ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร คำนวณอย่างไร ใครต้องเสียบ้าง?

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร คำนวณอย่างไร ใครต้องเสียบ้าง?

เวลาที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หลายๆ คนอาจจะคุ้นเคยกับเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่แสดงอยู่ในเอกสารที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง ซึ่งโดยปกติภาษีชนิดนี้ยังมีอีกหลายรูปแบบที่หลายๆ คนจำเป็นต้องจ่ายกัน โดยบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร มีอัตราการหักเท่าไร และจะสามารถคำนวณเงินหัก ณ ที่จ่ายของตัวเองได้อย่างไร

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร เกี่ยวกับการยื่นภาษีอย่างไร

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร เกี่ยวกับการยื่นภาษีอย่างไร

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ รูปแบบหนึ่งของภาษีที่ฝ่ายจ่ายเงินจะต้องหักออกจากจำนวนเงินเต็มที่จะจ่ายให้ผู้รับเงิน เพื่อนำเงินส่วนนั้นให้กับทางกรมสรรพากร ทำให้ผู้รับเงินจะไม่ได้รับยอดเงินดังกล่าวแบบเต็มจำนวน และจะได้รับเอกสารหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายไว้ เพื่อเป็นหลักฐานไว้ใช้ในการยื่นภาษีแสดงเงินได้บุคคลธรรมดา และการยื่นขอภาษีส่วนนี้คืน

ทั้งนี้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะมีการหักทุกครั้งที่การจ่ายเงินนั้นๆ ตรงตามเงื่อนไขที่ภาษีรูปแบบนี้ได้กำหนดไว้ เช่น การจ้างงานฟรีแลนซ์ที่มียอดค่าจ้างตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป โดยภาษีรูปแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคลังของภาครัฐอย่างสม่ำเสมอ และให้มีสภาพคล่อง เพราะผู้รับเงินหลายคนไม่ได้ยื่นเอกสารเพื่อขอภาษีในส่วนนี้คืน และเป็นการลดภาระผู้เสียภาษี เพราะไม่จำเป็นต้องเสียภาษีในปริมาณมากพร้อมกันในครั้งเดียว

ใครบ้างที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

สำหรับลูกค้าบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย สามารถขอข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากได้ตลอด 24 ชั่วโมง สะดวก ง่าย ไม่ต้องไปที่สาขา ผ่านระบบออนไลน์
e-Withholding Tax จากเว็บไซต์ของกรมสรรพากรตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับผู้ประกอบการ เพียงเปิดบัญชีกับ K BIZ ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ก็สามารถใช้งาน PEAK โปรแกรมคำนวณบัญชีออนไลน์ ได้ฟรี 4 เดือน ตัวช่วย SME ไม่มีค่าธรรมเนียม ! หมดกังวลเรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่าย ได้เลย

ใครบ้างที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

ผู้ที่มีหน้าที่ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ ผู้จ่ายเงิน ที่อาจจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เช่น องค์กรหรือบริษัทก็ได้ โดยมีหน้าที่ในการหักจากเงินที่จ่ายและส่งเงินใน
ส่วนนั้นๆ ให้กับภาครัฐ ซึ่งภาษีรูปแบบนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการจ่ายเงินครั้งเดียวหรือหลายครั้งที่มียอดชำระอยู่ที่ 1,000 บาทขึ้นไป เช่น หากบริษัทมีการว่าจ้างฟรีแลนซ์มียอดรวม 1,500 บาท โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 ครั้ง คือ 800 บาท และ 700 บาท บริษัทจำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทั้ง 2 ครั้ง

อัตราการจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะเกิดขึ้น เมื่อมีการจ่ายเงินที่เข้าข่ายตามเงื่อนไขที่ทางภาครัฐกำหนดไว้ โดยอัตราการจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ละกรณี โดยจะมีรายละเอียด ดังนี้

ใครบ้างที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

ค่าจ้าง และเงินเดือน ต่ำสุด 0%

ค่าจ้างและเงินเดือน คือ ยอดเงินที่บริษัทหรือองค์กรจ่ายให้กับพนักงานเป็นค่าตอบแทน ซึ่งเป็นเงินที่เข้าเกณฑ์การหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งอัตราการหักจะใช้วิธีการคำนวณเช่นเดียวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยสามารถทำได้จากการเอาเงินที่จ่ายให้พนักงานทั้งปี มาหักค่าลดหย่อนต่างๆ และหักตามอัตราก้าวหน้า

ในกรณีที่เงินได้ของพนักงานไม่ถึงเกณฑ์ บริษัทที่เป็นผู้จ่ายเงินไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเลย หรือเทียบเท่ากับ 0% แต่ถ้าบริษัทได้หัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว พนักงานสามารถขอคืนภาษีจากภาครัฐในตอนที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • เงินได้ทั้งปี 312,000 บาท
  • แบบภาษี เอกสาร ภ.ง.ด 1
  • ผู้ที่ต้องหัก ผู้ที่จ่ายเงินค่าจ้างและเงินเดือน เช่น นิติบุคคล บริษัท องค์กร หรือบุคคลธรรมดา

จ้างทำงานหรือบริการ ต่ำสุด 0%

การจ้างทำงานหรือบริการ คือ การจ้างบุคคลธรรมดาให้ทำบางอย่างให้ ทั้งในแง่ของการทำสิ่งของและการให้บริการใดๆ ซึ่งการจ้างงานในรูปแบบฟรีแลนซ์มักจะรวมอยู่ใน
รูปแบบนี้ด้วย เช่น บริการรับจ้างทำนามบัตร หรือการจัดงานสัมมนา

อัตราการหักภาษี ณ จ่ายของการจ้างทำงานหรือบริการ จะมีการคำนวณในรูปแบบเดียวกับกรณีของเงินเดือนและเงินค่าจ้าง โดยการคำนวณยอดเงินได้ทั้งปีและหักส่วนลดหย่อนต่างๆ ออก คิดเป็นอัตราก้าวหน้าเช่นเดียวกับการคิดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งหากยอดเงินรวมทั้งปีไม่ถึงเกณฑ์ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายก็จะเท่ากับ 0% แต่หากผู้จ่ายหรือบริษัทมีการหัก ณ ที่จ่าย ก็สามารถยื่นเอกสารเพื่อขอเงินภาษีคืนได้เช่นกัน

  • เงินได้ทั้งปี 312,000 บาท
  • แบบภาษี เอกสาร ภ.ง.ด 1
  • ผู้ที่ต้องหัก ผู้ที่จ่ายเงินค่าจ้างทำงานและบริการ เช่น นิติบุคคล บริษัท องค์กร หรือบุคคลธรรมดา
จ้างรับเหมา ทำของ บริการ 3%

จ้างรับเหมา ทำของ บริการ 3%

การจ้างรับเหมา ทำของ หรือบริการ คือ การว่าจ้างให้บุคคลทำสิ่งของหรือบริการใดๆ เช่นเดียวกับรูปแบบการจ้างทำงานหรือบริการแต่แตกต่างกันตรงที่ในการจ้างรับเหมา
ทำของ หรือบริการ ผู้ว่าจ้างจะไม่มีอุปกรณ์ใดๆ ให้ ทำให้ผู้ได้รับเงินหรือผู้ถูกจ้างจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ของตัวเอง หรือจัดหาสิ่งของด้วยตัวเอง เช่น การรับจ้างเขียนโปรแกรม เป็นต้น โดยจะมีอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายอยู่ที่ 3%

  • เงินได้ทั้งปี 312,000 บาท
  • แบบภาษี เอกสาร ภ.ง.ด 3
  • ผู้ที่ต้องหัก ผู้ที่เป็นนิติบุคคล หรือบริษัท

จ้างบริการวิชาชีพอิสระ 3%

การจ้างอาชีพอิสระ คือ อาชีพที่อยู่ใน 6 กลุ่มวิชาชีพเฉพาะทาง ได้แก่ ทนายความ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี ประณีตศิลป์ และโรคศิลปะ (กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรค เช่น ทันตกรรม เภสัชกรรม หรือเวชกรรม) โดยในกลุ่มนี้จะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจำนวน 3% ทั้งนี้ สำหรับการประกอบอาชีพอิสระอื่นๆ หรือฟรีแลนซ์จะเป็นการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามหมวดของการจ้างทำงานหรือบริการแทน

  • เงินได้ทั้งปี 312,000 บาท
  • แบบภาษี เอกสาร ภ.ง.ด 3
  • ผู้ที่ต้องหัก ผู้ที่เป็นนิติบุคคล หรือบริษัท
ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ 5%

ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ 5%

ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ คือ การเช่าสถานที่ ที่ผู้เช่ามีสิทธิในการถือกุญแจ เช่น การเช่าออฟฟิศ ในกรณีนี้จะถือเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ จึงมีอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย 5% นอกจากนี้ ยังมีการเช่าแบบอื่นๆ ที่จำเป็นต้องหัก 5% คือ การเช่ารถยนต์หรือค่าจ้างอาชีพเพื่อการบันเทิง

แต่ในกรณีที่เป็นการใช้งานสถานที่แต่ไม่มีสิทธิในการถือกุญแจ เช่น การเช่าสถานที่เพื่อจัดงานอีเวนต์ งานประชุม หรือสัมมนา การหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกฎหมายจะถือว่าอยู่ในหมวดการจ้างบริการ โดยมีอัตราภาษีอยู่ที่ 3% รวมถึง ในกรณีที่มีการเช่ารถยนต์พร้อมคนขับ ต่อให้ผู้ว่าจ้างจะเป็นคนถือกุญแจ ก็จะถือว่าเป็นหมวดของการจ้างบริการเช่นกัน

  • เงินได้ทั้งปี 312,000 บาท
  • แบบภาษี เอกสาร ภ.ง.ด 3
  • ผู้ที่ต้องหัก ผู้ที่เป็นนิติบุคคล หรือบริษัท

ค่าโฆษณา 2%

ค่าจ้างโฆษณา คือ การว่าจ้างผ่านเอเจนซีหรือบริษัทรับทำโฆษณา ให้มีการโฆษณาหรือโปรโมทแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งทางสื่อสิ่งพิมพ์หรือ
สื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งไม่ใช่บริการด้านการตลาด จะมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 2%

ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการจ้างบริการด้านการตลาด เช่น การจ้างผู้มีชื่อเสียงหรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อการรีวิวสินค้า การจ้างทีมให้คำปรึกษาด้านการตลาดหรือบริการทำป้ายออกบูท จะเป็นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% แทน

  • เงินได้ทั้งปี บุคคลธรรมดา 312,000 บาท หรือนิติบุคคลที่มีรายได้สุทธิตั้งแต่ 300,001 บาท
  • แบบภาษี เอกสาร ภ.ง.ด 3
  • ผู้ที่ต้องหัก ผู้ที่เป็นนิติบุคคล หรือบริษัท
ค่าขนส่ง 1%

ค่าขนส่ง 1%

ค่าขนส่งที่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ ค่าขนส่งในกรณีที่เป็นการจ้างบริการขนส่งของภาคเอกชนหรือนิติบุคคล และมีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการรูปแบบการขนส่ง
เช่น การใช้บริการของบริษัทโลจิสติกส์ในการขนส่งสินค้า ซึ่งอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะเท่ากับ 1% ทั้งนี้ ในกรณีของการใช้บริการไปรษณีย์ไทยจะไม่มีการหัก ณ ที่จ่าย
เพราะถือเป็นหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้น

  • เงินได้ทั้งปี บุคคลธรรมดา 312,000 บาท หรือนิติบุคคลที่มีรายได้สุทธิตั้งแต่ 300,001 บาท
  • แบบภาษี เอกสาร ภ.ง.ด 53
  • ผู้ที่ต้องหัก ผู้ที่เป็นนิติบุคคล หรือบริษัท
วิธีคำนวณ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

วิธีคำนวณ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

วิธีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้นจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ โดยแต่ละรูปแบบจะมีรายละเอียดการคำนวณและตัวอย่างการคำนวณ ดังนี้

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายแบบออกให้ตลอดไป

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายแบบออกให้ตลอดไป คือ รูปแบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกรณีที่ทางบริษัท ซึ่งเป็นผู้จ่ายได้ออกเงินหัก ณ ที่จ่ายแทนผู้รับตลอดไป

  • สูตรการคำนวณ จำนวนเงินภาษีหัก ณ จ่ายแบบออกให้ตลอดไป = จำนวนเงินได้ที่จ่าย x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย / (100 – อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย)
  • ตัวอย่าง
    • กำหนดให้เป็นการจ่ายค่าจ้างการเขียนโปรแกรม ซึ่งมีค่าจ้างจำนวน 30000 บาท จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
    • จำนวนเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบออกให้ตลอดไป = 30000 x 3 / (100-3) = 927.86 บาท

โดยในหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะเขียนว่าเงินได้ 30927.86 บาท เงินหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ 927.86 บาท และเงินที่ผู้รับได้จริง จะเท่ากับ 30000 บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายแบบออกให้ครั้งเดียว

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายแบบออกให้ครั้งเดียว คือ รูปแบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกรณีที่ทางบริษัท ซึ่งเป็นผู้จ่ายได้ออกเงินหัก ณ ที่จ่ายแทนผู้รับในครั้งแรกเพียงครั้งเดียว

  • สูตรการคำนวณ จำนวนเงินภาษีหัก ณ จ่ายแบบออกให้ครั้งเดียว = (จำนวนเงินได้ที่จ่าย + ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกให้ครั้งเดียว) x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • ตัวอย่าง
    • กำหนดให้เป็นการจ่ายค่าจ้างการเขียนโปรแกรม ซึ่งมีค่าจ้างจำนวน 30000 บาท จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
    • เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราปกติ = 30000 x 3 = 900 บาท
    • จำนวนเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบออกให้ครั้งเดียว = (30000 + 900) x 3% = 927 บาท

โดยในหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะเขียนว่าเงินได้ 30900 บาท เงินหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ 927 บาท และเงินที่ผู้รับได้จริง จะเท่ากับ 30900 – 927 = 29973 บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ผู้ว่าจ้าง ทั้งในกรณีของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลจำเป็นต้องจ่ายให้ภาครัฐ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อลดภาระการเสียภาษีและเป็นการเพิ่มเงินในคลังของสรรพากร โดยอัตราการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของค่าจ้าง เช่น ค่าจ้างรับเหมาจะหัก 3% หรือค่าขนส่งจะหัก 1% ซึ่งในกรณีที่รายได้รวมทั้งปีไม่ถึงตามเกณฑ์สามารถยื่นเอกสารรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อขอเงินภาษีส่วนนี้คืนจากกรมสรรพากรได้

Cr. https://www.kasikornbank.com/th/kbiz/article/pages/withholding-tax.aspx


สนใจวางแผนภาษี จัดทำบัญชี


 


ส่วนหนึ่งของผลงานดูแลลูกค้าที่มอบความไว้วางใจให้แอคโปรแท็ค (AccProTax) ดูแล จนลูกค้าประทับใจในบริการ และยกนิ้วให้

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart