่หักภาษีเองก็ชอบเพราะมันง่ายและสะดวกสบาย จะให้มานั่งคำนวณจ่ายทั้งปีแล้วมาหักตามอัตราภาษีเหนื่อยแย่มันเลยกลายเป็นแบบนี้มานาน เพราะสุดท้ายแล้ว ภาษีที่ถูกหักไว้คนที่ถูกหักภาษีนี้มีสิทธิเอาไปใช้ หักออกจากภาษีที่คำนวณได้อยู่ดีแม้ว่าจะหักน้อยไป หรือมากไปแต่ถ้าหักไว้และมีการยื่นภาษีถูกต้องทุกอย่างก็เหมือนจะคลี่คลายลงได้แน่นอน
3. มีคนชอบถามว่า พรี่หนอมมองแบบไหนโดยส่วนตัวผมคิดว่าควรทำให้มันชัดเจนว่าจะเอาแบบไหนดีกว่ากัน
ระหว่างหัก % ไว้ชัด ๆ ไม่เสียเวลากับให้ปฎิบัติหักตามอัตราภาษีที่ถูกต้องไปเลยอาจจะเป็นคำตอบที่เรียบง่ายเกินไป แต่มันคือจุดเริ่มต้นของการทำทุกอย่างให้ถูกต้อง
อ้างอิง : https://www.facebook.com/TaxBugnoms/photos/a.192327474126010/5963249890367044/