คู่มือการยื่นภาษี 2567 ฉบับจบครบที่เดียว!

คู่มือการยื่นภาษี 2567 ฉบับจบครบที่เดียว!

ปีใหม่ผ่านพ้นไป ก็เข้าสู่ช่วงเวลาของอีกเทศกาล ซึ่งเป็นเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่มีรายได้ทุกคนในประเทศไทย นั่นก็คือ “การยื่นภาษีประจำปี พ.ศ. 2567” อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ คนอาจไม่สนุกกับเทศกาลนี้ เนื่องจากการยื่นแบบภาษีมีความสลับซับซ้อน และต้องศึกษาหาข้อมูลพอสมควรถึงจะยื่นได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น บทความนี้จึงจะมาเป็นตัวช่วยทุกคน ด้วยการมัดรวม 10 คำถามที่ต้องรู้ก่อนเสียภาษี 2567 ติดตามกันเลย

วิธีการยื่นภาษีรายได้ประจำปีต้องรู้อะไรบ้าง

ใครบ้างที่มีหน้าที่ยื่นภาษี?

ก่อนจะตอบคำถามนี้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “การเสียภาษี” กับ “การยื่นภาษี” ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนที่ยื่นภาษีจะต้องเสียภาษี ส่วนใครที่ต้องยื่นภาษี 2567 บ้างนั้น คำตอบคือบุคคลสัญชาติไทยทุกคนที่เข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • คนโสดที่มีรายได้เป็นเงินเดือนตั้งแต่ 10,000 บาท ต่อเดือน หรือ 120,000 บาท ต่อปี หรือผู้ที่ไม่ได้ทำงานประจำ (ฟรีแลนซ์ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว) แต่มีรายได้ 60,000 บาท ต่อปีขึ้นไป
  • คนที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายที่มีรายได้เป็นเงินเดือน 18,333 บาท ต่อเดือนหรือ 220,000 บาท ต่อปีขึ้นไป หรือฟรีแลนซ์ ที่มีรายได้ 120,000 บาท ต่อปีขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณมีรายได้เป็นเงินเดือนที่มากกว่า 26,583 บาทขึ้นไป หรือฟรีแลนซ์ที่มีรายได้ตั้งแต่ 150,000 บาท นอกจากจะต้องยื่นแบบภาษีแล้ว ยังมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอีกด้วย ส่วนถ้าสงสัยว่าต้องจ่ายภาษีจำนวนเท่าไร ก็ขึ้นอยู่กับว่ามีรายได้เท่าไร เพราะยิ่งมีรายได้มากก็ยิ่งต้องเสียภาษีมากตามอัตราขั้นบันได 5-35% ที่กฎหมายกำหนด

ยื่นภาษีมีวิธีไหนบ้าง?

จากที่เมื่อก่อน การยื่นภาษีต้องเดินทางไปยังสำนักงานสรรพากรในพื้นที่ใกล้บ้านด้วยตนเอง ทว่าตอนนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการยื่นภาษี กรมสรรพากรจึงเปิดโอกาสให้ยื่นแบบภาษีออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ E-FILING เรียกได้ว่าสามารถยื่นแบบภาษีได้โดยไม่ต้องก้าวขาออกจากบ้านกันเลย

ยื่นภาษีได้ถึงเมื่อไร?

สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2566 ที่ต้องมายื่นในปี 2567 นี้ ต้องแบ่งการอธิบายออกเป็น 2 แนวคำตอบ ดังต่อไปนี้

  • สามารถยื่นได้ถึง 30 มีนาคม 2567
  • สำหรับรูปแบบออนไลน์ วันสุดท้ายที่สามารถยื่นแบบภาษีได้คือวันที่ 8 เมษายน 2567

มีรายการอะไรบ้างที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้?

ก่อนที่จะสรุปว่าต้องเสียภาษี 2567 เท่าไร อย่าลืมนำจำนวนค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีกันด้วย ซึ่งก็มีหลายแนวทาง หลักเกณฑ์แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

  • สามารถลดหย่อนได้ 60,000 บาท โดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ
  • ถ้าหากคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเป็นผู้ไม่มีรายได้ สามารถหักลดหย่อนได้ 60,000 บาท
  • สำหรับผู้ที่มีบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท โดยที่บุตรจะต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี  (กรณีบุตรตามสายเลือดโดยชอบตามกฎหมาย สามารถลดหย่อนได้ตามจำนวนบุตรจริง แต่บุตรบุญธรรม สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุด 3 คน)
  • กรณีที่บิดามารดาอายุเกิน 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท สามารถลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
  • ถ้าหากมีหลักฐานลายลักษณ์อักษรว่าเป็นผู้ดูแลผู้พิการตามกฎหมาย สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ จำนวนคนละ 60,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาท ต่อการคลอดบุตรหนึ่งคน
  • ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
  • ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท
  • สามารถนำเงินที่ลงทุนในกองทุน SSF ไปหักลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

รายการเหล่านี้เป็นเพียงหลักเกณฑ์ส่วนหนึ่งที่ควรทราบก่อนยื่นภาษี 2567 เท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้วยังมีอีกหลายแนวทางการลดหย่อนภาษี เช่นเงินบริจาค ไปจนถึงโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของกรมสรรพากร

ใบ 50 ทวิ คืออะไร?

ถ้าหากรายได้ของคุณมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากนายจ้าง หรือผู้ว่าจ้างไว้แล้ว สิ่งที่เรียกว่า “ใบ 50 ทวิ” คือเอกสารที่สำคัญอย่างยิ่งในการยื่นภาษี 67

อธิบายให้เข้าใจแบบกระชับ ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรได้ระบุไว้ว่า “ใบ 50 ทวิ คือหนังสือที่ผู้จ่ายเงินได้ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยจะออกให้กับผู้รับเงินซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้เป็นหลักฐานการหักภาษี” ดังนั้น ถ้าหากไม่มีเอกสารฉบับนี้ ก็เป็นเรื่องยุ่งยากที่จะยืนยันกับกรมสรรพากรว่าภาษีของเราได้ถูกหักไปแล้ว

การยื่นแบบเพิ่มเติม จะต้องทำรายการอย่างไร

สำหรับผู้ที่ยื่นแบบภาษีไปแล้วพบว่ามีข้อผิดพลาดในการกรอกข้อมูล หรือได้รับเงินได้หรือรายจ่ายเพิ่มเติมภายหลังจากยื่นแบบแสดงรายการภาษีครั้งแรก สามารถทำการยื่นแบบเพิ่มเติมได้โดยการทำรายการใหม่ที่ถูกต้องไม่ทั้งหมดพร้อมแนบเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมในหน้าสุดท้ายของการทำรายการ

วางแผนการลดหย่อนภาษี

ฟรีแลนซ์ยื่นภาษีแบบไหน?

ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือที่เรียกว่า “ฟรีแลนซ์”  คือผู้ที่ได้รับรายได้ในรูปแบบของสัญญาจ้าง ดังนั้น รายได้ของฟรีแลนซ์จึงจัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 2 ตามมาตรา 40 (2) ในประมวลรัษฎากร และต้องยื่นภาษี 67 ด้วยแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90

เด็กจบใหม่ทำงานไม่ถึงปี ต้องยื่นภาษีไหม?

ถึงแม้จะเป็นเด็กจบใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงาน และมีรายได้มาไม่ครบ 1 ปี แต่เมื่อถึงช่วงเวลาของการยื่นภาษี ถ้าหากจำนวนรายได้เข้าเกณฑ์ตามที่กล่าวไปในข้อแรก ก็ต้องยื่นแบบภาษีเช่นกัน เนื่องจากเกณฑ์การยื่นคือเรื่องรายได้ ไม่ใช่เรื่องของอายุหรือระยะเวลาการทำงาน

ในกรณีที่ได้เงินภาษีคืน ต้องรอนานแค่ไหนเงินถึงจะเข้าบัญชี?

ถ้าหากหักลบกันแล้ว จำนวนภาษีที่ต้องจ่ายมีจำนวนน้อยกว่าภาษีที่ได้มีการหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว รวมถึงการลดหย่อนต่าง ๆ ก็จะได้รับภาษีในส่วนที่จ่ายเกินไว้คืน โดยกรมสรรพากรจะโอนเข้าบัญชีธนาคารที่ผูกไว้กับระบบพร้อมเพย์ภายใน 3-5 วันทำการ หลักจากได้รับการพิจารณาคืนภาษีแล้ว

ไม่ยื่นภาษี มีโทษตามกฎหมายไหม?

เนื่องจากการยื่นแบบและเสียภาษี 2567 คือหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนั้น หากไม่ปฏิบัติตามก็ย่อมมีบทลงโทษ ดังต่อไปนี้

  • กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
  • กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

Cr. https://www.fwd.co.th/th/article/wealth/questions-about-tax/


สนใจวางแผนภาษี จัดทำบัญชี



ปรึกษาฟรี! โทร. 06437464720962895253

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart