รับจดขอใบอนุญาตเปิดร้านอาหาร ขอจดสถานที่สะสมอาหาร

คุณกำลังเปิดธุรกิจใหม่ แต่ต้องปวดหัวกับแบบฟอร์มเอกสาร
ทางราชการใช้เวลามากเกินไปใน

การขอใบอนุญาตธุรกิจร้านอาหาร และสถานที่สะสมอาหาร ไม่ครบถ้วน ทำให้

บริการของ AccProTax

บริการของเจ้าอื่นในท้องตลาด

การขอใบอนุญาตร้านอาหาร ในการประกอบธุรกิจจำหน่ายอาหาร

โดยจะเป็นการเปิดร้านอาหาร ให้เป็นร้านค้าที่มีการจำหน่ายอาหาร ซึ่งไม่ใช่เป็นการขายของในตลาด หรือการจำหน่ายอาหารในที่
ทางสาธารณะ นอกจากผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมเรื่อง รายการอาหาร / ผู้ประกอบอาหาร / การตกแต่งร้าน / การวางระบบการ
บริหารจัดการภายในร้าน / การบริการภายในร้าน เป็นต้น

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงในการประกอบธุรกิจ จำหน่ายอาหาร คือ การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจร้านอาหาร
(ในทางกฎหมาย เรียกว่าใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือ หนังสือรับรองการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร) โดยผู้ประกอบการ
ต้องทำการยื่นขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบ ซึ่งสามารถแบ่งการขอรับใบอนุญาตออกได้
เป็น 2 ประเภทดังนี้

ในกรณีสถานที่จำหน่ายอาหาร ที่มีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตร

จะต้องยื่นเรื่องขอรับใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหาร (ใบอนุญาตร้านอาหาร/ใบอนุญาตขายอาหาร)

ในกรณีที่สถานที่จำหน่ายอาหาร ที่มีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร

จะต้องยื่นเรื่องขอหนังสือรับรองการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร (ใบอนุญาตร้านอาหาร/ใบอนุญาตขายอาหาร)

ความหมายสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร

“สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือ
ปรุงอาหารจนสำเร็จ และจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค
ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม สถานที่จำหน่ายอาหาร เป็นสถานที่ในการปรุงอาหารและจำหน่ายอาหาร สามารถซื้อแล้วทานได้ทันที หรือนำกลับไปทานในสถานที่อื่น ๆ ได้ สถานที่จำหน่ายอาหาร ได้แก่ ร้านอาหารตามสั่ง, ร้านข้าวราดแกง, ร้านก๋วยเตี๋ยว, ศูนย์อาหาร,
โรงอาหาร, ร้านกาแฟ, ร้านอาหารญี่ปุ่น, ร้านอาหารอิตาเลี่ยน หรือที่ขึ้นชื่อว่า ร้านอาหารรวมถึงแผงลอยที่จำหน่ายอาหารในพื้นที่เอกชน
ซึ่งที่กล่าวมา ยังต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติท้องถิ่นและกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารอีกด้วย

“สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใดๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหาร อันมีสภาพ
เป็นของสด หรือของแห้ง หรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบ หรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง เช่น
ร้านสะดวกซื้อ, มินิมาร์ท, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านขายของชำ เป็นต้น อีกทั้ง สถานที่สะสมอาหาร จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติ
ท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด รวมถึงควบคุมโรคโควิด-19 และโรคอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นด้วย

หากไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ทำอย่างไรบ้าง หรือยังมีความเข้าใจต่อระเบียบและขั้นตอนในการขอใบอนุญาตธุรกิจร้านอาหาร /
ขอใบอนุญาตธุรกิจขายอาหาร / ขอใบอนุญาตจดสถานที่สะสมอาหาร ยังไม่ชัดเจน อาจทำให้ท่านเสียเวลามากยิ่งขึ้น
AccProTax (แอคโปรแท็ค) ยินดีให้คำปรึกษา ให้ท่านตั้งแต่เริ่มต้นจนจบทุกขั้นตอน จนได้รับใบอนุญาต

ปรึกษาเรา แอคโปรแท็ค (AccProTax)

ดูแลแทนคุณ เพื่อขอใบอนุญาตประกอบร้านอาหาร
ขอใบอนุญาตขายอาหาร ขอใบอนุญาตจดสถานที่สะสมอาหาร อย่างถูกต้อง

ก่อนธุรกิจคุณจะพลาดโอกาสสร้างผลกำไร สูญเสียโอกาส

สอนโดย “ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต” (CPA)

สำหรับลูกค้า ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจร้านอาหาร
ขอใบอนุญาตขายอาหาร ขอใบอนุญาตจดสถานที่สะสมอาหาร ที่นี่ทีเดียว ที่จัดเต็มของแถมกว่า 50 รายการ
มูลค่ารวม 12,000 บาท

ราคาโปรโมชั่น

ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2568 นี้เท่านั้น

Days
Hours
Minutes
Seconds

รายละเอียดการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจขายอาหาร

เมื่อผู้ประกอบการเข้าใจถึงความหมายสถานที่จำหน่ายอาหารแล้ว และอยู่ในข่ายที่ต้องการขออนุญาตประกอบธุรกิจร้านอาหาร
ธุรกิจขายอาหาร และรายละเอียดเกี่ยวกับการขอใบอนุญาต (ทางกฎหมาย: ในกรณีพื้นที่เกิน 200 เมตร คือ ใบอนุญาตสถานที่
จำหน่ายอาหารหรือในกรณีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร คือ หนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร)
ก่อนดำเนิน
การขอใบอนุญาตขายอาหารดังนี้

ก่อนอื่นผู้ประกอบการต้องทราบว่า ร้านอาหาร หรือสถานที่จำหน่ายอาหาร ที่ทำกิจการจำหน่ายอาหารนั้นมีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตร
หรือไม่ ตามที่กล่าวไว้ในขั้นต้น ว่าใบอนุญาตจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามพื้นที่คือ
1. สถานที่จำหน่ายอาหารที่มีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตรจะยื่นเรื่องขอเป็น ใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหาร (ใบอนุญาตร้านอาหาร
/ใบอนุญาตขายอาหาร)
2. สถานที่จำหน่ายอาหารที่มีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตรจะต้องยื่นเรื่องขอหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร

การจดทะเบียนร้านอาหารนั้น สามารถยื่นขอได้ทั้งในรูปบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทั้งนี้ในการขอในรูปบุคคลธรรมดา ในบางสำนักงาน
เขตพื้นที่ผู้ประกอบการอาจต้องมีการจดทะเบียนพานิชย์ หรือที่เรียกว่าจดทะเบียนการค้า ก่อนที่จะไปยื่นเรื่องขอใบอนุญาตจัดตั้ง
สถานที่จำหน่ายอาหาร
และสะสมอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์ในการจดทะเบียนพานิชย์ว่าเป็นการประกอบกิจการร้านอาหาร หรือ
จำหน่ายอาหาร

ซึ่งสำเนาของใบทะเบียนพานิชย์นั้นจะเป็นเอกสารประกอบในการขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร และสะสมอาหาร ในกรณี
บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ประกอบการการที่ต้องการขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร และสะสมอาหาร ในนามนิติบุคคล
หนังสือรับรองนิติบุคคลต้องระบุวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจต้องเกี่ยวข้องกับการจำหน่ายอาหาร หรือประกอบธุรกิจร้านอาหาร
หรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจร้านอาหารโดยมีการจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่ม โดยที่เครื่องดื่มที่จำหน่ายนั้นเป็นเครื่องดื่มประเภทที่
มีแอลกอฮอล์เช่นสุรา เบียร์ และ ไวน์ เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ดังกล่าวนั้น จำเป็นต้องมีการขอใบอนุญาตขายสุรา
กับกรมสรรพสามิตร ในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่เพิ่มเติม นอกจากใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร

สถานที่ยื่นขอรับใบอนุญาตร้านอาหาร ในกรณีที่สถานประกอบการตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นที่สำนักงานเขตที่สถานประกอบการ
ตั้งอยู่ ส่วนในกรณีที่สถานประกอบการตั้งอยู่ในต่างจังหวัดต้องยื่นขอใบอนุญาตที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่สถานประกอบการตั้งอยู่
พร้อมเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งค่าธรรมเนียมนั้นคำนวณตามขนาดพื้นที่สถานประกอบการดังนี้

ค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตจำหน่ายอาหาร

ค่าธรรมเนียมรัฐบาลในกรณีสถานที่จำหน่ายอาหารมีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตร
ในการขอรับใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหาร

หากพื้นที่ประกอบกิจการของคุณเกิน 200 ตารางเมตรขึ้นไป คุณต้องยื่นเรื่องขอรับ “ใบอนุญาต” (ใบอนุญาตร้านอาหาร/ใบอนุญาต
ขายอาหาร) มีค่าธรรมเนียม 3,000 บาท
หมายเหตุ ค่าธรรมเนียมอาจมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ด้วยค่ะ หากพื้นที่ประกอบกิจการของคุณไม่เกิน 10 ตารางเมตร
ค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ 200 บาท

ค่าธรรมเนียมรัฐบาลในกรณีสถานที่จำหน่ายอาหารมีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร ในการขอหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร

หากพื้นที่ประกอบกิจการของคุณ ไม่เกิน 200 ตารางเมตร คุณต้องยื่นเรื่องขอรับ “หนังสือรับรองการแจ้ง” (ใบอนุญาตร้านอาหาร
/ใบอนุญาตขายอาหาร) มีค่าธรรมเนียม 1,000 บาท ใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่
จำหน่ายอาหารมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต

ใครบ้างที่สามารถยื่นคำขอใบอนุญาตประกอบกิจการร้านอาหารได้

บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล แต่การยื่นคำขอในรูปของบุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์ก่อนโดยระบุ
วัตถุประสงค์ของการจดทะเบียนพาณิชย์ว่า “เป็นการประกอบกิจการร้านอาหารหรือจำหน่ายอาหาร” ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ก่อน
เพราะว่าในการจะขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร จำเป็นต้องใช้สำเนาทะเบียนพาณิชย์ร่วมด้วย

สำหรับการยื่นคำขอในรูปของนิติบุคคล ผู้ประกอบการต้องระบุวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับการจำหน่ายอาหาร
หรือธุรกิจร้านอาหารในหนังสือรับรองนิติบุคคล

สถานที่การยื่นคำขอใบอนุญาต หรือ ขอหนังสือรับรองการแจ้ง

ปรึกษาเรา แอคโปรแท็ค (AccProTax)

ดูแลแทนคุณ เพื่อขอใบอนุญาตประกอบร้านอาหาร
ขอใบอนุญาตขายอาหาร ขอใบอนุญาตจดสถานที่สะสมอาหาร
อย่างถูกต้อง

ก่อนธุรกิจคุณจะพลาดโอกาสสร้างผลกำไร สูญเสียโอกาส

สอนโดย “ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต” (CPA)

สำหรับลูกค้า ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจร้านอาหาร
ขอใบอนุญาตขายอาหาร ขอใบอนุญาตจดสถานที่สะสมอาหาร ที่นี่ทีเดียว ที่จัดเต็มของแถมกว่า 50 รายการ
มูลค่ารวม 12,000 บาท

ราคาโปรโมชั่น

ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2568 นี้เท่านั้น

Days
Hours
Minutes
Seconds

ขั้นตอนการขอใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรองการแจ้งจดร้านอาหาร

เมื่อคุณทราบแล้วว่า ธุรกิจร้านอาหารของคุณ มีพื้นที่เท่าใด และต้องยื่นแบบไหน โดยขั้นตอนการขอใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรอง
การแจ้งจดร้านอาหาร ดังนี้

เมื่อคุณทราบแล้วว่า ธุรกิจร้านอาหารของคุณ มีพื้นที่เท่าใด และต้องยื่นแบบไหน โดยขั้นตอนการขอใบอนุญาต
หรือ หนังสือรับรองการแจ้งจดร้านอาหาร ดังนี้

เมื่อคุณทราบแล้วว่า ธุรกิจร้านอาหารของคุณ
มีพื้นที่เท่าใด และต้องยื่นแบบไหน โดยขั้นตอนการ
ขอใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรองการแจ้งจด
ร้านอาหาร ดังนี้

หมายเหตุ หากเลย 15 วัน คุณไม่มารับใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรองการแจ้ง และไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามเวลาที่กำหนด
จะถูกยกเลิกทันที

หากเปิดธุรกิจร้านอาหาร โดยไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตร้านอาหาร
หรือหนังสือรับรองอย่างถูกต้อง จะเกิดอะไรขึ้น ?

หากเปิดธุรกิจร้านอาหาร โดยไม่ได้
ยื่นขอใบอนุญาตร้านอาหาร หรือ
หนังสือรับรองอย่างถูกต้อง
จะเกิดอะไรขึ้น ?

หมายเหตุ หากฝ่าฝืนข้อบัญญัติท้องถิ่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หากฝ่าฝืนกฎกระทรวง
ปรับไม่เกิน 50,000 บาท

ถ้าไม่มีการต่อใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรองการแจ้ง จะเกิดอะไรขึ้น?

ถ้าไม่มีการต่อใบอนุญาต
หรือ หนังสือรับรองการแจ้ง
จะเกิดอะไรขึ้น?

หากคุณไม่ได้ยื่นเรื่องขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นอย่างถูกต้อง คุณปล่อยให้ใบอนุญาตหมดอายุ หรือคุณต้องการ
จะต่อใบอนุญาต แต่ชำระในช่วงที่ใบอนุญาตหมดอายุแล้ว คุณจะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 20 ของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ

หากใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองแจ้งหายทำอย่างไร ?

หากสูญหาย, ถูกทำลาย, หรือชำรุด ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่สำนักเขตนั้น ๆ เพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองแจ้ง
ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด

หากต้องการแก้ไขรายการในใบอนุญาตร้านอาหารทำอย่างไร ?

สามารถยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการได้เลย

ใบอนุญาตอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบการร้านอาหารควรรู้

นอกจากการขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารแล้ว หากร้านอาหารของคุณเข้าข่ายตามที่ได้กล่าวไว้
ด้านล่างนี้ คุณก็ต้องขอใบอนุญาตเพิ่มด้วย มิเช่นนั้น คุณอาจจะโดนจำคุก เสียค่าปรับได้ค่ะ

ร้านอาหารมีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ

หมายเหตุ ต้องยื่นเรื่องขอก่อนนะคะ ถึงจะจำหน่ายได้ แต่ถ้าคุณจำหน่ายโดยไม่มีใบอนุญาต หรือใบอนุญาตไม่ตรงตามที่แจ้งไว้
โดนปรับไม่เกิน 5,000 บาท

ร้านอาหารมีการเต้นบนเวที, แสดงดนตรีสด, ตลก
หรือเข้าข่ายสถานบันเทิง

ในกรณีนี้ คุณต้องยื่นเรื่อง 2 อย่าง คือ ขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และ ขออนุญาตตั้งสถานบริการ

ขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ขออนุญาตตั้งสถานบริการ

วัตถุดิบใดบ้างที่มีปริมาณมาก ๆ ต้องขออนุญาต

ปลาร้า, แหนม, น้ำปลา, หอยดอง, น้ำบูดู, ไตปลา, น้ำพริกแกง, ซีอี๊ว, น้ำจิ้ม, ซอสปรุงรสต่าง ๆ, เส้นหมี่, ก๋วยเตี๋ยว, เต้าหู้, เนย,
เนยเทียม, กาแฟทุกรูปแบบ, น้ำส้มสายชู, ไวน์, ข้าวหมาก, น้ำแข็ง (รวมถึงการขนส่งด้วย), น้ำอัดลม, น้ำกลั่น, ขนมปังแห้ง, ขนมปังสด,
ใบชาแห้ง, ใบชาผง

ร้านอาหารมีก๊าซหุงต้มไว้ครอบครอง

พื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการธุรกิจพลังงาน ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัด สามารถติดต่อได้ที่
สำนักงานพลังงานจังหวัด

หมายเหตุ หากธุรกิจของคุณมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยนะคะ ที่สำนักงานสรรพากร

พื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการธุรกิจพลังงาน ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัด สามารถติดต่อ
ได้ที่สำนักงานพลังงานจังหวัด

หมายเหตุ หากธุรกิจของคุณมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยนะคะ
ที่สำนักงานสรรพากร

พื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์บริการธุรกิจพลังงาน ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัด
สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานพลังงานจังหวัด

หมายเหตุ หากธุรกิจของคุณมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ด้วยนะคะที่สำนักงานสรรพากร

บริษัทแอคโปรแท็ค จำกัด รับทำบัญชี
เพราะลูกค้าคือคนสำคัญ

เรามีทีมงานที่มีประสบการณ์ด้านบัญชีและเชี่ยวชาญด้านวางแผนภาษีอากรอย่างสูงรับประกันธุรกิจของท่านจะได้การดูแล และประหยัดการเสียภาษีสูงสุด ยินดีให้คำปรึกษาสอบถามบริการ

แชร์งานจดทะเบียนนี้ :

ค้นหา
งานจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือคำปรึกษา

ติดต่อทีมงานของเราได้ทุกเมื่อเรายินดีให้บริการคุณอย่างเต็มที่