ธุรกิจ SMEs กับเอกสารและการวางแผนภาษีนิติบุคคล

ธุรกิจ SMEs กับเอกสารและการวางแผนภาษีนิติบุคคล

คุณเคยเจอปัญหาเกี่ยวกับภาษีในธุรกิจ SMEs ของคุณมั้ย? ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเตรียมเอกสารยื่นสรรพากร ช่วงแรก ๆ ซื้อของเข้าบริษัทแล้วใช้ชื่อตัวเองซื้อก็เสียภาษีไม่ถูก อาจจะเคยยื่นภาษีผิดแล้วโดนค่าปรับ เงินเพิ่ม บ้างล่ะศัพท์ทางภาษีก็แสนก็จะยุ่งยากบางครั้งอ่านไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดรึเปล่า? วันนี้ในบทความของเรามีคำตอบที่สรุปมาให้เข้าใจได้ง่าย ๆ เพื่อคุณ

การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางว่าทำอย่างไรถึงจะทำไรให้เสียภาษีน้อยที่สุด แต่ยังอยู่ในความถูกต้อง ครบตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกฎหมายภาษีอากร

 

ธุรกิจต้องต้องทำอย่างไรในการวางแผนภาษีอากร?

– ค้นคว้าความรู้เรื่องภาษี

– จะซื้อของเข้าบริษัท ต้องใช้ชื่อกิจการเท่านั้น

– หาวิธีลดหย่อนภาษี …เท่าที่จะมากได้

– โทรหาสรรพากร …อย่าขัดเขินเลย

– หาผู้ช่วยที่ดีในการจัดการภาษีในธุรกิจ SMEs ของคุณ

ก่อนที่จะทำการวางแผนภาษีนิติบุคคลได้นั้น ผู้ประกอบการต้องศึกษาความรู้เกี่ยวกับภาษีนิติบุคคลเสียก่อน

ค้นคว้าความรู้เรื่องภาษี

 

เริ่มจากภาษีนิติบุคคลมีอะไรบ้าง และต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการยื่นแก่สรรพากร

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล : คือ ภาษีจากกำไรสุทธิ (กำไรสุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย) ที่บริษัทนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องจ่ายหากเข้าเกณฑ์ที่กำหนด (รายงาน ภ.ง.ด. 50 และ รายงาน ภ.ง.ด. 51)

– รายงาน ภ.ง.ด. 50 คือ รายงานสำหรับรอบสิ้นปี โดยต้องยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

– รายงาน ภ.ง.ด. 51 คือ รายงานสำหรับรอบครึ่งปี โดยต้องยื่นและชำระภาษีภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม : คือ ภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขายและการให้บริการภายในประเทศ รวมถึงสินค้านำเข้า โดยจะเก็บเฉพาะผู้ประกอบการมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7% (รายงานภาษีซื้อ, รายงานภาษีขาย, รายงาน ภพ. 30) และรายงานต่าง ๆ ต้องนำส่งสรรพากรภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน

– รายงานภาษีซื้อ คือ เอกสารบันทึกจำนวนภาษีซื้อของกิจการที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนรายอื่นเรียกเก็บในแต่ละเดือนภาษีภาษีซื้อเกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีซื้อของเดือนนั้น

– รายงานภาษีขาย คือ เอกสารบันทึกจำนวนภาษีขายของกิจการที่เรียกเก็บจากลูกค้าในแต่ละเดือนภาษี ภาษีขายที่เกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีขายของเดือนนั้น

– รายงาน ภพ. 30 คือเอกสารสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย ที่เจ้าของธุรกิจต้องเอาไว้ใช้ยื่นแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรทุกเดือน ไม่ว่าจะมีรายการซื้อขายหรือไม่

  1. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย : คือ ภาษีที่ถูกหักไว้ล่วงหน้า ซึ่งภาษีประเภทนี้ สามารถขอคืนได้ภายหลังผ่านการขอลดหย่อนตามเงื่อนไขต่าง ๆ (หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย,รายงาน ภ.ง.ด. 2, รายงาน ภ.ง.ด. 3,
    รายงาน ภ.ง.ด. 53, รายงาน ภ.ง.ด. 54 และ รายงาน ภพ. 36) แล้วนำส่งสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

รายงาน ภ.ง.ด. 1 คือ เอกสารที่กิจการต้องแจ้งพนักงานที่มีรายได้ถึงฐานที่ต้องเสียภาษีแล้วเท่านั้น เพื่อยื่นแก่สรรพากร

– รายงาน ภ.ง.ด. 2 คือ แบบยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร หากบริษัทมีรายจ่ายที่เป็นเงินได้ประเภท 40(3) และ 40(4)

  • เงินได้ประเภท 40(3) คือ เงินได้พึงประเมินในรูปของ ค่าลิขสิทธิ์ ค่าตอบแทนทรัพย์สินทางปัญญา หรือค่า Goodwill
  • เงินได้ประเภท 40(4) คือ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเงินได้ในรูปของดอกเบี้ย เงินปันผล

– รายงาน ภ.ง.ด. 3 คือ แบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนิติบุคคลที่ทำธุรกรรมกับบุคคลธรรมดา ที่เจ้าของธุรกิจ (นิติบุคคล) จะต้องหักออกจากค่าจ้างที่จ้างบุคคลภายนอกให้มาทำงานให้บริษัท

– รายงาน ภ.ง.ด. 53 คือ แบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ระหว่างนิติบุคคลด้วยกัน

– รายงาน ภ.ง.ด. 54 คือ แบบยื่นหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายเงินได้ประเภท 40(2) – (6) ให้กับนิติบุคคลที่ตั้งตามกฏหมายต่างประเทศจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรโดยการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้

  • เงินได้ประเภท 40(2) – 40(6) หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
  • เงินได้ประเภท 40(4) – เงินปันผล หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%

– รายงาน ภพ. 36 คือ แบบยื่นที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ที่พิเศษก็คือผู้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการจะเป็นผู้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มแทน เนื่องจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการไม่ได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย

– หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย คือ เอกสารที่ผู้จ่ายเงินที่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ออกให้ผู้รับเงินเมื่อได้ทำการหักเงินบางส่วนไว้ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร โดยหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายนี้ต้องออกให้แก่ผู้รับเงิน 2 ฉบับที่มีข้อความตรงกัน

 

  1. ภาษีธุรกิจเฉพาะ : คือ ธุรกิจซึ่งดำเนินการในประเทศไทยที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ คือธุรกิจประเภท ธนาคารพาณิชย์, ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์, บริษัทประกันชีวิต, โรงรับจำนำ, กิจการประกอบการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และบริษัทอสังหาริมทรัพย์ (รายงาน ภ.ธ.40) และรายงานต้องนำส่งสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้นหรือไม่ก็ตาม

– รายงาน ภ.ธ. 40 คือ รายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับกลุ่มธุรกิจที่สรรพากรกำหนดไว้เท่านั้น

 

  1. อากรแสตมป์ : คือ ภาษีที่จัดเก็บในรูปของดวงแสตมป์ที่ใช้สำหรับปิดบนเอกสารราชการและหนังสือสัญญาต่าง ๆ (แบบ อ.ส. 4) ปกติเสียอากรแสตมป์ได้ 3 วิธี คือ

– ติดอากรแสตมป์ทับบนกระดาษแล้วขีดคร่อม

– ติดแสตมป์ดุนบนกระดาษ (ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม)

– เสียอากรแสตมป์ด้วยเงินสด หรือแบบ อ.ส. 4 คือ แบบขอและอนุมัติให้เสียอากรแสตมป์ด้วยเงินสด เพราะกิจการต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์เป็นจำนวนมาก

 

จะซื้อของเข้าบริษัท ต้องใช้ชื่อกิจการเท่านั้น

หากกิจการต้องซื้ออะไรเข้ามาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทควรออกในนามบริษัทเท่านั้น รวมทั้งต้องออก ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสดที่มี ชื่อ ที่อยู่ของผู้ขาย และต้องระบุชื่อบริษัทของเราด้วย เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานค่าใช้จ่ายของบริษัทต่อไปได้ การขอเอกสารที่ถูกต้องจะช่วยให้กิจการสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทมาหักค่าใช้จ่ายตอนจะยื่นภาษีได้ แต่ค่าใช้จ่ายนั้นต้องไม่เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามที่สรรพากรกำหนดไว้ เช่น ค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะเป็นของส่วนตัว การให้โดยสเน่หา ค่าใช้จ่ายที่ปลอมขึ้นมา เป็นต้น

 

หาวิธีลดหย่อนภาษี …เท่าที่จะมากได้

ลองศึกษาสิทธิประโยชน์ด้านการลดหย่อนภาษีให้ดี แล้วใช้สิทธิเหล่านั้นอย่างคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายการนำเอานวัตกรรมมาใช้ในองค์กร ค่าเทรนนิ่งพนักงาน ค่าประกันชีวิตพนักงาน ค่าจ้างผู้สูงอายุมาทำงานในองค์กร เป็นต้น ทั้งหมดนี้สามารถนำมาช่วยลดหย่อนภาษีธุรกิจ SMEs ของคุณได้ และช่วยให้คุณวางแผนภาษีได้อย่างรอบด้านครบถ้วน

 

โทรหาสรรพากร …อย่าขัดเขินเลย

หากคุณทำทุกวิธีแล้ว …แต่ยังเกิดปัญหาด้านภาษี อย่าอายเลยที่จะโทรหาสรรพากร พวกเขาเพียงจะช่วยแก้ปัญหาให้กับคุณ ซึ่งดีกว่าการยื่นภาษีไปแบบผิด ๆ แล้วต้องเสียค่าปรับ หรือเงินเพิ่มในภายหลังแน่นอน

 

หาผู้ช่วยที่ดีในการจัดการภาษีในธุรกิจ SMEs ของคุณ

จะเป็นเช่นไรถ้าธุรกิจ SMEs ของคุณมีนักบัญชีเก่งๆ นักกฎหมายดี ๆ รวมทั้ง ERP ที่ได้รับมาตรฐานจากสรรพากรอย่าง NEXcloud ERP มาช่วยดูแลธุรกิจของคุณการจัดการบัญชีและภาษีจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปด้วยระบบที่ช่วยลดขั้นตอนในการทำงานของคุณลง การวางแผนภาษีและจัดการขอคืนภาษีซื้อที่เป็นระบบ รูปแบบเอกสารที่ถูกต้องตามหลักสรรพากร ไม่ว่าจะเป็น รายงานภาษีซื้อ, รายงานภาษีขาย, รายงาน ภ.ง.ด. 3, รายงาน ภ.ง.ด. 53, รายงาน ภพ. 30, และหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย อีกทั้งในตอนนี้ทางบริษัทยังอยู่ในกระบวนการอัปเดตเอกสารเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็น รายงาน ภ.ง.ด. 2, รายงาน ภ.ง.ด. 54 รายงาน ภพ. 36 และเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติมในอนาคตอีกด้วย เรียกได้ว่าคลอบคลุมเอกสารเกือบทั้งหมดที่ต้องใช้ยื่นกับสรรพากรเลยทีเดียว ทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจรวมทั้งยังช่วยให้มีเวลาส่วนต่างไปคิดพัฒนาธุรกิจในด้านอื่น ๆ ได้อีกมากมาย เรียกได้ว่าเป็นต่อคู่แข่งเพิ่มขึ้นอีกหลายขั้นจากการมีผู้ช่วยและระบบบริหารองค์กรที่ดี

Cr. https://nexcloudsolution.com/วางแผนภาษีนิติบุคคล/


สนใจวางแผนภาษี จัดทำบัญชี


 


ส่วนหนึ่งของผลงานดูแลลูกค้าที่มอบความไว้วางใจให้แอคโปรแท็ค (AccProTax) ดูแล จนลูกค้าประทับใจในบริการ และยกนิ้วให้

 

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart