บัญชีและภาษี แตกต่างกันอย่างไร

บัญชีและภาษี แตกต่างกันอย่างไร

 

บัญชีและภาษี แตกต่างกันอย่างไร

 

  1. วัตถุประสงค์ที่แตกต่าง

วัตถุประสงค์ของการบัญชีและภาษีนั้น หากสังเกตดูดีๆ จะพบว่าทั้งสองเรื่องนั้นมีวัตถุประสงค์ที่มาที่ไปแตกต่างกันอย่างชัดเจน

การบัญชี มีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจในเชิงเศรษฐกิจ หรือก็คือการนำ ”งบการเงิน” มาใช้ในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ เช่น

  • ถ้าผู้ใช้งบการเงินเป็นผู้บริหาร ก็จะใช้งบการเงินในการตัดสินใจวางกลยุทธ์บริหารงาน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มยอดขาย หรือจะลดต้นทุนได้อย่างไร
  • ถ้าผู้ใช้งบการเงินเป็นนักลงทุน ก็จะใช้งบการเงินดูผลการดำเนินงานของกิจการ เพื่อตัดสินใจว่าควรลงทุนในธุรกิจหรือไม่

หลักการภาษี มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บภาษี มาใช้ในการบริหารประเทศนั้นเอง

 

  1. หลักปฏิบัติที่แตกต่าง

การบัญชี เราจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ที่กำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี โดยแบ่งกิจการออกเป็น 2 พวก ได้แก่

  • กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ซึ่งต้องบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีชุดใหญ่ (TFRS) เช่น
  • มีตราสารหนี้ ตราสารทุนขายกับประชาชนทั่วไป ทั้งในประเทศ/นอกประเทศ และตลาดหลักทรัพย์
  • กิจการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับมหาชน เช่น สถาบันทางการเงิน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • บริษัทมหาชน
  • กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ซึ่งบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีชุดเล็ก (TFRS for NPAEs) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นกิจการจำพวก SMEs ทั่วไปในประเทศไทย

หลักการภาษี จะต้องปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรกำหนดโดยกรมสรรพากร ซึ่งใช้กับทั้งกิจการขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ไม่แตกต่างกัน

  1. หลักการที่แตกต่าง

การบัญชีของไทยนั้น ถือปฏิบัติตาม IFRS เป็นหลักโดยจะอิงหลักการ Principle Based Approach คือ มีหลักการสำคัญเป็นกรอบให้ปฏิบัติและประยุกต์ใช้ เพื่อให้งบมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ(Relevance), เป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม(Faithfulness), สามารถพิสูจน์ยืนยันได้(Verifiability), สามารถเช้าใจได้(Understand), ทันเวลา(Timeless) และ สามารถเปรียบเทียบได้(Comparability)

หลักการภาษีจะอิงกฏเกณฑ์(Rule based) เป็นหลัก คือ ต้องปฏิบัติตามกฏเหมือนๆ กันตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด โดยไม่มีข้อแตกต่างระหว่างกิจการนั้นเอง

สรุป

แม้ว่าจะมีข้อแตกต่าง แต่ทั้งบัญชีและภาษีก็ยังเป็นของคู่กันอยู่ดี เพราะว่าเมื่อมีการบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีแล้ว เวลาที่คำนวณภาษีก็จะใช้ข้อมูลทางบัญชีเป็นตัวตั้งต้น แล้วนำไปปรับปรุงให้สอดคล้องกับกฏหมายภาษี จึงจะถือว่าทำงานทางฝั่งบัญชีและภาษีได้อย่างสมบูรณ์

 

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : บัญชีและภาษี แตกต่างกันอย่างไร

อ้างอิง : https://thaicpdathome.com/article/detail/75/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart