การจดทะเบียนเลิกกิจการห้างหุ้นส่วน
เมื่อการจัดตั้งและการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนผูกโยงกับ “ความเป็นหุ้นส่วน” ดังนั้นโดยหลักกฎหมายจึงกำหนดเหตุเฉพาะตัวของหุ้นส่วน ดังนี้
1. ความประสงค์ของหุ้นส่วนแม้เพียงคนเดียวที่จะเลิกห้างหุ้นส่วน
2. เมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย ล้มละลาย หรือกลายเป็นผู้ไร้ความสามารถอย่างไรก็ดี เว้นแต่จะมีข้อตกลงระหว่างกันในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนให้ห้างหุ้นส่วนไม่เลิกกันแม้มีเหตุดังกล่างก็ย่อมได้
ห้างหุ้นส่วนเลิกเพราะมีเหตุ
- เฉพาะตัวของหุ้นส่วน
- ตามที่ได้มีข้อตกลงกัน
- ร้องขอให้ศาลสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วน
- ศาลสั่งให้ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลล้มละลาย
การเลิกห้างหุ้นส่วนเพราะได้มีข้อตกลงกันไว้แต่ต้น
- เมื่อสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนได้กำหนดเหตุที่จะเลิกกันได้ เช่น ตกลงว่าหากห้างหุ้นส่วนไม่มีกำไรในระยะเวลา 2 ปี ให้เลิกห้างหุ้นส่วนหรือเมื่อหุ้นส่วนคนสำคัญลาออก
- เมื่อสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนกำหนดอายุของห้างหุ้นส่วนไว้อย่างชัดเจน ก็ให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันเมื่อครบกำหนดนั้น เช่น กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนมีอายุ 5 ปี นับตั้งแต่จัดตั้งเมื่อครบกำหนด 5 ปี ห้างหุ้นส่วนก็เลิกกัน
- เมื่อสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนกำหนดไว้เฉพาะเจาะจงว่าห้างหุ้นส่วนถูกตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการหนึ่งเท่านั้น เช่น จัดตั้งห้างหุ้นส่วนเพื่อสร้างสะพาน หรืออาคารหนึ่ง เมื่อการสร้างสะพานหรืออาคารนั้นได้สำเร็จลงห้างหุ้นส่วนก็เลิกกัน
นอกจากนี้ห้างหุ้นส่วนอาจะเลิกกันเพราะ “ศาลสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วน” เมื่อมีหุ้นส่วนคนหนึ่งร้องขอต่อศาลให้เลิกกัน เพราะเหตุดังต่อไปนี้
- หุ้นส่วนคนหนึ่งผิดข้อสัญญาซึ่งเป็นสาระสำคัญ เช่น ตกลงให้หุ้นส่วนต้องดำเนินงานด้วยตนเองเท่านั้น แต่หุ้นส่วนกลับว่าจ้างบุคคลอื่นมาดำเนินงานแทน
2. การดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนมีแต่ขาดทุนและยากที่จะฟื้นตัวได้
3. เหตุอื่นๆ ที่ห้างหุ้นส่วนไม่อาจจะดำเนินงานต่อไปได้ เช่น หุ้นส่วนทะเลาะเบาะแว้งกันจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนต้องเลิกเมื่อศาลพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนนั้นล้มละลาย
การชำระบัญชีหลังเลิกห้างหุ้นส่วน
เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันก็ต้องชำระบัญชีเพื่อให้มีการจัดการทรัพย์สิน ชำระหนี้สินของห้างหุ้นส่วนและคืนส่วนลงทุนตลอดจนกำไรต่างๆ ตามสัดส่วนของการลงทุน ตามลำดับดังนี้
- ชำระหนี้สินของห้างหุ้นส่วนที่ค้างชำระกับบุคคฃภายนอก
2. ชำระเงินทดลองและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่หุ้นส่วนได้ออกไปเพื่อจัดการห้างหุ้นส่วน
3. คืนทุนให้แก่หุ้นส่วนแต่ละคนตามสัดส่วน และหากมีทรัพย์สินเหลือก็แจกจ่ายให้แก่หุ้นส่วนเป็นกำไรตามสัดส่วนการลงหุ้นหรือตามที่ได้ตกลงกัน แต่หากห้างหุ้นส่วนมีทรัพย์สินไม่เพียงพอชำระหนี้ก็ให้หุ้นส่วนทั้งหลายเฉลี่ยขาดทุนนั้นตามสัดส่วนการบวหุ้นหรือตามที่ได้ตกลงกัน
เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : การจดทะเบียนเลิกกิจการห้างหุ้นส่วน
อ้างอิง : การจดทะเบียนเลิกกิจการห้างหุ้นส่วนสามัญและนิติบุคคล (greenprokspforsme.com)